Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44703
Title: พฤติกรรมสุขภาพของชาวไทย
Other Titles: Health behaviors of Thai farmer
Authors: มนตรี จั่นมา
Advisors: ถนอมวงศ์ กฤษณ์เพ็ชร์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
Advisor's Email: tkritpet@yahoo.com
Subjects: พฤติกรรมสุขภาพ
เกษตรกร -- สุขภาพและอนามัย -- ไทย
Health behavior
Farmers -- Health and hygiene -- Thailand
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: พฤติกรรมสุขภาพของชาวนาไทย เป็นสิ่งที่สำคัญต่อการประกอบอาชีพของชาวนาในประเทศ การศึกษาข้อมูลพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ (1996) และ พฤติกรรมสุขภาพเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ มีความจำเป็นอย่างยิ่ง วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมสุขภาพของชาวนาไทย และเปรียบเทียบตามตัวแปร เพศ อายุ รายได้ ระยะเวลาการประกอบอาชีพ และประเภทของการทำนา วิธีดำเนินการวิจัย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่างเป็นชาวนา จำนวน 432 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multistage random sampling) โดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นและผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหา (IOC=0.73) และหาความเที่ยง (r=0.85) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างเพศ ประเภทของการปลูกข้าว โดยใช้ค่า ที (t-test) และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง รายได้และระยะเวลาการประกอบอาชีพ โดยใช้ค่า เอฟ (F-test) ผลการวิจัย พฤติกรรมสุขภาพของชาวนาไทยโดยรวมอยู่ที่ระดับปานกลาง แต่เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่อยู่ในระดับดี ได้แก่ ด้านความปลอดภัยจากการประกอบอาชีพ ด้านการพัฒนาทางจิตวิญญาณ และด้านโภชนาการ และพฤติกรรมสุขภาพด้านที่อยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ ด้านกิจกรรมทางกาย ด้านการจัดการความเครียด ด้านความรับผิดชอบต่อสุขภาพ ด้านสัมพันธภาพระหว่างบุคคล และด้านความมั่นคงของรายได้ ผลการเปรียบเทียบตามตัวแปรพฤติกรรมสุขภาพของชาวนาโดยรวมไม่แตกต่างกันทุกด้าน เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ชาวนาเพศชายและหญิง มีด้านกิจกรรมทางกาย และด้านโภชนาการ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนประเภทของการทำนาที่แตกต่างกัน พบว่า ด้านการจัดการความเครียด ด้านความปลอดภัยจากการประกอบอาชีพ และด้านความมั่นคงของรายได้ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ชาวนาที่มีอายุแตกต่างกัน พบว่า ด้านความรับผิดชอบต่อสุขภาพ ด้านกิจกรรมทางกาย ด้านโภชนาการ และด้านสัมพันธภาพระหว่างบุคคล มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และชาวนาที่มีระยะเวลาการประกอบอาชีพแตกต่างกัน พบว่า ด้านโภชนาการ และด้านการจัดการความเครียด มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 รวมถึงชาวนาที่มีรายได้ของครอบครัวแตกต่างกัน พบว่า ด้านกิจกรรมทางกาย ด้านการพัฒนาทางจิตวิญญาณ และด้านความปลอดภัยในการประกอบอาชีพ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปผลการวิจัย พฤติกรรมสุขภาพของชาวนาโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมสุขภาพของชาวนาไทยตามตัวแปร เพศ อายุ รายได้ ระยะเวลาการประกอบอาชีพ และประเภทของการทำนา โดยรวมไม่มีความแตกต่างกัน
Other Abstract: Health behaviors of Thai farmer are matter to farmer’s occupation, therefore studying Health behaviors’ Pender (1996) and Occupation health behaviors is necessary. Objectives were to study health behaviors of Thai farmer and compare with variables; gender, age, income, period of occupation, and type of farming. Methods this research was descriptive research. The sample was 432 farmers from random sampling, used the questionnaire that was constructed by the researcher and checked for an index of item objective congruence (IOC = 0.73) and reliability (r = 0.85), analyzed the information with percentage, and standard deviation average, compare the difference of gender and type of farming with t-test and compare the difference of income and period of occupation with F-test. Result: Overall of health behaviors of Thai farmer were at a moderate level but it was at good level in each aspect such as the safety on the job, the spiritual development, nutrition. Health behaviors at fair level were physical activities, stress management, health responsibility and statistically significant difference at level .05 in health responsibility, physical activities, nutrition, interpersonal relation and stability of income. The comparison of overall health behaviors of Thai farmer by variables was not all different. But, males and females were statistically significant difference at level .05 in physical activities and nutrition. The different type of farming found that was statistically significant difference at level .05 in stress management, safety on the job, and stability of income. Farmers who are different age found that were statistically significant difference at level .05 in health responsibility, physical activities, nutrition, and interpersonal relation. Farmers who have different period occupation found that were statistically significant difference at level .05 in nutrition and stress management. Moreover, the different of income’s farmers found that were statistically significant difference at level .05 in physical activities, spiritual development and safety on the job. Conclusion: Overall of Health behaviors of Thai farmer are at a moderate level and not different when compare with gender, age, income, and a period of occupation.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การกีฬา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44703
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.591
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.591
Type: Thesis
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
montree_ju.pdf4.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.