Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44337
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorยิ่งยศ อวิหิงสานนท์-
dc.contributor.advisorวิวัฒน์ จันเจริญฐานะ-
dc.contributor.advisorสมฤทัย วัชราวิวัฒน์-
dc.contributor.authorอโนชา วนิชชานนท์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2015-08-17T06:58:12Z-
dc.date.available2015-08-17T06:58:12Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44337-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555en_US
dc.description.abstractที่มา: เอเวอโรลิมุสเป็นยากดภูมิในกลุ่ม mTOR inhibitors ที่มีการนำมาใช้เป็นยากดภูมิหลักในผู้ป่วยหลังการปลูกถ่ายไตมากขึ้นเรื่อยๆ ผลข้างเคียงที่สำคัญของยาเอเวอโรลิมุสคือ ภาวะไขมันในเลือดสูงพบได้ถึงร้อยละ 50 ของผู้ป่วยที่ได้รับยา ดังนั้น ยาลดไขมันจึงเป็นยาที่ถูกสั่งจ่ายร่วมกับยากดภูมิคุ้มกันได้บ่อยในผู้ป่วยหลังการปลูกถ่ายไต ยาลดไขมันอะทอวาสแตตินเป็นยาที่มีการนำมาใช้ในผู้ป่วยหลังการปลูกถ่ายไตมากเนื่องจากเป็นยาที่ปลอดภัย แต่อย่างไรก็ตามยาสองชนิดนี้มีการเมตาบอลิซึมผ่านทางเอนไซม์ CYP3A4 ร่วมกัน อาจทำให้เกิดปฏิกิริยาระหว่างยาทั้งสองชนิดได้ ผลต่อการรบกวนระดับยาเอเวอโรลิมุสเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะปฏิเสธไต ดังนั้น จึงเป็นที่มาของการวิจัยนี้ที่ต้องการศึกษาผลของการบริหารยาเอเวอโรลิมุสร่วมกับยาอะทอวาสแตตินต่อเภสัชจลนศาสตร์ของยาเอเวอโรลิมุส วิธีการศึกษา: รูปแบบการศึกษาเป็น crossover design ผู้ป่วยหลังการปลูกถ่ายไตจำนวน 20 ราย ถูกสุ่มเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ได้รับยาเอเวอโรลิมุสและกลุ่มที่ได้รับยาเอเวอโรลิมุสร่วมกับยาอะทอวาสแตติน 20 มิลลิกรัมเป็นระยะเวลา 1 เดือน และมีระยะเวลาที่เป็นช่วง wash-out period 1 เดือน ค่าความเข้มข้นยาเอเวอโรลิมุสในพลาสมาจำนวน 10 จุด คือ ที่เวลาก่อนรับประทานยา และที่ 0.5, 1, 1.5, 2, 2.5, 4, 6, 8, 12 ชั่วโมงหลังรับประทานยาถูกวัดด้วยวิธี homogeneous particle-enhanced turbidimetric immunoassay เพื่อนำมาคำนวณค่าพื้นที่ใต้กราฟของความเข้มข้นและเวลา 12 ชั่วโมง (12-hour AUC) ผลการศึกษา: ค่าเฉลี่ยพื้นที่ใต้กราฟของความเข้มข้นและเวลา 12 ชั่วโมงเมื่อได้รับยาเอเวอโรลิมุสชนิดเดียวและเมื่อได้รับยาสองชนิดร่วมกันเท่ากับ 155.86 ± 41.67 และ 151.33 ± 51.39 นาโนกรัม*ชั่วโมงต่อลิตร ตามลำดับ ซึ่งไม่มีความแตกต่างกัน ในผู้ป่วยจำนวน 20 ราย พบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่คือ 10 ราย ไม่มีการเปลี่ยนของค่า 12-hour AUC ของยาเอเวอโรลิมุส แต่มีผู้ป่วยจำนวน 4 ราย ที่มีค่าเฉลี่ย 12-hour AUC เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 20 ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงผลลัพธ์ทางคลินิคได้ ในขณะที่ผู้ป่วยอีก 6 ราย มีค่าเฉลี่ย 12-hour AUC ลดลงมากกว่าร้อยละ 20 ในผู้ป่วยที่มีการเปลี่ยนแปลงค่าเฉลี่ย 12-hour AUC ที่แตกต่างกันนี้น่าจะเป็นผลมาจากยาเอเวอโรลิมุสที่มีความผันแปรของระดับยาในผู้ป่วยรายเดียวกันค่อนข้างมาก สรุปผลการศึกษา: การบริหารยาเอเวอโรลิมุสร่วมกับยาลดไขมันอะทอวาสแตตินมีความปลอดภัยและไม่มีผลรบกวนระดับความเข้มข้นของยาเอเวอโรลิมุสในเลือดen_US
dc.description.abstractalternativeBackground: Everolimus (EVL), an inhibitor of mammalian target of rapamycin (mTOR), has been increasingly used in kidney transplant (KT) recipients as the main immunosuppressive drug. Dose-dependent hyperlipidemia induced by EVL commonly occurs up to 50 percent. Therefore, lipid-lowering drugs are common concomitant medication in KT recipients. Drug interaction between EVL and atorvastatin may occur since both drugs share common pharmacokinetics pathways. Interference of EVL drug levels may enhance risks of allograft rejection. Herein, we determine the effects of coadministration of EVL and atorvastatin. Methods: In this randomized, open-label, crossover study, twenty KT recipients were assigned (1:1) to receive EVL or EVL plus 20 mg atorvastatin for one-month period. One-month washout period was allowed during a crossover treatment. Plasma EVL concentrations were measured by homogeneous particle-enhanced turbidimetric immunoassay. Twelve-hour area under the time concentration curve (AUC0-12) of EVL was calculated using 10-point whole blood EVL concentrations (0, 0.5, 1, 1.5, 2, 2.5, 4, 6, 8, and 12 hours). Results: The mean AUC0-12 of EVL and EVL plus atorvastatin were 155.86 ± 41.67 and 151.33 ± 51.39 ng*hr/L, respectively (p=NS, pair t-test). During coadministration with atorvastatin, 10 patients had unchanged EVL AUC, whereas 6 patients had decreased EVL AUC more than 20 percents which may associated to clinical relevant and 4 patients had increased EVL AUC more than 20 percents. Most of patients AUC ware not affected by atorvastatin coadministration, while others have unpredicted change in AUC that may be from high intrapatient variability of everolimus. Conclusion: Coadministration of atorvastatin with EVL in KT recipients is safe and does not interfere with the EVL blood levels.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2012.577-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectเอเวอโรลิมุส -- เภสัชจลนศาสตร์en_US
dc.subjectเอเวอโรลิมุส -- ผลข้างเคียงen_US
dc.subjectอะทอร์วาสทาทิน -- เภสัชจลนศาสตร์en_US
dc.subjectปฏิกิริยาระหว่างยาen_US
dc.subjectไต -- การปลูกถ่าย -- ผู้ป่วยen_US
dc.subjectEverolimus -- Pharmacokineticsen_US
dc.subjectEverolimus -- Side effectsen_US
dc.subjectAtorvastatin -- Pharmacokineticsen_US
dc.subjectDrug interactionsen_US
dc.subjectKidneys -- Transplantation -- Patientsen_US
dc.titleการศึกษาปฏิกิริยาระหว่างยาและเภสัชจลนศาสตร์ของยาเอเวอโรลิมุสเมื่อให้ร่วมกับยาลดไขมันอะทอวาสแตตินในผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายไตen_US
dc.title.alternativeDrug interaction and pharmacokinetic assessment of Everolimus when coadminitered with Atorvastatin in renal transplantation recipienten_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineอายุรศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2012.577-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
anocha_wa.pdf2.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.