Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44709
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธีระพงษ์ ตัณฑวิเชียร-
dc.contributor.advisorสุดา สีบุญเรือง-
dc.contributor.authorอรพิน เลิศวรรณวิทย์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2015-08-22T07:24:19Z-
dc.date.available2015-08-22T07:24:19Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44709-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555en_US
dc.description.abstractความสำคัญและที่มา : ยากลุ่มสเตียรอยด์มีการใช้ในการรักษาโรคต่างๆ มากขึ้นในปัจจุบัน มีรายงานก่อนหน้านี้ถึงผลของยา กลุ่มสเตียรอยด์ต่อความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อระดับภูมิคุ้มกันที่จะเกิดขึ้นภายหลังได้รับวัคซีน แต่ข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพของวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในผู้ป่วยได้รับยาสเตียรอยด์นั้นยังมีข้อมูลจำกัด จึงควรมีการศึกษาถึงประสิทธิภาพของวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยากลุ่มสเตียรอยด์ วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาสัดส่วนผู้ที่มีระดับของภูมิคุ้มกันขึ้นถึงระดับที่มากกว่าหรือเท่ากับ 0.5 ยูนิตต่อมิลลิลิตร ในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยากลุ่มสเตียรอยด์ซึ่งได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าแบบหลังสัมผัสโรค ระเบียบวิธีวิจัย : ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยากลุ่มสเตียรอยด์ในขนาดเทียบเท่าหรือมากกว่าเพรดนิโซโลน 20 มิลลิกรัมต่อวันเป็นเวลาอย่างน้อย 21 วันหรือได้รับยาสเตียรอยด์ในขนาดสะสมเทียบเท่าหรือมากกว่าเพรดนิโซโลน 700 มิลลิกรัมและกำลังรับประทานอยู่ 10 มิลลิกรัมต่อวัน จำนวน 17 คนมาทำการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าโดยฉีดเข้าในผิวหนัง 2 จุด จุดละ 0.1 มิลลิลิตรในวันแรก วันที่ 3 วันที่ 7 และในวันที่ 28 และทำการเก็บตัวอย่างเลือดเพื่อส่งตรวจวัดระดับของภูมิคุ้มกันในวันแรก, วันที่ 14 และวันที่ 90 ผลการวิจัย : พบว่าผู้ป่วย 1 คนมีภูมิคุ้มกันอยู่แล้ว จึงถูกคัดออก เหลือผู้ป่วยที่เข้าร่วมการศึกษา 16 คน โดยพบว่าผู้ป่วยร้อยละ 81 ( 13 คน จาก 16 คน ) มีระดับภูมิคุ้มกันถึงระดับที่สามารถป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าได้ในวันที่ 14 โดยมีระดับของค่าเฉลี่ยของระดับภูมิคุ้มกัน (GMTs) เท่ากับ 2.63 ยูนิตต่อมิลลิลิตรโดยมีค่าอยู่ในช่วงตั้งแต่ 0.34-21.95 ยูนิตต่อมิลลิลิตร และพบว่าผู้ป่วยร้อยละ86 ( 13 คน จาก 15 คน) มีระดับภูมิคุ้มกันถึงระดับที่สามารถป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าได้ในวันที่ 90 โดยมีระดับของค่าเฉลี่ยของระดับภูมิคุ้มกัน (GMTs) เท่ากับ 2.30 ยูนิตต่อมิลลิลิตร โดยมีค่าอยู่ในช่วงตั้งแต่ 0.28-22.63 ยูนิตต่อมิลลิลิตร โดยพบความสัมพันธ์ระหว่างโรคประจำตัวในกลุ่มโรคผิวหนังและระยะเวลาในการรับประทานยาสเตียรอยด์ที่มากกว่า 1 ปีในกลุ่มที่มีระดับ Neutralizing antibody (Nab.) น้อยกว่า 0.5 IU/ml ในวันที่ 14 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ยังพบความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณยาสเตียรอยด์ที่ได้รับสะสมกับปริมาณขณะเข้าร่วมโครงการต่อระดับภูมิคุ้มกันวัคซีนโดยพบว่ามีความสัมพันธ์ผกผันกัน จากการศึกษานี้ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่าง อายุ โรคประจำตัว ยาที่รับประทานร่วมด้วย และไม่พบผลแทรกซ้อนที่รุนแรงของการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในผู้ป่วยที่ได้การรักษาด้วยยากลุ่มสเตียรอยด์en_US
dc.description.abstractalternativeObjective : to study the response of post-exposure rabies intradermal vaccination in patients who take steroid medication. Method : The non-controlled clinical trial was carried out in 17 patients who take steroid medication. All participants received Modified Thai Red Cross post-exposure rabies vaccination . Rabies neutralizing antibody (Nab.) titers were determined by the rapid fluorescent focus inhibition test on day 0, 14 and 90. Result : One from seventeen patients who already had significant Nab. titer at day 0 was excluded. The response rate was defined by the proportion of the patients who had protective antibody titer greater than 0.5 IU/ml at day 14 .Thirteen from sixteen patients developed protective antibody titer above 0.5 IU/ml. The response rate 81% and mean Nab titer (GMTs) was 2.63 IU/ml (range 0.34-21.95 IU/ml) at day 14 . Thirteen from fifteen patients developed protective antibody titer above 0.5 IU/ml. The response rate 86% and mean Nab. titer (GMTs) was 2.30 IU/ml (range 0.28-22.63 IU/ml) at day 90. The correlation between antibody level day 14 and patient characteristics were underlying disease (skin disease) and duration of steroid medication more than 1 year. Dose of steroid had an inverse correlation with level of Nab. in day 14 and day 90. No serious adverse reactions had been reported during the experiment. Conclusion : Patients who take steroid medication reduce protective immunological response after intradermal post-exposure rabies vaccine at day 14 post-immunization.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2012.596-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectโรคกลัวน้ำ -- การฉีดวัคซีนen_US
dc.subjectสเตียรอยด์en_US
dc.subjectการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันen_US
dc.subjectRabies -- Vaccinationen_US
dc.subjectSteroidsen_US
dc.subjectImmune responseen_US
dc.titleการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันต่อการได้รับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในอาสาสมัครที่ได้รับยา สเตียรอยด์en_US
dc.title.alternativeImmune response to rabies vaccination in volunteers who take steroid medicationen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineอายุรศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorterapong_tantawichien@hotmail.com-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2012.596-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
orapin_le.pdf3.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.