Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44900
Title: | ฟิล์มคอมโพสิทย่อยสลายได้จากอัลจิเนตและเมล็ดขนุนที่มีฤทธิ์ยับยั้งจุลินทรีย์ |
Other Titles: | Biodegradable composite film from alginate-jack fruit seed with antimicrobial activity |
Authors: | กานติมา จันทราพันธุ์ |
Advisors: | ชุติมณฑน์ สถิรพิพัฒน์กุล ธนาภัทร ปาลกะ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Chutimon.S@Chula.ac.th Tanapat.P@Chula.ac.th |
Subjects: | จุลินทรีย์ ขนุน -- เมล็ด สารต้านแบคทีเรีย Microorganisms Jackfruit -- Seeds Antibacterial agents |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรียของสารสกัดด้วยตัวทำละลายเมทานอล ไดคลอโรมีเทน และเฮกเซนของสมอพิเภกและใบจากต่อทั้งแบคทีเรียแกรมบวก (B. subtilis และ S. aureus) และแบคทีเรียแกรมลบ) E. coli) ได้ทำการทดสอบด้วยวิธี Disc diffusion method และ broth dilution assay ผลการศึกษาพบว่า สารสกัดจากตัวทำละลายเมทานอลแสดงฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรียได้สูงสุดต่อสายพันธุ์ที่นำมาทดสอบ ขนาดวงใสเฉลี่ยของการยับยั้งของสารสกัดสมอพิเภกมีค่าตั้งแต่ 7.06 ถึง 23.00 มิลลิเมตร ในขณะที่ค่าที่ได้จากสารสกัดใบจากมีค่าตั้งแต่ 7.50 ถึง 21.60 มิลลิเมตร ค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดสมอพิเภกและสารสกัดใบจากมีค่าตั้งแต่ 0.16 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ถึง 0.31 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร สารสกัดทั้งหมดแสดงความไม่เป็นพิษต่อเซลล์ปอด (WI-38) เมื่อวัดด้วยวิธี MTT assay ฟิล์มย่อยสลายได้ทางชีวภาพเตรียมได้จากอัลจิเนตและแป้งดิบขนุน จากการศึกษา พบว่า อัตราส่วนของอัลจิเนต/แป้งดิบขนุน ความเข้มข้นของกลีเซอรอลส่งผลต่อสมบัติเชิงกล และการละลายน้ำ โดยฟิล์มต้านจุลินทรีย์ที่เตรียมจากอัลจิเนตร้อยละ 60 แป้งดิบขนุน ร้อยละ 40 โดยน้ำหนักต่อปริมาตร และกลีเซอรอลร้อยละ 10 โดยน้ำหนักต่อน้ำหนักสารละลายฟิล์ม ได้นำไปศึกษาในขั้นต่อไป สารสกัดสมอพิเภกและใบจาก ได้ถูกนำมาใส่ในฟิล์ม ทำหน้าที่สารต้านจุลินทรีย์ที่ได้จากธรรมชาติ การเพิ่มความเข้มข้นของสารสกัดทำให้ลดค่าต้านทานแรงดึงขาด และเพิ่มค่าความสามารถการยืดตัว การละลายและอัตราการซึมผ่านออกซิเจน ฟิล์มต้านจุลินทรีย์แสดงฤทธิ์ยับยั้งจุลินทรีย์ได้ทั้งแบคทีเรียแกรมบวกและแบคทีเรียแกรมลมโดยใช้วิธี Disc diffusion method แบคทีเรียแกรมลบมีความทนทานต่อฟิล์มมากกว่าแบคทีเรียแกรมบวก ขนาดวงใสเฉลี่ยของการยับยั้งของฟิล์มที่มีสารสกัดสมอพิเภกมีค่าตั้งแต่ 8.36 ถึง 12.63 มิลลิเมตร ในขณะที่ค่าที่ได้จากฟิล์มที่มีสารสกัดใบจากมีค่าตั้งแต่ 7.43 ถึง 11.86 มิลลิเมตร ฟิล์มที่มีสารสกัดสมอพิเภกร้อยละ 15 มีฤทธิ์ยับยั้งจุลินทรีย์สูงสุด สมบัติของฟิล์มอัลจิเนต/แป้งดิบขนุนที่มีสารสกัดสมอพิเภกร้อยละ 15 มีความหนา, ค่าต้านทานแรงดึงขาด, ค่าความสามารถการยืดตัว, อัตราการซึมผ่านไอน้ำ และอัตราการซึมผ่านออกซิเจน เป็น 0.30 มิลลิเมตร, 22.67 เมกะปาสคาล, 57.79 เปอร์เซ็นต์, 1858 ± 13 กรัม/ตารางเมตร/วัน และ 15.25 ± 0.2 ลูกบาศก์เซนติเมตร/ตารางเมตร/วัน ตามลำดับ |
Other Abstract: | The antibacterial activities of methanol, dichrolometane and hexane extracts of Terminalia bellerica Roxb (TB) and Nypa fruticans Wurmb (NF) against both gram-positive bacteria (Bacillus subtilis and Staphylococcus aureus) and gram-negative bacteria (Escherichia coli) were determined by Disc diffusion method and the broth dilution assay. The results showed that the methanolic extracts displayed the highest activity against all the tested strains. Gram-negative bacteria strain was generally more resistant to the tested extracts than Gram-positive strains. The average clear zone of the inhibition of TB extract ranged from 7.06 to 23.00 mm, whereas the values of NF extract ranged from 7.50 to 21.60 mm. The minimum bactericidal concentration (MIC) of TB and NF extracts was ranged from 0.16 mg/ml to 0.31 mg/L. All extracts were shown non cytotoxicity to human lung fibroblast cell line (WI-38) as determined by MTT assay. Biodegradable films were prepared from a mixture of alginate and jackfruit flour. The study showed that alginate/jackfruit flour ratio and glycerol concentration affected on mechanical properties and solubility. The antimicrobial film prepared from alginate 60%, jackfruit flour 40% and glycerol 10% (w/weight of film solution) was selected to further study. The TB and NF extracts were incorporated in the films to act as natural antimicrobial agent. Increasing concentration of the extract provided decrease of tensile strength and increase of elongation at break, solubility and OTR. The films exhibited antimicrobial activities against both gram-positive bacteria and gram-negative bacteria by using agar diffusion assay method. Gram-negative bacteria strain was more resistant to the films than Gram-positive strains. The average clear zone of the inhibition of antimicrobial TB extracts film ranged from 8.36 to 12.63 mm, whereas the values of NF extract films ranged from 7.43 to 11.86 mm. The film with 15% of the TB extract showed the highest antimicrobial activity. The properties of alginate/jackfruit flour film with 15% of the TB extract, the thickness, tensile strength, elongation, WVTR and OTR were 0.30 mm, 22.67 MPa, 57.79 %, 1853 ± 13 g/m2/day, and 15.25 ± 0.2 cm3/m2/day, respectively. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมเคมี |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44900 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1683 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2012.1683 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
kantima_ju.pdf | 3.27 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.