Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44482
Title: การผลิตและลักษณะสมบัติของมอนอโคลนอลแอนติบอดีต่อ Perkinsus olseni ในหอยลาย Paphia undulata
Other Titles: PRODUCTION AND CHARACTERIZATION OF MONOCLONAL ANTIBODY AGAINST Perkinsus olseni IN UNDULATED SURF CLAMS Paphia undulata
Authors: สิริรัตน์ แก้วสลับนิล
Advisors: นันทิกา คงเจริญพร
กิตตินันท์ โกมลภิส
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Nanthika.K@Chula.ac.th,nanthika.k@chula.ac.th
Kittinan.K@Chula.ac.th
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: โรคเพอร์คินซัส (Perkinsosis) เป็นโรคปรสิตในหอยสองฝาที่มีความสำคัญเชิงพาณิชย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหอยลาย (undulated surf clam, Paphia undulata) โดยมีสาเหตุมาจากเชื้อปรสิต Perkinsus olseni การติดเชื้อที่รุนแรงทำให้เกิดการอักเสบของเนื้อเยื่อและการตายของหอยจำนวนมากซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม จุดประสงค์ในงานวิจัยนี้จึงมีเพื่อผลิตและศึกษาลักษณะสมบัติของมอนอโคลนอลแอนติบอดีต่อ P. olseni ในหอยลาย P. undulata ภูมิคุ้มกันของหนูทดลองถูกกระตุ้นด้วย P. olseni ที่อยู่ในระยะ zoospore และ hypnospore หลังจากการหลอมรวมเซลล์และการคัดกรองจะได้มอนอโคลนทั้งหมด 11 โคลน จากการศึกษาลักษณะสมบัติเบื้องต้นของมอนอโคลนอลแอนติบอดี พบว่าความไวในการตรวจหา P. olseni ระยะ zoospore ด้วยวิธี dot blotting จะอยู่ในช่วง 2.6 x 107 ถึง 3.3 x 109 เซลล์ต่อมิลลิลิตร และระยะ hypnospore อยู่ในช่วง 1.6 x 105 ถึง 2.0 x 107 เซลล์ต่อมิลลิลิตร โดยมอนอโคลนอลแอนติบอดีที่ได้นี้มีความสามารถในการจับกับระยะต่างๆของ P. olseni ได้แตกต่างกัน มอนอโคลนอลแอนติบอดีหมายเลข 1 จะจับแบบจำเพาะต่อระยะ zoospore ในขณะที่หมายเลข 12 จะจับแบบจำเพาะต่อระยะ hypnospore ส่วนมอนอโคลนอลแอนติบอดีที่เหลือจะจับ P. olseni ที่อยู่ในทั้ง 2 ระยะ เมื่อตรวจสอบไอโซไทป์พบว่ามีมอนอโคลนอลแอนติบอดีหมายเลข 1, 9, 15, 17, 19 และ 22 เป็นชนิด IgG1 ขณะที่หมายเลข 7, 12, และ 20 เป็นชนิด IgG2b และหมายเลข 5 และ 24 เป็นชนิด IgM ทำการคัดเลือกมอนอโคลนอลแอนติบอดีมาทั้งหมด 7 โคลนโดยอาศัยวิธี dot blotting เพื่อใช้ตรวจหาเชื้อปรสิตด้วยวิธีอิมมูโนฮีสโตเคมีในเนื้อเยื่อหอยลายที่มีรายงานและไม่มีรายงานการติดเชื้อ หอยนางรม หอยแครง และหอยแมลงภู่ ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่ามอนอโคลนอลแอนติบอดีที่คัดเลือกมาจับกับเชื้อปรสิต P. olseni เฉพาะในหอยลายที่มีรายงานการติดเชื้อ แต่ไม่จับกับเนื้อเยื่อของหอยลายที่ไม่มีรายงานการติดเชื้อและเนื้อเยื่อหอยชนิดอื่นที่ถูกทดสอบ นอกจากนี้เมื่อนำมอนอโคลนอลแอนติบอดีหมายเลข 7, 12 และ 20 มาผสมใช้ร่วมกัน พบว่าประสิทธิภาพในการตรวจหาเชื้อปรสิตในเนื้อเยื่อหอยลายจะเพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากมอนอโคลนอลแอนติบอดีทั้งสามจับที่อิพิโทปต่างกัน
Other Abstract: Perkinsosis is a disease in commercially important bivalves, especially undulated surf clams Paphia undulata, caused by the protozoa Perkinsus olseni. Severe infection leads to tissue inflammation and mortality of the bivalves, thus affecting economic and society. The aim of this research was to produce and characterize the monoclonal antibody against P. olseni in undulated surf clams P. undulata. Mice were immunized by using zoospore and hypnospore of P. olseni as the antigen. After conventional cell fusion and screening, 11 monoclones were obtained. Characterizations of monoclonal antibodies (MAbs) from these clones revealed that the sensitivity of P. olseni zoospore detection by dot blotting method was found in the range of 2.6 x 107 - 3.3 x 109 cells/ml while that of hypnospore was found in the range of 1.6 x 105 - 2.0 x 107 cells/ml. The obtained MAbs can differently bind to different stages of P. olseni. MAbs No. 1 can bind only to the zoospore stage where as MAbs No. 12 can bind specifically to the hypnospore stage while the other MAbs can bind to P. olseni at both stages. Isotype of each monoclonal antibody was determined. MAb No. 1, 9, 15, 17, 19 and 22 are IgG1 while MAb No. 7, 12, and 20 are IgG2b and MAb No. 5 and 24 are IgM. Based on dot blotting method, 7 MAbs were selected to detect P. olseni in infected and uninfected clam, oysters, cockles and mussels using immunohistochemistry method. The results showed that the selected MAbs only bind to P. olseni in the infected clam tissues but do not bind to the uninfected clam tissue and other tested tissues. In addition, MAbs No. 7, 12 and 20 were mixed and applied. Surprisingly, the detection efficiency increased because the MAbs bound to the different epitopes.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีชีวภาพ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44482
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5472261023.pdf3.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.