Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44087
Title: | ตระกูลรายการข่าวโทรทัศน์ในประเทศไทย พ.ศ. 2548 |
Other Titles: | Genres of television news programs in Thailand, 2005 |
Authors: | ศิวนารถ หงษ์ประยูร |
Advisors: | กิตติ กันภัย |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | Kitti.G@chula.ac.th |
Subjects: | ข่าวโทรทัศน์ การสื่อข่าวและการเขียนข่าว Television broadcasting of news Reporters and reporting |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ตระกูล (Genre) รายการข่าวโทรทัศน์ โดยจำแนกและค้นหาสูตร (Formula) ของรายการข่าวโทรทัศน์แต่ละตระกูล ด้วยการวิเคราะห์ตระกูลและสูตรจากเทปรายการข่าวโทรทัศน์ทั้งหมดที่ออกอากาศในระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม พ.ศ.2548 จำนวน 69 รายการ การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ผลิตรายการข่าว และการใช้แบบสัมภาษณ์กับประชาชนที่ชมรายการข่าว ผลการวิจัยพบว่า สามารถใช้การเล่าเรื่องและรหัสของรายการ จำแนกรายการข่าวโทรทัศน์ในประเทศไทย ที่ออกอากาศในปี พ.ศ.2548 ออกได้เป็น 4 ตระกูล โดยเป็นตระกูลหลัก 1 ตระกูล และตระกูลย่อย 3 ตระกูล ได้แก่ 1) ตระกูลรายการข่าวแนวคลาสสิค (Classic News Genre) เป็นตระกูลหลักและดั้งเดิม ใช้รหัสสร้างความหมายด้านความน่าเชื่อถือและความถูกต้องเป็นหลัก มีเนื้อหาข่าวหลากหลายประเภท นำเสนอในรูปแบบข่าวภาคปกติ (News Bulletin) โดยการอ่านข่าวเป็นหลัก สร้างความน่าเชื่อถือจาก บก.และ กอง บก. ซึ่งมีบทบาทเป็นผู้ควบคุมการเล่าเรื่อง และภาพรวมของรายการเป็นทางการ มีบรรยากาศจริงจัง เนื้อหา ภาพและเสียงของข่าวมีบทบาทมากกว่าผู้ประกาศข่าวที่มีบทบาทเพียงอ่านข่าวตามบท มีพื้นที่โฆษณาน้อย ตัวอย่างรายการ ได้แก่ ข่าว 18.00 น. ทางช่อง 11 และข่าวภาคค่ำ ทางช่อง 7 2) ตระกูลย่อยรายการข่าวแนววิเคราะห์ข่าว (News Analysis Sub-genre) ใช้รูปแบบรายการนิตยสารข่าว (News Magazine) โดยเน้นที่การวิเคราะห์ข่าวมากที่สุด ภาพรวมของรายการเป็นทางการและมีบุคลิกของนักวิเคราะห์หรือผู้ทรงภูมิ นำเสนอเฉพาะข่าวหนัก สร้างความน่าเชื่อถือจากผู้วิเคราะห์ข่าวและพิธีกร ซึ่งเป็นผู้ควบคุมการเล่าเรื่อง เน้นการใช้รหัสสร้างความหมายด้านความมีเหตุผล ตัวอย่างรายการ ได้แก่ ก้าวทันตลาดทุน ทางโมเดิร์นไนน์ทีวี และเส้นทางนักลงทุน ทางไอทีวี 3) ตระกูลย่อยรายการข่าวแนวโชว์ข่าว (News Show Sub-genre) เป็นตระกูลย่อยใหม่ ใช้รหัสสร้างความหมายด้านสีสันความสบายและความเพลิดเพลินเป็นหลัก ใช้รูปแบบการสนทนาข่าว พร้อมกับบรรยากาศสบาย กึ่งทางการ แต่สร้างความน่าเชื่อถือจากพิธีกร ซึ่งเป็นผู้ควบคุมการเล่าเรื่องทั้งหมด พิธีกรมีบทบาทมากกว่าข่าว นำเสนอข่าวหลายประเภท แต่อาจนำเสนอเพียง ข่าวเด่น มีพื้นที่โฆษณามาก ตัวอย่างรายการ ได้แก่ เรื่องเล่าเช้านี้ ทางช่อง 3 และข่าวเช้าไอทีวี ทางไอทีวี 4) ตระกูลย่อยรายการข่าวแนวสาระบันเทิง (Infotainment News Sub-genre) เป็นตระกูลย่อยใหม่ ที่แยกตัวออกจากข่าวภาคปกติ (News Bulletin) ใช้รหัสสร้างความหมายด้านความสนุกสนาน มีภาพรวมของรายการที่ไม่เป็นทางการมากที่สุด รูปแบบการรายงานข่าวและสกู๊ปข่าวมีลีลาที่เป็นกันเองและมีสีสัน เป็นข่าวเบาทั้งหมด มีพื้นที่โฆษณามากที่สุด และถูกใช้เป็นพื้นที่ประชาสัมพันธ์รายการอื่นๆ ความน่าเชื่อถือของรายการมาจาก บก.และกอง บก.ซึ่งควบคุมการเล่าเรื่องทั้งหมด พิธีกรมีบทบาทเพียงเพิ่มเติมสีสัน ตัวอย่างรายการ ได้แก่ สีสันบันเทิง ทางช่อง 3 และดาวกระจาย ทางโมเดิร์นไนน์ทีวี ปัจจุบันมีรายการข่าวแนวคลาสสิคมากที่สุด แต่ผู้ผลิตก็มีการปรับปรุงสูตรโดยตลอด เพื่อให้เหมาะสมกับพฤติกรรมการชมข่าวที่เปลี่ยนไปและแข่งขันกับตระกูลย่อยใหม่ทั้ง 3 ตระกูล ที่มีแนวโน้มการขยายตัวอย่างรวดเร็ว เพราะมีกระบวนการผลิตง่าย ไม่ซับซ้อน แต่ได้รับความนิยมมากและกว้างขวาง และมีพื้นที่โฆษณามาก สร้างรายได้ให้ผู้ผลิตรายการมากขึ้น |
Other Abstract: | This research project analyzed genres of television news programs, exploring and categorizing the formula of genre and sub-genres of television news programs locally produced in Thailand. The research methodology includes: an analysis of 69 television news programs broadcast between November and December 2005, in-depth interviews with producers of television news programs; interviews with audiences of television news programs. The research found that television news programs broadcast in 2005 can be categorized into one genre and three sub-genres as follows: 1) Classic News Genre: This is the original and most prevalent genre of news program, focusing on fact and credibility. The content is varied. It is presented by news anchors in a formal news bulletin style. This genre places more emphasis on the content of the news than on the news anchors. Presented in a formal style, the editorial team is responsible for the credibility of the content. It offers only a very limited space for advertisements. Examples of the program of this genre are “News at 6 pm” on Channel 11 and “Evening News” on Channel 7. 2) News Analysis Sub-genre: This sub-genre is presented in a news-magazine style, focusing on news analysis. With formal, analytical and knowledgeable style, it emphasizes hard news. Presenters and analysts are responsible for the credibility of the content which focuses on reasoning and rationality. Examples of the program of this sub-genre are “Gow Tan Ta Lad Tun” on Modern Nine TV and “Sen Tang Nak Long Tun” on ITV. 3) News Show Sub-genre: Focusing on entertainment, this new sub-genre employs a talking style. It is presented in a semi-formal and relaxed atmosphere. The content is varied; however, it predominantly focuses more on the main news. The presenters are responsible for the credibility of the content. This sub-genre offers more space for advertisements. Examples of the program in this sub-genre are “Reang Loaw Chao Nee” on Channel 3 and “Morning News” on ITV. 4) Infotainment News Sub-genre: This new sub-genre is a branch of the news bulletin style. It is presented with an entertaining and friendly atmosphere. This sub-genre is the least formal genre, and focuses on soft news. The presenters are the entertainers, while the editor is responsible for the credibility of the content. Examples of the program in this sub-genre are “See San Ban Teang” on Channel 3 and “Dow Kra Jai” on Modern Nine TV. Most of the news programs found in Thai Television are in the Classic News Genre. However, this genre is developing to adjust to the changing behavior of audiences. Because of their simple production process, the other three new sub-genres are mushrooming. They are also very popular among audiences, and offer more space for advertisements, and consequently, more benefits for the producers. In this way, the Classic News Genre must develop in order to complete with these three new sub-genres. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การสื่อสารมวลชน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44087 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1139 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2007.1139 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Siwanard_Ho.pdf | 3.06 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.