Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44357
Title: ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยโรคลมชัก
Other Titles: Selected factors related to medication adherence in epileptic patients
Authors: จันทิมา ช่วยชุม
Advisors: ชนกพร จิตปัญญา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Chanokporn.J@Chula.ac.th
Subjects: ผู้ป่วยโรคลมชัก -- การดูแล
ผู้ป่วย -- ความร่วมมือในการรักษา
Epileptics -- Care
Patient compliance
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยโรคลมชัก และเพื่อศึกษาความสามารถในการทำนายของปัจจัยทำนาย ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ ระยะเวลาในการรักษาด้วยยา ความถี่ของการชัก ความรู้ การรับรู้สมรรถนะแห่งตน อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา การรับรู้ตราบาป และภาวะซึมเศร้ากับความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยโรคลมชัก กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคลมชักที่ได้รับการรักษาด้วยการใช้ยากันชักที่มารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอก คลินิกโรคลมชักของโรงพยาบาลศูนย์ตรังและโรงพยาบาลหาดใหญ่ จำนวน 115 คน ที่ได้รับการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความรู้ แบบประเมินการรับรู้สมรรถนะแห่งตน แบบประเมินอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา แบบประเมินการรับรู้ตราบาป แบบประเมินภาวะซึมเศร้า และแบบประเมินความร่วมมือในการใช้ยา ที่ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ วิเคราะห์ค่าความเที่ยงด้วยวิธีของคูเดอร์-ริชาร์ดสัน ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ .83 และหาค่าความเที่ยงด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคได้เท่ากับ .88, .73, .86, .81, และ .78 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และสถิติวิเคราะห์การถดถอยพหุแบบเชิงชั้น ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ร้อยละ 53.04 ของผู้ป่วยโรคลมชักมีความร่วมมือในการใช้ยาในระดับต่ำ(mean =4.42, SD= .88) 2. ความรู้เกี่ยวกับโรคลมชักและการรักษา (r[subscript xy]=.876) ระดับการศึกษา (rxy=.842) การรับรู้สมรรถนะแห่งตน (r[subscript xy]=.820) และรายได้ (r[subscript xy]=.767) มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยโรคลมชักอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา (r[subscript xy]=-.662) ภาวะซึมเศร้า (r[subscript xy]=-.646) การรับรู้ตราบาป (r[subscript xy]=-.591) ความถี่ของการชัก (r[subscript xy]=-.571) ระยะเวลาในการรักษาด้วยยา (r[subscript xy]= -.405) และอายุ (r[subscript xy]= -.320) มีความสัมพันธ์ทางลบกับความร่วมมือในการใช้ยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 4. เพศไม่มีความสัมพันธ์กับความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยโรคลมชักที่ระดับ .05 5. ตัวแปรความรู้ การรับรู้สมรรถนะแห่งตน และอายุ สามารถร่วมกันทำนายความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยโรคลมชักได้ถึงร้อยละ 79.6 เขียนเป็นสมการทำนายได้ดังนี้ Zความร่วมมือในการใช้ยา = 0.694Z[subscript ความรู้เกี่ยวกับโรคลมชักและการรักษา] + 0.275Z[subscript การรับรู้สมรรถนะแห่งตน] + 0.117 Z[subscript อายุ]
Other Abstract: The purposes of this descriptive study were to study medication adherence in patients with epilepsy and the predictability of selected factors; gender, age, education, income, length of drug use, seizure frequency, knowledge, self-efficacy, adverse drug reactions, stigma, depression, and medication adherence. The sample consisted of 115 epileptic patients who attended at epileptic clinic in Trang hospital and Hatyai hospital, selected by purposive sampling. The instruments were questionnaires regarding demographic, knowledge scale, self-efficacy scale, adverse drug reaction scale, stigma scale, depression scale, and medication adherence scale. All questionnaires were tested for content validity and reliability with Kuder-Richardson, which was .83, and Cronbach, s Alpha Coefficients, which were .88, .73, .86, .81, and .78 respectively. Statistical methods of frequency distribution, percentage, mean, standard deviation, Pearson, s Product Moment correlation, and hierarchical multiple regression. The major findings were as followed: 1. Most (53.04%) of the patients showed low medication adherence (mean = 4.42, SD = .88) 2. Knowledge (r[subscript xy]=.876) education (r[subscript xy]=.842) self-efficacy (r[subscript xy]=.820) and income (r[subscript xy]=.767) was positively significant related to medication adherence at the level of .05 3. Adverse drug reaction (r[subscript xy]=-.662) depression (r[subscript xy]=-.646) stigma (r[subscript xy]=-.591) seizure frequency (r[subscript xy]=-.571) length of drug use (r[subscript xy]= -.405) and age (rxy= -.320) was negatively significant related to medication adherence at the level of .05 4. Gender were not significantly related to medication adherence at the level of .05 5. The predicted power was 79.6% and the equation derived from standardize score was: Z medication adherence = 0.694 Z[subscript knowledge]+ 0.275 Z[subscript self-efficacy]+ 0.117 Z[subscript age]
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44357
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.583
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.583
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
chanthima_ch.pdf3.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.