Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44001
Title: | การลดข้อบกพร่องประเภทการสูญเสียพื้นที่ในการเขียนอ่านข้อมูลในกระบวนการประกอบฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ |
Other Titles: | Loss of write/read area defect reduction in hard disk drive assembly process |
Authors: | ประพจน์ ฤทัยผุดผ่อง |
Advisors: | นภัสสวงศ์ โรจนโรวรรณ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | napassavong.o@chula.ac.th |
Subjects: | ฮาร์ดดิสก์ ซิกซ์ซิกมา (มาตรฐานการควบคุมคุณภาพ) Hard disks (Computer science) Six sigma (Quality control standard) |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อทำการปรับปรุงความสามารถของกระบวนการในการประกอบฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ ขนาด 2.5 นิ้วโดยลดข้อบกพร่องประเภท การสูญเสียพื้นที่ในการเขียนอ่านข้อมูลบริเวณแทร็คเริ่มต้น แทร็คสุดท้าย และความหนาแน่นของพื้นที่ในการเขียนอ่านข้อมูล การทำวิจัยจะประกอบด้วย 5 ขั้นตอนตามแนวคิดของซิกซ์ ซิกมา เริ่มต้นจากการนิยามปัญหาในเบื้องต้น (Define) และศึกษาสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในสายการประกอบฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ ตลอดจนกำหนดเป้าหมายและขอบเขตของการปรับปรุงให้ชัดเจน ต่อมาในระยะของการวัด (Measure) มีการวิเคราะห์ถึงคุณสมบัติความเที่ยงของระบบการวัด และพิจารณาความสามารถของกระบวนการผลิตในปัจจุบัน จากนั้นจึงทำการระดมสมองของคนในทีมเพื่อวิเคราะห์ถึงสาเหตุที่เป็นไปได้ของความผันแปรของค่าแทร็คเริ่มต้น แทร็คสุดท้าย และความหนาแน่นของพื้นที่ในการเขียนอ่านข้อมูลและจัดลำดับความสำคัญของปัจจัยนำเข้าโดยใช้ตารางแสดงความสัมพันธ์ของสาเหตุและผล เมื่อได้ปัจจัยนำเข้าที่คาดว่าอาจมีผลอย่างมีนัยสำคัญ ในระยะการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา (Analyze) จึงนำปัจจัยนำเข้าเหล่านี้มาออกแบบการทดลองเพื่อพิสูจน์หาปัจจัยที่ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อค่าเฉลี่ยและความผันแปรของค่าตอบสนอง ส่วนในระยะการปรับปรุงกระบวนการ (Improve) จะทำการหาระดับของปัจจัยที่ทำได้ค่าตัวแปรตอบสนองที่ดีที่สุดโดยใช้เทคนิคการหาพื้นผิวตอบสนอง ระยะสุดท้ายของการติดตามและควบคุมกระบวนการผลิต (Control) ได้จัดทำแผนควบคุมเพื่อตรวจติดตามผลลัพธ์และควบคุมปัจจัยนำเข้าที่มีนัยสำคัญ หลังจากทำการปรับปรุงตามแนวคิดซิกซ์ ซิกมาพบว่าดัชนีชี้วัดความสามารถของกระบวนการของค่าตัวแปรตอบสนองทั้งสามมีค่ามากกว่า 1.33 และสามารถลดมูลค่าความสูญเสียรวมได้เท่ากับ 1,259,332 บาท/เดือน |
Other Abstract: | This research aims to improve the process capability of the assembly process of hard disks of size 2.5 inches by reducing loss of write/read area on track zero, track maximum and the number of tracks per inch. This research follows the Six Sigma approach, which consists of five phases. Firstly in the define phase the problem, the objectives and the scope of the project were identified. In the measurement phase, the gage repeatability and reproducibility analysis and the process capability analysis of the three responses were performed. Then, the potential causes of variation were brainstormed and prioritized by using the Cause & Effect Matrix. Next in the analysis phase, the design of experiment (DOE) technique was used to determine significant causes to the mean and the standard deviation of the three responses. In the improvement phase, the response surface methodology was applied to define suitable factor levels that offer the mean of the responses closest to target. Finally In control phase, the control plan was set up to monitor responses and control the key process input variables. After the implementation of the new condition setting, the process capability indices of the three responses were higher than the acceptable standard value of 1.33. In addition, it was expected that the cost could be saved by 1,259,332 baht per month. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมอุตสาหการ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44001 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.376 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2012.376 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
prapod _Ru.pdf | 5.87 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.