Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44528
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์en_US
dc.contributor.authorภัทรดา เมฆานันท์en_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-08-21T09:29:37Z
dc.date.available2015-08-21T09:29:37Z
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44528
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractหลักความเสมอภาคในฐานะหลักทั่วไปของกฎหมายในระดับรัฐธรรมนูญเป็นหลักที่รับรองว่า บุคคลทุกคนสามารถใช้และได้รับความคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพอย่างเสมอภาคกัน หลักเกณฑ์ทั่วไปของหลักความเสมอภาค คือ สิ่งที่มีสาระสำคัญเหมือนกันต้องได้รับการปฏิบัติอย่างด้วยหลักเกณฑ์ที่เหมือนกัน ดังนั้น การพิจารณาเกี่ยวกับสิ่งที่มีสาระสำคัญเหมือนกันหรือแตกต่างกันจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญที่จะสะท้อนว่าบุคคลนั้นได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันโดยแท้จริงหรือไม่ จากการศึกษาแนวความคิดว่าด้วยหลักความเสมอภาคของกฎหมายต่างประเทศพบว่าทุกประเทศมีหลักเกณฑ์และแนวทางการวินิจฉัยเกี่ยวกับหลักความเสมอภาคเหมือนกัน หลักความเสมอภาคถือเป็นสิทธิมนุษยชนประการหนึ่ง การพิจารณาวินิจฉัยของศาลหรือองค์กรที่มีอำนาจวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ที่ว่า สิ่งที่มีสาระสำคัญเหมือนกันต้องได้รับการปฏิบัติด้วยหลักเกณฑ์เดียวกัน โดยศาลหรือคณะตุลาการรัฐธรรมนูญจะเปรียบเทียบกรณีของผู้ร้องและ อีกกรณีหนึ่งที่อาจเปรียบเทียบกันได้ว่ามีสาระสำคัญเหมือนกันหรือแตกต่างกัน และนำผลที่ได้นั้นไปพิจารณาด้วยหลักเกณฑ์เรื่องความสมเหตุสมผล นอกจากนี้ จากแนวทางการวินิจฉัยเกี่ยวกับหลักความเสมอภาคของต่างประเทศพบว่าศาลหรือคณะตุลาการรัฐธรรมนูญให้ความเคารพต่อขอบเขตอำนาจขององค์กรนิติบัญญัติในการกำหนดสิ่งที่เป็นสาระสำคัญตามกฎหมาย โดยจำกัดตนเองเพียงแค่การวินิจฉัยถึงความสมเหตุสมผลแต่จะไม่ก้าวล่วงไปพิจารณาว่าสิ่งที่เป็นสาระสำคัญตามกฎหมายควรเป็นอย่างไร และการปรับใช้หลักความเสมอภาคตามบริบททางสังคมของต่างประเทศจะต้องไม่ขัดหรือแย้งต่อสาระสำคัญของหลักความเสมอภาค กรณีประเทศไทย หลักความเสมอภาคได้รับการบัญญัติไว้ที่มาตรา 30 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ทั้งฉบับพุทธศักราช 2540 และ 2550 เมื่อศึกษาคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญแล้วพบว่ามีคำวินิจฉัยที่ไม่ปรากฏการพิจารณาเปรียบเทียบสิ่งที่เป็นสาระสำคัญ กล่าวคือ ศาลได้ให้เหตุผลในแนวทางที่ว่าบทบัญญัติที่ถูกโต้แย้งนั้นใช้บังคับกับบุคคลที่อยู่ในสถานะหรือกลุ่มเดียวกันเป็นการทั่วไปและเท่าเทียมกัน จึงไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ โดยศาลไม่ได้พิจารณาและเปรียบเทียบสิ่งที่เป็นสาระสำคัญตามกฎหมาย จึงไม่สะท้อนว่าในที่สุดแล้วประชาชนได้รับความคุ้มครองที่เท่าเทียมกันตามกฎหมายหรือไม่ นอกจากนี้ยังปรากฏกรณีคำวินิจฉัยที่ไปกระทบต่อขอบเขตอำนาจขององค์กรนิติบัญญัติ การวินิจฉัยเกี่ยวกับสถานะของบุคคลโดยนำปัจจัยอื่นมาพิจารณาทำให้บุคคลที่อยู่ในสถานะเดียวกันได้รับการคุ้มครองที่ไม่เท่าเทียมกัน รวมถึงการสร้างบรรทัดฐานของคำวินิจฉัยเกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติที่ไม่ถือว่าขัดหรือแย้งต่อหลักความเสมอภาคด้วยเหตุผลของประโยชน์สาธารณะทางเศรษฐกิจ ข้อเสนอแนะของการวิจัยฉบับนี้ คือ การพิจารณาเปรียบเทียบสิ่งที่เป็นสาระสำคัญตามกฎหมายควรนำมาใช้ในทุกคดีให้สอดคล้องกับหลักสากล การพิจารณาวินิจฉัยเกี่ยวกับบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ไม่เข้าลักษณะเป็นบทบัญญัติที่ขัดหรือแย้งต่อหลักความเสมอภาคโดยตรง แต่เป็นข้อจำกัดทางกฎหมายด้านอื่น ศาลสามารถแสดงข้อพิจารณาเกี่ยวกับขอบเขตอำนาจขององค์กรนิติบัญญัติที่มีนัยเป็นข้อเสนอแนะว่าเป็นองค์กรที่สามารถแก้ไขกฎหมายที่ผู้ร้องโต้แย้งมาได้เพื่อให้เกิดการดำเนินการแก้ไขด้วยวิธีการทางนิติบัญญัติต่อไป และสุดท้าย คือ การกำหนดภาระการพิสูจน์แก่รัฐในประเด็นเกี่ยวกับประโยชน์สาธารณะเพื่อแสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งถึงการมีอยู่ของประโยชน์สาธารณะที่เป็นเหตุผลของการกำหนดมาตรการทางกฎหมายที่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่ขัดหรือแย้งต่อหลักความเสมอภาคen_US
dc.description.abstractalternativeThe principle of equality, as a general principle of constitutional law, ensures that people have equal opportunity or ability of exercise and protection of rights and liberties. The basis of the principle is to treat like alike. It indicates that the determination of the subject matter, same or different, is the important beginning to the end which shows if people are equally treated. According to the study of the international concept of the principle, every country, England, United States, France and Germany, has the same criterion and means of consideration. Especially, the European Union countries regard it as the human right. To consider the constitutionality of law concerning the principle of equality, the court and the constitutional council refer to the basis of the principle. The court examines the case by comparing appellant’s case with another comparable one. Then the result will be proved to reasonableness. Furthermore the method of decisions respects the field of the legislative competence. They limit themselves to consider only the reasonableness; they do not point to what the subject matter should be. To adapt the principle to the context of their societies, at last, will not violate the substantial of the principle. In Thailand, the principle of equality is written on the article 30 of the Constitution of the kingdom of Thailand B.E. 2540 and 2550. From the decisions of the Constitutional Court, they generally appeared the consideration and the comparison of subject matter of law. Some cases, however, didn’t follow that way. The court reasoned that the challenged law applied to people who were in the same status and group. So the law was compatible with the Constitution. The reasoning as stated didn’t show the result if people, between the appellant’s case and comparable one, have equal protection of law. The reasoning and the decision of the court, in addition, were found colliding with the field of legislative competence, examining the individual status by bringing other factors to justify equal right, and founding the precedence of the different treatment by reason of public interest concerning economic affair. The proposition of the research is firstly bringing to use the consideration and the comparison of subject matter of law in every case in accordance with the universal concept, secondly is obviously insisting on the field of the legislative competence in the decision implying that the Parliament could adopt new provisions and modify the challenged law, and lastly is to give the state organ burden of prove regarding public interest.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.545-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectความเสมอภาค -- ไทยth
dc.subjectสิทธิมนุษยชน -- ไทยth
dc.subjectสิทธิของพลเมือง -- ไทยth
dc.subjectการตัดสินth
dc.subjectศาลรัฐธรรมนูญ -- ไทยth
dc.subjectเสรีภาพth
dc.subjectEquality -- Thailanden_US
dc.subjectHuman rights -- Thailanden_US
dc.subjectCivil rights -- Thailanden_US
dc.subjectJudgmenten_US
dc.subjectConstitutional courts -- Thailanden_US
dc.subjectLibertyen_US
dc.titleหลักความเสมอภาคกับการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน: ศึกษากรณีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญen_US
dc.title.alternativeTHE PRINCIPLE OF EQUALITYAND THE PROTECTION OF RIGHTS AND LIBERTIES OF PEOPLE: A CASE STUDY ON DECISIONS OF THE CONSTITUTIONAL COURTen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorKriengkrai.C@Chula.ac.th,tham38@hotmail.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.545-
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5486013134.pdf4.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.