Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/442
Title: ผลของการฝึกจินตนาการในการเรียนการสอนวิชาฟิสิกส์ที่มีต่อผลสัมฤทธ์ทางการเรียน และความสามารถในการจินตนาการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
Other Titles: The effects of practicing imagination in physics instruction on learning achievement and imagination abilities of mathayom suksa five students
Authors: มนต์ชัย สิทธิจันทร์, 2520-
Advisors: อลิศรา ชูชาติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Alisara.C@chula.ac.th
Subjects: ฟิสิกส์--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
จินตนาการ
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษา 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ของนักเรียน ที่ได้รับการฝึกจินตนาการกับนักเรียนที่ไม่ได้รับการฝึกจินตนาการ ในการเรียนการสอนวิชาฟิสิกส์ 2) ความสามารถในการจินตนาการเกี่ยวกับความรู้ฟิสิกส์ของนักเรียน ที่ได้รับการฝึกจินตนาการในการเรียนการสอนวิชาฟิสิกส์ กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย กรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2547 ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 30 คนคือ กลุ่มทดลองเป็นกลุ่มที่ได้รับการฝึกจินตนาการในการเรียนการสอนวิชาฟิสิกส์ และกลุ่มเปรียบเทียบเป็นกลุ่มที่ไม่ได้รับการฝึกจินตนาการในการเรียนการสอนวิชาฟิสิกส์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ ซึ่งมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.63 และ 2) แบบวัดความสามารถในการจินตนาการเกี่ยวกับความรู้ฟิสิกส์ ฉบับก่อนการทดลองและหลังการทดลอง ซึ่งมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.82 และ 0.87 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าเฉลี่ย ค่าเฉลี่ยร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ 70.68% ซึ่งอยู่ในระดับดี และสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2. หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการจินตนาการเกี่ยวกับความรู้ฟิสิกส์ สูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Other Abstract: To 1) study physics learning achievement of students between group had been practiced imagination and group had not been practiced imagination in physics instruction, and 2) study the imagination abilities about physics knowledge of the students who had been practiced imagination in physics instruction. The samples were mathayom suksa five students of Santirajvithayalai School, Bangkok at academic year 2004. The samples were divided into two groups with 30 students in each group: an experimental group which was practiced imagination and a comparative group which was not practiced imagination. The research instruments were 1) physics learning achievement test with reliability at 0.63 and 2) two imagination abilities tests about physics knowledge pre-test and post-test with reliability at 0.82 and 0.87 respectively. The collected data were analyzed by means of arithmetic mean, mean of percentage, standard deviation and t-test. The research findings were summarized as follows 1. After the experiment, an experimental group had the average score of physics learning achievement at 70.68%, which was at good level and was higher than a comparative group at 0.05 level of significance. 2. After the experiment, an experimental group had the average score of imagination abilities about physics knowledge higher than before the experiment and higher than a comparative group at 0.05 level significance.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การศึกษาวิทยาศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/442
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.835
ISBN: 9745322873
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2004.835
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Monchai.pdf1.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.