Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44796
Title: | กิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจกับการรับรู้เกี่ยวกับองค์กรและตราสินค้าของผู้บริโภค |
Other Titles: | Corporate social responsibility activities of business sector and consumers’ perception on corporate and brand |
Authors: | ลลิลทิพย์ พัฒนสาร |
Advisors: | พนม คลี่ฉายา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | Phnom.K@Chula.ac.th |
Subjects: | ภาพลักษณ์องค์การ พฤติกรรมผู้บริโภค ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การธุรกิจ การสร้างชื่อตราผลิตภัณฑ์ Corporate image Consumer behavior Social responsibility of business Branding (Marketing) |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อสำรวจการรับรู้กิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม การรู้จักองค์กร ภาพลักษณ์องค์กร การรับรู้ตราสินค้าและความตั้งใจซื้อของผู้บริโภค 2) เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้กิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจกับการรู้จักและภาพลักษณ์องค์กร 3) เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้กิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจกับการรับรู้ตราสินค้าและความตั้งใจซื้อ การวิจัยในครั้งนี้ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป อาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้กิจกรรรมความรับผิดชอบต่อสังคม โดยรวมอยู่ในระดับปานกลางทั้งนี้ “โครงการสำนึกรักบ้านเกิด” “โครงการ 1 ล้านกล้าถวายพ่อ” และ “โครงการเอสซีจี รักษ์น้ำ เพื่ออนาคต” มีการรับรู้ในระดับสูง 2. กลุ่มตัวอย่างรู้จักองค์กรที่ดำเนินกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจ ในระดับปานกลางและมีการรับรู้ภาพลักษณ์องค์กร ในระดับปานกลาง 3. กลุ่มตัวอย่างรับรู้ตราสินค้าที่ดำเนินกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจ ในระดับปานกลาง และมีความตั้งใจซื้อต่อตราสินค้าที่ดำเนินกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรในระดับสูง การทดสอบสมมติฐานสรุปได้ดังนี้ 1.1 การรับรู้กิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจมีความสัมพันธ์กับการรู้จักองค์กรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 1.2 การรับรู้กิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจมีความสัมพันธ์กับภาพลักษณ์องค์กร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 1.3 การรับรู้กิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจมีความสัมพันธ์กับการรับรู้ตราสินค้า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 1.4 การรับรู้กิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจมีความสัมพันธ์กับความตั้งใจซื้ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 |
Other Abstract: | The objectives of this study are (1) to explore customers’ perception of the corporate social responsibility activities, corporate and brand awareness, corporate image and intention to buy, (2) to explain the correlation between the customers’ perception of the corporate social responsibility activities and the corporate awareness and image, (3) to explain the correlation between the corporate social responsibility activities and brand awareness and intention to buy. This study employs quantitative methods. The 400 samples are Bangkok residents whose age 18 years old or above. The results of the study indicate that: (1), the sample perceived the corporate social responsibility activities as moderate level but particularly high in “Rakbankerd Project”, “Million trees for King Project” and “SCG Conserving water for tomorrow Project”. (2),the sample have moderate level on the corporate awareness and image (3) the corporate social responsibility activities awareness are moderately and highly with brand awareness and intention to buy. (4) Hypothesis testing reviews that: 4.1) the perception level of corporate social responsibility activities has correlates with corporate awareness statistically significant at the .01 level. 4.2) the perception level of corporate social responsibility activities has correlates with corporate image statistically significant at the .01 level. 4.3) the perception level of corporate social responsibility activities has correlates with brand awareness statistically significant at the .01 level. 4.4) the perception level of corporate social responsibility activities awareness has correlates with their intention to buy for the organizations’ products statistically significant at the .01 level. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิเทศศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44796 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1626 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2012.1626 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
lalinthip_ph.pdf | 1.29 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.