Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4419
Title: ผลของการใช้ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ประกอบกิจกรรมการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ 4 ขั้น ที่มีต่อความสามารถในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความเท่ากันทุกประการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
Other Titles: Effects of using computer software in four steps mathematics instruction activity on mathematics learning ability in congruent of mathayom suksa one students
Authors: อรรถศาสน์ นิมิตรพันธ์
Advisors: สุวัฒนา อุทัยรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Suwattana.U@chula.ac.th
Subjects: คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน
คณิตศาสตร์ -- คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน
ความสามารถทางคณิตศาสตร์ -- การทดสอบ
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาความสามารถในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความเท่ากันทุกประการ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนโดยใช้ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ประกอบกิจกรรมการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ 4 ขั้น 2. เพื่อศึกษาจำนวนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำแนกตามระดับผลการเรียนทางคณิตศาสตร์สูง ปานกลาง และต่ำ ที่มีความสามารถในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความเท่ากันทุกประการ ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ที่เรียนโดยใช้ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ประกอบกิจกรรมการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ 4 ขั้น 3. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความเท่ากันทุกประการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนเรียนและหลังเรียน ที่เรียนโดยใช้ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ประกอบกิจกรรมการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ 4 ขั้น 4. เพื่อศึกษาความสามารถในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความเท่ากันทุกประการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำแนกตามระดับผลการเรียนทางคณิตศาสตร์สูง ปานกลาง และต่ำ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน ที่เรียนโดยใช้ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ประกอบกิจกรรมการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ 4 ขั้น ตัวอย่างประชากรเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี จำนวน 44 คน ที่มีระดับผลการเรียนทางคณิตศาสตร์สูง ปานกลาง และต่ำ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบวัดความสามารถในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความเท่ากันทุกประการที่มีค่าความเที่ยง 0.83 ผู้วิจัยดำเนินการสอน โดยใช้ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ประกอบกิจกรรมการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ 4 ขั้น ซึ่งประกอบด้วยสำรวจ ตั้งข้อคาดเดา สืบเสาะหาเหตุผล แล้วทดสอบด้วยแบบทดสอบวัดความสามารถในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความเท่ากันทุกประการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละของจำนวนนักเรียนที่มีความสามารถในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 ที่กำหนดไว้ และทดสอบความแตกต่างด้วยค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนโดยใช้ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ประกอบกิจกรรมการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ 4 ขั้น มีความสามารถในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความเท่ากันทุกประการ ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 ที่กำหนดไว้ 2. นักเรียนที่มีระดับผลการเรียนทางคณิตศาสตร์สูง ปานกลาง และต่ำ ที่มีความสามารถในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความเท่ากันทุกประการ ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 ที่กำหนดไว้มีจำนวนร้อยละ 100 63.64 และ 25 ตามลำดับ 3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนโดยใช้ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ประกอบกิจกรรมการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ 4 ขั้น มีความสามารถในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่อง ความเท่ากันทุกประการ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4.นักเรียนที่มีระดับผลการเรียนทางคณิตศาสตร์สูง ปานกลาง และต่ำ มีความสามารถในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องความเท่ากันทุกประการ หลังเรียนเพิ่มขึ้นจากก่อนเรียนคิดเป็นร้อยละเฉลี่ย 40.33 30.00 และ 26.39 ตามลำดับ
Other Abstract: The purposes of this research were: 1. to study mathematics learning ability in congruent of mathayom suksa one students learned by using computer software in four mathematics instruction activity. 2. to study number of mathayom suksa one students as classified high, medium and low mathematics learning levels had mathematics learning ability in congruent met the criteria by using computer software in four steps mathematics instruction activity. 3. to compare mathematics learning ability in congruent of mathayom suksa one students before and after learned by using computer software in four steps mathematics instruction activity. 4. to study mathematics learning ability in congruent of mathayom suksa one students as classified by high, medium and low mathematics learning levels between before and after learned by using computer softwere in four steps mathematics instruction activity. The samples of this study were 44 matheyom suksa one students of Suankularbwitthayalai Nonthaburi School with high, medium and low mathematics learning levles. The research instrument was the test of mathematics learning ability in congruent with the reliability of 0.83. The researcher taught the samples by using computer software in four steps mathematics instruction activity which consisted of exploration, conjecture, investigation and conclusion. The mathematics learning ability in congruent test was then administered to the samples. The data were analyzed by mean of arithmetic means, standard deviation, percentage of students had mathematics learning ability in congruent met the criteria of 60 percent and t-test. The research results were revealed that: 1. the mathayom suksa one students who learned by using computer software in four steps mathematics instruction activity had mathematics lerning ability in congruent met the criteria of 60 percent. 2. the number of students with high, medium and low mathematics learning level had mathematics ability in congruent met the criteria of 60 percent were 100, 63.64 and 25 percent respectively. 3. the mathayom suksa one students who learned by using computer software in four steps mathematics instruction activity had higher mathematics learning ability in congruent after learning than that before learning at the 0.05 level of significance. 4. the mathematics learning ability in congruent before and after learning of students with high, medium and low mathematics learning level increased 40.33, 30.00 and 26.39 average percent respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การศึกษาคณิตศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4419
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1999.460
ISBN: 9743347038
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1999.460
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
auttasart.pdf6.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.