Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4429
Title: การศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น : กรณีศึกษาโรงเรียนชุมชนวัดใหญ่ต้นโพธิ์ อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี
Other Titles: A study of fundamental data in local curriculum development : a case study of Wat Yai Tonpho community school, Amphoe Bangphae, Changwat Ratchaburi
Authors: ยุวดี กังสดาล
Advisors: ใจทิพย์ เชื้อรัตนพงษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: การศึกษา -- หลักสูตร
ชุมชนกับโรงเรียน
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียนชุมชนวัดใหญ่ต้นโพธิ์และชุมชนต้นโพธิ์ ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและชุมชน และแนวทางในการให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ประชากรได้แก่บุคคลในโรงเรียนและบุคคลในชุมชน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์และการสังเกต กับบุคคลในโรงเรียนและชุมชน ศึกษาเอกสารของโรงเรียนและชุมชน และใช้แบบสอบถามกับนักเรียนในโรงเรียนดังกล่าว วิเคราะห์ข้อมูลโดย วิธีวิเคราะห์เนื้อหา วิเคราะห์แบบอุปนัย การแจกแจงความถี่และการหาค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า คนในชุมชนต้นโพธิ์ ส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้างลากกุ้งและมีฐานะอยู่ในระดับปานกลาง มีลักษณะแบบครอบครัวขยาย และยังคงรักษาวัฒนธรรมและประเพณีเก่าแก่ ชุมชนมีทรัพยากรท้องถิ่นที่เป็นประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอน บุคคลในชุมชนให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมของชุมชนเป็นอย่างดี ผู้นำชุมชนอย่างเป็นทางการยังไม่มีนโยบาย หรือผลงานทางการศึกษาที่เด่นชัด ส่วนผู้นำชุมชนอย่างไม่เป็นทางการ เป็นที่ยอมรับและศรัทธาจากคนในชุมชนเป็นอย่างมาก ปัญหาของชุมชนที่พบคือปัญหายาเสพติด ปัญหาการรุกล้ำที่ดินสาธารณะและปัญหามีรายได้ไม่เพียงพอ โรงเรียนชุมชนวัดใหญ่ต้นโพธิ์ จัดการศึกษาตั้งแต่อนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีผู้บริหารและครูผู้สอน รวม 32 คน และนักเรียน 811 คน ครูผู้สอนส่วนใหญ่ยังจัดการเรียนการสอนแบบเน้นเนื้อหา โรงเรียนเคยจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น ครูในโรงเรียนมักมีความขัดแย้งในเรื่องส่วนตัว แต่ยังให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมของโรงเรียนและชุมชนเป็นอย่างดี ปัญหาของโรงเรียนที่พบคือ ปัญหาเกี่ยวกับนักเรียน ปัญหาบุคลากร ปัญหาการจัดการเรียนการสอน ปัญหาการจัดการภายในโรงเรียน บุคคลในโรงเรียนและชุมชนส่วนใหญ่ต้องการให้พัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่องเครื่องจักสานของชุมชน เพื่ออนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีของชุมชนต้นโพธิ์ และเพื่อช่วยให้นักเรียนนำความรู้ไปประกอบอาชีพได้ โรงเรียนและชุมชนมีความพร้อมในการพัฒนาหลักสูตรดังกล่าว โรงเรียนชุมชนวัดใหญ่ต้นโพธิ์และชุมชนต้นโพธิ์ มีความสัมพันธ์กันเป็นอย่างดี รวมทั้งให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ของทั้งสองฝ่ายอย่างสม่ำเสมอ สำหรับแนวทางในการให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม ในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นและการจัดการเรียนการสอนนั้น โรงเรียนต้องมีบทบาทสำคัญในการนำชุมชนให้เข้ามามีส่วนร่วม ให้เกียรติและเปิดโอกาสให้ชุมชนได้ร่วมคิด ร่วมทำและร่วมวางแผนในการจัดกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียน ส่วนผู้นำชุมชนควรแนะนำให้คนในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจและเห็นความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นและการจัดการเรียนการสอน
Other Abstract: To study: 1) fundamental data of Wat yai Tonpho Community School, 2) fundamental data of Tonpho community, 3) the relationship between Wat Yai Tonpho Community School and local community, and 4) how the community participate in local curriculum development. the population was persons in the school and the community. Data were collected by interviewing and observing school staff and community people; studying the school and community documents; and having students to fill out the questionnaires. Data were analyzed by means of content analysis, inductive analysis, frequency distribution and percentage. The research results revealed that most community people were middle class, living by catching prawns. They were extended families and still sustained their own culture and old custom. The community had the resources which were essential to the teaching and learning process. Most of the community people willingly participated in local activities. Formal leaders didn't have any policy or distinct work on education while informal leaders were highly accepted and respected from the community people. The problems of this community were drug addict, public land invasion and insufficient income. Wat Yai Tonpho Community School offered education from kindergarten up to Grade 6. There were administrators and teachers totally 32 persons, and 811 students. Most teaches still employed content-oriented instruction. The school used to develop local curriculum. Teachers had the conflict in personnel issues; however, they co-operated to do the school and community activities. The school had the problems relating to students, staff, instruction and school management. Most people in both community and school needed to develop a local curriculum on "basketry" in order to conserve their culture and custom, and to help students be able to earn their livings in the future. Furthermore, both community and school had the readiness in developing this local curriculum. The school and the community had the good relationship and regulary helped each other in the activities. Regarding the ways to involve the community to participate in local curriculum development, school had to play the important role in encouraging the community members to involve in thinking, doing and planing the school activities. The community leaders should inform the community people to understand and realize how important to participate in local curriculum development and teaching learning process.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4429
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1999.463
ISBN: 9743340963
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1999.463
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
yuvadee.pdf10.89 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.