Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44859
Title: | ลักษณะเฉพาะทางสัณฐานและพฤติกรรมการผสมพันธุ์ของนกแว่นสีเทา Polyplectron bicalcaratum Linnaeus, 1758 ในสภาพกรงเลี้ยง |
Other Titles: | Morphological characteristics and breeding behavior of grey peocock pheasant Polyplectron bicalcaratum Linnaeus, 1758 in captivity |
Authors: | ธนพล วงษ์สวัสดิ์ |
Advisors: | วีณา เมฆวิชัย |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Advisor's Email: | Wina.M@Chula.ac.th |
Subjects: | นกแว่นสีเทา การผสมเชื้อ สัตว์วงศ์ไก่ฟ้าและนกกระทา Phasianidae Fertilization (Biology) |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาในครั้งนี้มุ่งเน้นศึกษาลักษณะเฉพาะทางสัณฐานเชิงบรรยายและมอร์โฟเมตรีของนกแว่นสีเทาตั้งแต่ฟักออกจากไข่ถึงโตเต็มวัย และพฤติกรรมการผสมพันธุ์ของนกแว่นสีเทาโตเต็มวัยในสภาพกรงเลี้ยง ผลการศึกษาทางด้านลักษณะเฉพาะทางสัณฐานเชิงบรรยายพบว่า ขนปีกเริ่มพัฒนาเมื่ออายุ 1 สัปดาห์ ขนคลุมปีกพัฒนาในสัปดาห์ที่ 2 - 3 การผลัดขนครั้งที่ 1, 2 และ 3 เกิดขึ้นในสัปดาห์ที่ 3, 10 และ17 ตามลำดับ เพศผู้และเพศเมียเริ่มมีความแตกต่างกันชัดเจนเมื่ออายุ 20 สัปดาห์โดยสังเกตจากลักษณะของแววมยุราบนขนคลุมโคนปีกชั้นล่างและชั้นกลาง นอกจากนี้การปรากฏของขนหงอนและเดือย, ลักษณะของแววมยุราบนขนคลุมหางและสีของจะงอยปาก, สีม่านตาและสีหนังรอบตา, และลักษณะของแววมยุราบนขนคลุมปีกและขนหาง ยังสามารถใช้ในการจำแนกเพศได้เมื่ออายุ 6, 7, 8 และ 18 เดือนตามลำดับ เพศเมียจะโตเต็มวัยเมื่ออายุ 1 ปีในขณะที่เพศผู้จะเริ่มมีการผลัดครั้งที่ 4 เมื่ออายุ 1 ปี 3 เดือนและจากนั้นจะโตเต็มวัยเมื่ออายุ 2 ปี ผลการศึกษาทางด้านมอร์โฟเมตรีพบว่า เริ่มจำแนกเพศได้ตั้งแต่อายุ 6 สัปดาห์โดยดูจากความยาวแข้ง โดยเพศผู้จะมีค่ามอร์โฟเมตรีมากกว่าเพศเมียในทุกลักษณะ อัตราการเติบโตของเพศผู้จะคงที่ช้ากว่าเพศเมีย และสามารถสร้างสมการทำนายอายุจากข้อมูลมอร์โฟเมตรีโดยใช้แบบจำลองกอมเพอร์ซซึ่งสามารถใช้ทำนายอายุได้ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงช่วงก่อนที่อัตราการเติบโตคงที่ ผลการศึกษาทางด้านพฤติกรรมการผสมพันธุ์พบว่าการเกี้ยวพาราสีเริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงเดือนมิถุนายน มีความถี่สูงสุดในเดือนมีนาคม และมีการเกี้ยวพาราสีตั้งแต่เวลา 6.00 - 18.00 น. มีความถี่สูงสุดในช่วงเวลา 13.00 - 14.00 น. การเกี้ยวพาราสีแบ่งเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบที่ 1 คือ frontal display และรูปแบบที่ 2 คือ lateral display โดยการเกี้ยวพาราสีส่วนใหญ่จะเป็นรูปแบบที่ 1 มากกว่ารูปแบบที่ 2 และอาจพบพฤติกรรม courtship feeding เกิดขึ้นเป็นบางครั้ง การผสมพันธุ์เกิดขึ้นตั้งแต่เดือนมกราคม แต่มีความถี่สูงสุดในเดือนมีนาคม โดยที่การผสมพันธุ์จะไม่เกิดขึ้นต่อเนื่องจากการเกี้ยวพาราสี มีการวางไข่ครั้งแรกเดือนมกราคมเป็นต้นไปจนถึงครั้งสุดท้ายในเดือนมิถุนายน เดือนที่มีการวางไข่มากที่สุดคือเดือนเมษายน ไข่ที่ฟักเป็นตัวครั้งแรกคือไข่ที่วางในเดือนกุมภาพันธ์ ไข่ที่วางในเดือนเมษายนเป็นไข่ที่ฟักเป็นตัวได้มากที่สุด เมื่อมีการเก็บไข่ออกไปฟักโดยตู้ฟักไข่อัตโนมัติ แม่นกแว่นสีเทาสามารถวางไข่ทดแทนได้หลายครอกเฉลี่ยประมาณ 3 ครอก ระยะห่างระหว่างครอกประมาณ 18 วัน มีจำนวนไข่ต่อครอกประมาณ 1 - 2 ฟอง ช่วงเวลาในการวางไข่คือช่วงเวลาเย็นประมาณ 16.00 - 18.00 น. โดยตำแหน่งที่วางไข่คือตรงมุมกรงด้านใน ไม่พบพฤติกรรมการทำรัง และระยะเวลาในการฟักไข่ 22 วัน |
Other Abstract: | The aimed of this study was to investigate descriptive morphological characteristics and morphometry from hatching until adult and breeding behaviors in adult of Polyplectron bicalcaratum in captivity started from January 2010 to April 2011. Result of descriptive morphological characteristics studied was that wing feather started to emerge from feather sheet in the first week whilst wing covert and tail started to develop between the second and third weeks. First, second and third molt occurred in the third, tenth and seventeenth week, respectively. The sexual dimorphism started at twenty weeks old by characteristics of ocelli at greater and median secondary wing covert. In addition, crest and spur in males appeared at six months. Furthermore, bill color and ocelli at upper tail covert, iris color and orbital skin color, ocelli at back and wing, and ocelli at upper tail covert and tail occurred at seven, eight, fifteen and eighteen months, respectively. Female became adults at the age of one year whereas male took two years to become adults so male had a fourth molt at the fifteenth month. Result of morphometry study was that the sex determination stated from six weeks by tarsus length and male has higher morphometry values than female in all characteristics. Male growth rate were stable before female in all characteristics. Furthermore, the age predictable equation could be created by Gomperzt model which can be used to predict the age range from hatching to growth rate stable. Result of breeding behaviors studied was that courtship behavior consisted of frontal display and lateral display, began in October with highest frequency in March. Male always performed courtship behavior in daytime, and often in 1.00 - 2.00 pm. Courtship feeding behavior was sometime occurred before frontal display. Copulation behavior began in January with highest frequency in March. Pattern of copulation behavior is not continuous with courtship behavior. Female laid eggs 3 clutches per breeding season, 18 days between clutches and 1 - 2 eggs per clutches. First egg was laid in January until last egg in June with highest frequency in April. The first hatching egg was laid in February and the highest frequency of hatching eggs was eggs laid in April. Female always laid eggs at the rear corner of cage and nesting behavior was not found. Incubation period is 22 days. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สัตววิทยา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44859 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1694 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2012.1694 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
thanapol_wo.pdf | 21.46 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.