Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44052
Title: | ประสบการณ์การเป็นผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่ที่ได้รับการใส่เครื่องช่วยหายใจ |
Other Titles: | Experiences of being an adult patient receiving ventilator |
Authors: | มาณี ชัยวีระเดช |
Advisors: | นรลักขณ์ เอื้อกิจ อารีย์วรรณ อ่วมตานี |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
Advisor's Email: | Noraluk.U@Chula.ac.th Areewan.O@Chula.ac.th |
Subjects: | เครื่องช่วยหายใจ Respirators (Medical equipment) |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่ที่ได้รับการใส่เครื่องช่วยหายใจโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแบบปรากฏการณ์วิทยาการตีความ (Hermeneutic phenomenology) ตามแนวคิดของ Heidegger คัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 12 คน โดยผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่ที่ได้รับการใส่เครื่องช่วยหายใจจากภาวะหายใจล้มเหลวเป็นเวลาอย่างน้อย 6 วัน เป็นการใส่ท่อช่วยหายใจครั้งแรก โดยผ่านการรักษาตัวในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤตของโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง รวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และบันทึกเทป นำข้อมูลมาถอดความแบบคำต่อคำ และวิเคราะห์ข้อมูลตามวิธีการของ van Manen ผลการศึกษาประสบการณ์ผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่ที่ได้รับการใส่เครื่องช่วยหายใจ พบประเด็นจากงานวิจัย ดังนี้ 1.เครื่องช่วยหายใจเสมือนเป็นปอด ช่วยหายใจยามไม่มีแรง 2.ใส่เครื่องช่วยหายใจ เหมือนคนใกล้ตาย หาที่พึ่งทางใจช่วยคุ้มครอง 3.ทรมานกับอาการเจ็บปวด แต่ต้องทำใจอยู่กับมันให้ได้ 4.เจ็บเหมือนจะขาดใจ เวลาไอและดูดเสมหะ 5.รู้สึกขัดใจ สื่อสารอะไร ไม่มีใครเข้าใจความต้องการ 6.จะหลับตาลงได้อย่างไร ในเมื่อใจมีแต่ความกลัว 7.ได้รับบริการดี เริ่มมีกำลังใจ รู้สึกว่าตนเองน่าจะปลอดภัย 8.คิดถึงอนาคต อยากหาย มีกำลังใจสู้ต่อ จากผลการวิจัยนี้จะนำไปสู่การดูแลผู้ป่วยที่ใส่เครื่องช่วยหายใจให้ครอบคลุมอย่างเป็นองค์รวม ตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยในภาวะวิกฤต และตระหนักถึงการดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์ โดยคำนึงถึงความแตกต่างของแต่ละบุคคล |
Other Abstract: | This qualitative research aimed to describe experiences of being an adult patient receiving ventilator. Hermeneutic phenomenology guided by the concept of Heidegger was used as the research methodology of this study. Twelve adult patients with first time receiving ventilator at least six days were participated in this study. In-depth interview with audio-record and transcribed verbatim was used to collected data. The data were analyzed by using a content analysis of van Manen. The findings revealed eight categories as follows : 1) A ventilator functioning as a lung when not being breathe 2) Living with a ventilator liked a dying person needing spiritual support 3) Suffering from pain but trying to accept and live with it 4) Getting really hurt when coughing and suctioning 5) Being frustrated when no one understands what he/she needs 6) How to getting sleep when having fear in mind 7) Receiving good services enhances his/her feeling of safe 8) Thinking of the future makes he/she wishes to get well soon. These research findings can be used as a guideline in taking care of patients with ventilators holistically, in responding critically ill patients’ needs, and putting this guideline for humanistic care by considering differences among each person. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 |
Degree Name: | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พยาบาลศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44052 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.402 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2012.402 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
manee_ch.pdf | 1.62 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.