Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/440
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorใจทิพย์ ณ สงขลา-
dc.contributor.authorศิวนิต อรรถวุฒิกุล, 2518--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-06-22T07:42:30Z-
dc.date.available2006-06-22T07:42:30Z-
dc.date.issued2547-
dc.identifier.isbn9741766807-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/440-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของรูปแบบการนำทางในบทเรียนความเป็นจริงเสมือนบนเว็บ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีรูปแบบการคิดต่างกัน เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบแฟคทอเรียล 2x2 โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ฝ่ายมัธยม) ปีการศึกษา 2547 ซึ่งได้มาโดยการให้นักเรียนทำแบบวัดแบบการคิด เดอะกรุป เอมเบดเดด ฟิกเกอร์ เทสท์ (The Group Embedded Figures Test : GEFT) เพื่อแบ่งผู้เรียนออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มฟิลด์ อินดิเพนเดนซ์ (Field Independence : FI) และกลุ่มฟิลด์ ดิเพนเดนซ์ (Field Dependence : FD) มากลุ่มละ 40 คน รวมทั้งสิ้น 80 คน แล้วจึงแบ่งออกเป็นกลุ่มทดลอง 4 กลุ่ม กลุ่มละ 20 คน เพื่อเข้ารับการทดลองดังนี้ 1) ผู้เรียนที่มีแบบการคิดแบบฟิลด์ อินดิเพนเดนซ์ เรียนจากบทเรียนเสมือนจริงที่มีการนำทางเป็นแบบค้นหาคำ (Search Box) 2) ผู้เรียนที่มีแบบการคิดแบบฟิลด์ อินดิเพนเดนซ์ เรียนจากบทเรียนเสมือนจริงที่มีการนำทางเป็นแบบสัญรูป (Icon) 3) ผู้เรียนที่มีแบบการคิดแบบฟิลด์ ดิเพนเดนซ์ เรียนจากบทเรียนเสมือนจริงที่มีการนำทางเป็นแบบค้นหาคำ (Search Box) 4) ผู้เรียนที่มีแบบการคิดแบบ ฟิลด์ ดิเพนเดนซ์ เรียนจากบทเรียนเสมือนจริงที่มีการนำทางเป็นแบบสัญรูป (Icon) นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง (Two-Way ANOVA) และทดสอบค่า (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนที่มีแบบการคิดต่างกันเมื่อเรียนด้วยบทเรียนความเป็นจริงเสมือนบนเว็บ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แตกต่างกัน ที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักเรียนเมื่อเรียนด้วยบทเรียนความเป็นจริงเสมือนบนเว็บ ที่มีรูปแบบการนำทางในบทเรียนต่างกัน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่แตกต่างกัน 3. ไม่พบปฏิสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการนำทางในบทเรียนความเป็นจริงเสมือนบนเว็บกับรูปแบบการคิดของนักเรียน ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนen
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to study effects of navigation types in virtual reality lessons on web upon learning achievement of mathayom suksa three with different cognitive styles. The research was 2x2 factorial design. The samples of the research were mathayom suksa three students at Chulalongkorn University Demonstration School in 2004, which were examined by The Group Embedded Figures Test (GEFT) and were randomized from students with Field Independence group and Field Dependence group, each group consisted of 40 students. The sampls were divided into four experimental groups, each group consisted of 20 students as follows : 1) students with FI studying from Search Box 2) students with FI studying from Icon 3) students with FD studying from Search Box 4) students with FD studying from Icon. The data were analyzed by using Two-Way ANOVA of Variance. The results were as follows : 1. There was a significant difference upon learning achievement of students with different cognitive styles learning from virtual reality lessons on web at .05. 2. There was no significant difference upon learning achievement of students learning from virtual reality lessons on web with different navigation types. 3. There was no interaction between navigation types nd cognitive styles in virtual reality lessons on web upon learning achievement.en
dc.format.extent6024191 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2004.765-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการเรียนการสอนผ่านเว็บen
dc.subjectความเป็นจริงเสมือนen
dc.titleผลของรูปแบบการนำทางในบทเรียนความเป็นจริงเสมือนบนเว็บ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีรูปแบบการคิดต่างกันen
dc.title.alternativeEffects of navigation types in virtual reality lessons on web upon learning achievement of mathayom suksa three students with different cognitive stylesen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineโสตทัศนศึกษาen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorJaitip.N@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2004.765-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Siwanit.pdf2.55 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.