Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44999
Title: การบริหารจัดการเพื่อเตรียมการป้องกันอุทกภัยของโครงการหมู่บ้านจัดสรร ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
Other Titles: Management to provide flood protection of housing projects in Bangkok and its vicinity
Authors: ยูถิกา ภัทรอัมพุช
Advisors: ไตรวัฒน์ วิรยศิริ
อวยชัย วุฒิโฆสิต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: vtraiwat@chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: บ้านจัดสรร -- ไทย -- กรุงเทพฯ
การป้องกันความเสียหายจากอุทกภัย -- ไทย -- กรุงเทพฯ
การป้องกันน้ำท่วม -- ไทย -- กรุงเทพฯ
Flood damage prevention -- Thailand -- Bangkok
Flood control -- Thailand -- Bangkok
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: อุทกภัยเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่สามารถหาวิธีป้องกันหรือวิธีลดความรุนแรงและบรรเทาผลกระทบและความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นได้ ในปลายปี พ.ศ. 2554 ได้เกิดมหาอุทกภัยทางภาคกลางตอนบนของประเทศไทย ส่งผลให้เกิดวิกฤตน้ำท่วมในหลายจังหวัด รวมถึงพื้นที่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล หลังจากปี พ.ศ. 2485 กรุงเทพมหานครเคยประสบอุทกภัยครั้งใหญ่มาแล้วครั้งหนึ่ง ซึ่งมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของประชาชน โดยประชาชนต้องอาศัยการปรับตัวให้เข้ากับวิกฤตน้ำท่วม ปัจจุบันกรุงเทพมหานครมีประชากรเพิ่มมากขึ้น และสิ่งปลูกสร้างมีลักษณะเป็นหมู่บ้านจัดสรรเพิ่มมากขึ้น จากการเกิดอุทกภัยปี พ.ศ. 2554 ผู้บริหารและผู้จัดการโครงการจึงมีหน้าที่ดำเนินการเตรียมการป้องกันอุทกภัยในโครงการหมู่บ้านจัดสรร ให้ประชาชนสามารถอาศัยอยู่ในบ้านได้อย่างปกติในช่วงเกิดอุทกภัย ซึ่งเป็นการบริหารจัดการที่สำคัญของผู้บริหารและผู้จัดการโครงการ ที่จะต้องจัดเตรียมการวางแผนและป้องกันอย่างเหมาะสม ดังนั้นผู้บริหารและผู้จัดการโครงการจำเป็นต้องดำเนินการเตรียมการป้องกันอุทกภัยหลายประการ เพื่อรองรับอุทกภัยที่จะเกิดขึ้น การบริหารจัดการเพื่อเตรียมการป้องกันอุทกภัยของโครงการหมู่บ้านจัดสรร มีรายละเอียดของการเตรียมการป้องกันอุทกภัย จากแนวทางของกรณีศึกษาจากกลุ่มหมู่บ้านตัวอย่าง ซึ่งประกอบด้วยมาตรการบริหารจัดการป้องกันอุทกภัยในหมู่บ้านจัดสรร แนวทางการป้องกันอุทกภัยก่อนน้ำท่วมและระหว่างน้ำท่วม กระบวนการวางแผน และการจัดหาวัสดุอุปกรณ์และวิธีการที่เตรียมไว้ใช้ในกรณีเกิดอุทกภัย รวมถึงเสนอแนะแนวทางการแก้ปัญหาการเกิดอุทกภัยในโครงการหมู่บ้านจัดสรร อันนำมาซึ่งผลการศึกษาทำให้ใช้เป็นแนวทางในการป้องกันหรือบรรเทาผลกระทบจากการเกิดอุทกภัยในอนาคตได้
Other Abstract: Though floods are an unavoidable natural phenomenon, there are many ways we can prepare in order to protect against or reduce the damage that flooding can cause. Towards the end of 2011, many provinces in the upper central part of Thailand, including Bangkok and vicinity, were faced with significant flooding. In 1942, Bangkok was hit by a severe flood, affecting many people’s daily lives as they were forced to deal with the crisis. Now due to the increasing number of residents and housing projects in Bangkok, project managers and executives should also take measures to protect against flooding in addition to those of the government. To do so, these executives and the project managers must be well-equipped with the necessary information and knowledge regarding flood protection. To determine the best way to manage housing projects during a flood crisis, a case study of a sample housing estate was conducted. The study includes the planning process, effective ways to prevent flooding both before and during a crisis, the necessary tools for flood prevention together with the appropriate ways to use them as well as a variety of different approaches for tackling flooding. It is hoped that the findings of the present study will offer guidelines about how to protect against and mitigate the impact of floods which are likely to occur in the future.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44999
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.49
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.49
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Utika_pa.pdf6.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.