Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44066
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง | - |
dc.contributor.author | อิสราภรณ์ ผิวขำ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2015-07-20T03:08:25Z | - |
dc.date.available | 2015-07-20T03:08:25Z | - |
dc.date.issued | 2555 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44066 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อสุขภาวะทางจิต โดยมีความขัดแย้งระหว่างงานกับครอบครัวเป็นตัวแปรส่งผ่าน 2) เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบระดับของสุขภาวะทางจิตและความขัดแย้งระหว่างงานกับครอบครัวของครูที่มีภูมิหลังต่างกัน และ 3) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลเชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาวะทางจิตของครูโดยมีความขัดแย้งระหว่างงานกับครอบครัวเป็นตัวแปรส่งผ่านกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นครูจำนวน 672 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเพื่อวัดระดับและปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาวะทางจิตและความขัดแย้งระหว่างงานกับครอบครัว วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์อิทธิพล โดยใช้โปรแกรม SPSS for Windows และ LISREL 8.72 ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยเชิงสาเหตุของสุขภาวะทางจิตของครู ประกอบไปด้วยปัจจัย 5 ด้าน ได้แก่ ความพึงพอใจในงาน การสนับสนุนทางสังคม แนวโน้มความรู้สึกและภาระงาน โดยส่งผ่านความขัดแย้งระหว่างงานกับครอบครัวและความเครียดจากงาน 2) ค่าเฉลี่ยระดับสุขภาวะทางจิตของครูไม่แตกต่างกันในครูที่มีภูมิหลังแตกต่างกันยกเว้นเพศชายและหญิงที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และค่าเฉลี่ยระดับความขัดแย้งระหว่างงานกับครอบครัวของครูที่มีเพศ อายุ ประสบการณ์สอน และกลุ่มสาระที่สอนแตกต่างกันมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) โมเดลเชิงสาเหตุปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาวะทางจิตของครูโดยมีความขัดแย้งระหว่างงานกับครอบครัวเป็นตัวแปรส่งผ่าน มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (chi square = 30.82 df = 25 p = .20 GFI = .99 AGFI = .97 RMR = .019 RMSEA = .019) ตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของสุขภาวะทางจิตของครูได้ร้อยละ 71 | en_US |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this research were 1) to study causal factor effecting teacher’s psychological well-being with work-family conflict as mediating variable and 2) to validate this causal model. The participants of this research were 672 teachers and the data was collected through questionnaire that assessed factors which affect teacher’s psychological well-being and work-family conflict. Data was analyzed using descriptive statistics, confirmatory factor analysis and path analysis, all of which employ SPSS and LISREL programs for windows. The research findings were as follows: 1) There were 5 factors affecting teacher’s psychological well-being with work-family conflict and job stress as mediating variable: job satisfaction, social support, the affecting and workload. 2) Teacher’s psychological well-being between male and female had difference with statistical significance at .01 and Teacher’ work-family conflict between sex, age, experience teaching and major had difference with statistical significance at .01. 3) The causal model of factors effecting teacher’s psychological well-being with work-family conflict as mediating variable fit the empirical data (chi square = 30.82 df = 25 p = .20 GFI = .99 AGFI = .97 RMR = .019 RMSEA = .019) The model indicated 71% of the variance in teacher’s psychological well-being. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.16 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ครู -- แง่จิตวิทยา | en_US |
dc.subject | ความขัดแย้งทางบทบาท | en_US |
dc.subject | Teachers -- Psychological aspects | en_US |
dc.subject | Role conflict | en_US |
dc.title | ปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาวะทางจิตของครูโดยมีความขัดเเย้งระหว่างงานกับครอบครัวเป็นตัวเเปรส่งผ่าน | en_US |
dc.title.alternative | Factors affecting teachers' psychological well-being with work-family conflicts as mediating variable | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Nuttaporn.L@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2012.16 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Issaraporn_ph.pdf | 2.24 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.