Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4424
Title: ผลของการฝึกการตั้งเป้าหมายเชิงสร้างสรรค์ ที่มีต่อการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
Other Titles: Effects of training for creative goal setting on creative thinking development of mathayom suksa three students
Authors: แสงอรุณ ประสพกาญจน์
Advisors: นิรันดร์ แสงสวัสดิ์
ประสาร มาลากุล ณ อยุธยา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
prasan@kbu.ac.th
Subjects: ความคิดสร้างสรรค์
เป้าหมาย (จิตวิทยา)
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาผลของการฝึกการตั้งเป้าหมายเชิงสร้างสรรค์ ที่มีต่อการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ่อพลอยรัชดาภิเษก จำนวน 60 คน ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย แบ่งเป็น 3 กลุ่มๆ ละ 20 คน โดยกลุ่มทดลองที่ 1 ได้รับการฝึกการตั้งเป้าหมายเชิงสร้างสรรค์ จากการทำกิจกรรมส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ กลุ่มทดลองที่ 2 ทำกิจกรรมส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์เพียงอย่างเดียว กลุ่มควบคุมเรียนตามปกติ โดยไม่ได้รับการฝึกการตั้งเป้าหมายเชิงสร้างสรรค์ และไม่ต้องทำกิจกรรมส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ผู้วิจัยได้ทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 กลุ่ม ในระยะก่อนทดลองและหลังการทดลอง แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยการทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1. กลุ่มนักเรียนที่ได้รับการฝึกการตั้งเป้าหมายเชิงสร้างสรรค์ มีคะแนนความคิดสร้างสรรค์สูงกว่า กลุ่มนักเรียนที่ทำกิจกรรมส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์เพียงอย่างเดียว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. กลุ่มนักเรียนที่ได้รับการฝึกการตั้งเป้าหมายเชิงสร้างสรรค์ มีคะแนนความคิดสร้างสรรค์สูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. กลุ่มนักเรียนที่ทำกิจกรรมส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์เพียงอย่างเดียว มีคะแนนความคิดสร้างสรรค์ไม่แตกต่างกันกับนักเรียนกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 4. กลุ่มนักเรียนที่ได้รับการฝึกการตั้งเป้าหมายเชิงสร้างสรรค์ มีคะแนนความคิดสร้างสรรค์หลังการทดลองสูงสุดกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 5. กลุ่มนักเรียนที่ทำกิจกรรมส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์เพียงอย่างเดียว มีคะแนนความคิดสร้างสรรค์หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Other Abstract: To study effects of goal setting training for creative goal setting on creativity of Mathayom Suksa Three students. The subjects were 60 of Mathayom Suksa 3 students at Boployratchadapiseak school. They were Randomly assigned into the experimental 2 groups and the control group with 20 students in each group. The experimental first group was training for creative goal setting with making creative activity, the experimental second group was makes creative activity only. The control group was not training for creative goal setting and not make the creative activity. All subjects were pre-tested and post-tested on creative thinking. The testing scores were analyzed by using the t-test and one-way analysis of variance. The results were as follows: 1. The students in the experimental first group obtained significantly higher scores on creative thinking in the post-test than those of the students in the experimental second group. (P<.01) 2. The students in the experimental first group obtained significantly higher scores on creative thinking in the post-test than those of the students in the control group. (P<.01) 3. The students in the experimental second group not obtained significantly higher scores on creative thinking in the post-test than those of the students in the control group. 4. The students in the experimental first group obtained significantly higher scores on creative thinking in the post-test than their on the pre-test. (P<.01) 5. The students in the experimental second group obtained significantly higher scores on creative thinking in the post-test than their on the pre-test. (P<.01)
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4424
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1999.474
ISBN: 9743344845
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1999.474
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sangarun.pdf4.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.