Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44934
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจีรบุณย์ ทัศนบรรจง-
dc.contributor.authorภูร นิมมล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.date.accessioned2015-09-03T08:30:08Z-
dc.date.available2015-09-03T08:30:08Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44934-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ทำความเข้าใจลักษณะ การสร้างพื้นที่และเวลาในภาพยนตร์ของ เฮอ จิน-โฮ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้กระบวนการ Textual Analysis ในการวิเคราะห์ตัวบท ตีความจากการชมภาพยนตร์ทั้ง 6 เรื่องของ เฮอ จิน-โฮ เพื่อทำความเข้าใจความสอดคล้องระหว่างโครงสร้างการเล่าเรื่องในภาพยนตร์ กับ ลักษณะการสร้างพื้นที่ทางกายภาพและเวลาจริง ประกอบกับ การสร้างพื้นที่และเวลาทางจิตวิทยาในภาพยนตร์ของ เฮอ จิน-โฮ ผลการวิจัยพบว่า 1) การสร้างพื้นที่ทางกายภาพและเวลาจริงของภาพ เป็นการวิเคราะห์อย่างควบคู่กัน เพราะไม่สามารถแยกสิ่งหนึ่งสิ่งใดออกจากกันได้อย่างชัดเจน เนื่องจากแต่ละช็อตของภาพยนตร์บรรจุทั้ง “พื้นที่” ซึ่งหมายถึงสภาพแวดล้อมทั้งหมดที่ปรากฏในภาพ และ “เวลา” ที่บ่งบอกถึงช่วงเวลาที่เกิดเหตุการณ์ หรือ ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงสิ้นสุดช็อต การที่ภาพบรรจุทั้งพื้นที่และเวลาไว้พร้อมกันอย่างแยกจากกันไม่ได้ การวิเคราะห์ลักษณะของภาพจึงต้องเป็นไปในลักษณะของการพิจารณาถึง การทำงานที่สอดผสานกันระหว่าง การควบคุมพื้นที่ทั้งหมดในเฟรมภาพและการควบคุมช่วงเวลาในแต่ละช็อต จึงกล่าวได้ว่าพื้นที่และเวลามีความเกี่ยวเนื่องกันผ่าน “การเคลื่อนไหว” (movement) ทั้งหมดที่เกิดขึ้นภายในเฟรมภาพ และ มีลักษณะโต้ตอบกับสายตาของผู้ชมจึงเกิดเป็นการรับรู้เพื่อประมวลผลในความคิด 2) การสร้างพื้นที่และเวลาทางจิตวิทยาการรับรู้ เกิดจากการควบคุมการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นทั้งหมดในภาพที่ส่งผลกระทบต่อการรับรู้ทางสายตาของผู้ชม เกี่ยวกับการควบคุมการเคลื่อนไหวให้เสมือนเป็นช่วงหยุดนิ่งของเฟรมภาพ หรือ เกิดเป็นการเคลื่อนไหวที่เล็กน้อยที่สุดเพื่อไม่กระตุ้นสายตา แต่ยังสามารถรับรู้ได้ถึงการเคลื่อนไหวบางเบานั้นซึ่งบ่งบอกถึงเวลาอ้อยอิ่งที่บรรจุอยู่ในภาพ การควบคุมปริมาณข้อมูลภายในภาพลักษณะนี้ เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวโดยไม่โน้มนำสายตาและความคิดของผู้ชม เป็นลักษณะเฉพาะตัวของ เฮอ จิน-โฮen_US
dc.description.abstractalternativeThis research aims at analyzing space and time construction in Hur Jin-ho’s films. This is a qualitative research, using textual analysis of 6 films made by Hur Jin-ho, which help me to define how he made a construction of space and time suitable to the structure of storytelling. By determine the relationship between psychical space / time in frame and space and time that perceive by perception of the audience. The results of the findings are as follows. 1) The Construction of psychical space and time can be defined by made it at one. Because the movie image include a “space”, in terms of a location and all space put in front of the camera, and “time”, in terms of a duration in one shot, together they make an illusion of movement perceived by the audience’s eyes. The visual perception of the audience when seeing the image or text can be transformed and make the audience understand a subtext inherent in the image. This process is called “screen and mind interact”. 2) Space and time as perceived by audience’s perception could make by the image which no motivate or persuade movement camera. That image is called “Offer” gives a free view to the audience to choose where they want to focus their attention on. An audience can perceive plenty of messages from “Offer image” and determine to find result or to put themselves into main character for understand their deeper action. By the less movement that appear in a space of image will make the sense of time duration. So the unique way to control a movement in the image, that include a number of messages for telling story in a movie, tell us about how unique director Hur Jin-ho is.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1712-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectเฮอ, จิน-โฮen_US
dc.subjectภาพยนตร์ -- ประวัติและวิจารณ์en_US
dc.subjectHur, Jin-hoen_US
dc.subjectMotion pictures -- History and criticismen_US
dc.titleการสร้างพื้นที่และเวลาในภาพยนตร์ของ เฮอ จิน-โฮen_US
dc.title.alternativeSpace and time construction in Hur Jin-ho's filmsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการภาพยนตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorCheeraboonya.T@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2012.1712-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pur_ni.pdf10.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.