Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44670
Title: การประยุกต์ใช้แนวคิดการบำรุงรักษามุ่งความน่าเชื่อถือเป็นศูนย์กลางในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี
Other Titles: APPLYING RELIABILITY CENTERED MAINTENANCE CONCEPT TO PETROCHEMICAL INDUSTRY
Authors: พงศกร อัมพวันวงศ์
Advisors: ปารเมศ ชุติมา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Parames.C@Chula.ac.th,cparames@chula.ac.th
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ เพื่อลดจำนวนงานบำรุงรักษาเชิงป้องกัน โดยนำแนวคิดการบำรุงรักษามุ่งความน่าเชื่อถือเป็นศูนย์กลางมาประยุกต์ใช้ และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากงานวิจัยนี้คือ ลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาประจำปี และ เพิ่มเวลาในการทำงานให้กับเจ้าหน้าที่หน่วยงานบำรุงรักษา โดยปัญหาที่พบก่อนการปรับปรุงพบว่าในกลุ่มอุปกรณ์ไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้าลำดับชั้น C มีจำนวนงานบำรุงรักษาที่มากผิดปกติ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มงานอื่นๆ เช่น เครื่องมือวัดคุม เครื่องจักรกล และอุปกรณ์เครื่องกล ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมุ่งพิจารณาความเหมาะสมของรายการบำรุงรักษาเชิงป้องกันของกลุ่มอุปกรณ์ไฟฟ้า ลำดับชั้น C เท่านั้น โดยผ่านกระบวนการการบำรุงรักษามุ่งความน่าเชื่อสู่ศูนย์กลาง ระหว่างการทำวิจัยสาเหตุของปัญหาหลายด้านที่นอกเหนือจากความไม่เหมาะสมของงานบำรุงรักษาคือ ปัญหาเรื่องการกำหนดลำดับชั้นของอุปกรณ์ ในบางกลุ่มอุปกรณ์มีความไม่ถูกต้อง จึงเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้ปริมาณงานบำรุงรักษาเชิงป้องกันของอุปกรณ์ไฟฟ้าลำดับชั้น C มีค่าสูงผิดปกติ และงานบำรุงรักษาเชิงป้องกันบางรายการไม่สามารถดำเนินการได้จริง จึงส่งผลให้สิ้นเปลืองทรัพยากรณ์ต่างๆในการจัดจ้างแรงงาน และเตรียมอุปกรณ์สำรองต่างๆ ซึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพของงานบำรุงรักษาโดยตรง ซึ่งพบในระหว่างขั้นตอนการทำกระบวนการวิเคราะห์คุณลักษณะของความเสียหายและผลกระทบที่ตามมา หลังจากการปรับปรุงรายการบำรุงรักษาเชิงป้องกันโดยผ่านกระบวนการบำรุงรักษามุ่งความน่าเชื่อถือเป็นศูนย์กลาง ผลที่ได้รับคือ ปริมาณงานบำรุงรักษาเชิงป้องกันมีจำนวนลดลง 336 รายการ คิดเป็นลดลง 25.38% จากเดิมก่อนปรับปรุงมีจำนวนงานทั้งหมด 1,324 รายการ ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาลดลง 537,600 บาท/ปี จากค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาปีก่อนจำนวน 2,118,400 บาท/ปี เเละเพิ่มเวลาของเจ้าหน้าที่หน่วยงานบำรุงรักษาในการปฏิบัติงานฉุกเฉินต่างๆได้ 1,344 ชั่วโมง
Other Abstract: The objective of this research is to improve preventive maintenance (PM) plans by reliability centered maintenance (RCM) concept and the benefits of this research are decrease yearly maintenance cost and increase available time of maintenance staffs. According to the number of PM plans in electrical equipment class c is difference from the others group of equipment by the number of PM plans is too much. RCM is a well-known method in several industries which is a structure decision process to cost-effective determines and optimum maintenance requirements. Normally the concept of RCM is applied for equipment class A which is criticality to improve the mean time between failures. However, this case study shows that this concept is also applicable to equipment class C which is non criticality as well. Then this research is applying RCM concept to improve the PM plans in electrical equipment class C. During research the researcher found the other problem to affect the number of PM plans while review Failure mode and effects analysis (FMEA) process such as in some group, equipment class C is not correct. The results after applying RCM concept in electrical equipment class C shown the number of preventive maintenance plans and the number available time of maintenance staff are improved significantly. Such as the number of PM plans was reduce 336 items (25.38%) from 1,324 items the yearly maintenance cost was reduce 537,600 baht/year from 2,118,400 baht/year and the number available time of maintenance staffs increase 1,344 hrs.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44670
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5670936921.pdf4.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.