Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44381
Title: | การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองโลกของเด็กและเยาวชนไทย |
Other Titles: | DEVELOPMENT OF A NON-FORMAL EDUCATION ACTIVITY MODEL TO ENHANCE GLOBAL CITIZENSHIP OF THAI CHILDREN AND YOUTH |
Authors: | ประพิมพ์พรรณ สุวรรณกูฏ |
Advisors: | วรรัตน์ ปทุมเจริญวัฒนา สวัสดิ์ ภู่ทอง |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Worarat.A@Chula.ac.th,aeworarat@yahoo.com sawat_pt@yahoo.com |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองโลกของเด็กและเยาวชนไทย โดยใช้ทฤษฎีแอนดราโกจี แนวคิดนีโอฮิวแมนนิสและแนวคิดความเป็นพลเมืองโลก 2) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบกิจกรรมที่ได้พัฒนาขึ้น และ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการนำรูปแบบกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนที่ได้พัฒนาขึ้นไปใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประชากร คือ เด็กและเยาวชนในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างเป็นเยาวชนไทย จำนวน 30 คนที่อาสาสมัครเข้าร่วมตลอดกิจกรรม การดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การวิเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการในการส่งเสริมความเป็นพลเมืองโลกของเด็กและเยาวชนไทย ระยะที่ 2 การออกแบบรูปแบบกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองโลกของเด็กและเยาวชนไทย ระยะที่ 3 การทดลองและศึกษาผลการทดลองการใช้รูปแบบกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองโลกของเด็กและเยาวชนไทย ระยะที่ 4 การศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการนำรูปแบบกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองโลกของเด็กและเยาวชนไทยไปใช้ ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบรูปแบบกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองโลกของเด็กและเยาวชนไทยมีองค์ประกอบ คือ 1) หลักการที่ใช้ คือ การสร้างบรรยากาศที่เป็นมิตร การเรียนรู้ประเด็นปัญหาระดับโลก การใช้สื่อที่หลากหลาย การมีส่วนร่วม และการเรียนรู้ร่วมกัน 2) วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาความรู้ ทักษะ และเจตคติที่ส่งเสริมความเป็นพลเมืองโลกของเด็กและเยาวชนไทย 3) กระบวนการ 7 ขั้นตอน ได้แก่ (1) การสร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลายและเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น (2) การถาม-ตอบ (3) การเข้าใจปัญหา (4) การค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติม (5) การวางแผน (6) การปฏิบัติ และ (7) การทบทวน และ 4) ผลที่ได้รับ ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะ และเจตคติที่ส่งเสริมความเป็นพลเมืองโลกซึ่งสามารถนำไปปฏิบัติและนำไปใช้กับผู้อื่นต่อไป 2. ผลการทดลองใช้รูปแบบกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองโลกของเด็กและเยาวชนไทย พบว่า หลังเข้าร่วมกิจกรรมผู้เรียนมีความรู้การเป็นพลเมืองโลกเพิ่มขึ้นทุกด้าน ด้านความรู้ความเป็นพลเมืองโลกผู้เรียนมีผลการเรียนรู้มากที่สุดเกี่ยวกับการยึดหลักสันติภาพและขจัดความขัดแย้ง ด้านทักษะความเป็นพลเมืองโลกผู้เรียนมีผลการเรียนรู้มากที่สุดเกี่ยวกับการเคารพตนเองและสิ่งต่างๆ และด้านเจตคติความเป็นพลเมืองโลกผู้เรียนมีผลการเรียนรู้มากที่สุดเกี่ยวกับการพร้อมรับความแตกต่าง สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3. ผลการศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการนำรูปแบบกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองโลกของเด็กและเยาวชนไทยไปใช้ ได้แก่ ผู้เรียน ผู้สอน เนื้อหา ระยะเวลา กิจกรรมการเรียนรู้ และสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ |
Other Abstract: | The purposes of this research were to: 1) develop a non-formal education activity model based on Andragogy Theory, Neo-humanist Concepts and Global Citizenship Concepts to enhance global citizenship of Thai children and youth; 2) study the results of the developed model implementation; and 3) study the relevant factors of implementing the developed model. The samples included thirty Thai youth who volunteered to participate in all activities. The research procedure was divided into four phases: 1) analyze the problems and learning needs of enhancing global citizenship of Thai children and youth; 2) develop a non-formal education activity model to enhance global citizenship of Thai children and youth; 3) try out the model and study the results of the try-out; and 4) study the relevant factors affecting the implementation of the developed activity model. The research findings were as follow: 1. the components of a non-formal education activity model to enhance global citizenship of Thai children and youth consisted of 1) principles: building friendly atmosphere, learning global challenges, using of multi-media, and enhancing participation/ collaborative learning; 2) purposes: to develop a non-formal education activity model to enhance global citizenship of Thai children and youth; 3) seven-step processes: step 1 enabling friendly/ relaxed atmosphere and encouraging the study participants to be more self-esteem and recognize the values of other people, step 2 questioning and answering, step 3 understanding the problems, step 4 exploring more additional information and data , step 5 Planning, step 6 implementation, step 7 reviewing, and 4) Results: Learners obtained more knowledge, skills and attitudes of global citizenship and were able to apply them with others. 2. Results of the experiment showed that the experimental group’s post-test scores were higher in all three aspects: (1) knowledge of which the highest score was peaceful solutions and conflict management; (2) skills of which the highest score was self-respect; and (3) attitudes of which the highest scores were value and respect for diversity, and learning to accept difference, which was found much higher than pre-test at .05 level of significance; and 3. the factors effected the using of non-formal education activity model were learners, instructors, contents, times, learning activities, and learning environment. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | การศึกษานอกระบบโรงเรียน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44381 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5184280727.pdf | 9.15 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.