Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45027
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสมนพร บุณยะรัตเวช สองเมือง-
dc.contributor.advisorศริญญา ภูวนันท์-
dc.contributor.authorธิดา ยิ่งชูตระกูล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2015-09-07T03:22:00Z-
dc.date.available2015-09-07T03:22:00Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45027-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.) --จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555en_US
dc.description.abstractที่มา โรครูรั่วผนังกั้นหัวใจห้องบน เป็นความผิดปกติของหัวใจแต่กำเนิด โดยพบร่วมกับความผิดปกติของลิ้นหัวใจไมตรัลรั่วได้บ่อย การรักษาโรครูรั่วผนังกั้นหัวใจห้องบนด้วยการปิดรูรั่วนั้น ทำให้ความรุนแรงของลิ้นหัวใจไมตรัลรั่วดีขึ้นเป็นส่วนมาก อย่างไรก็ตามมีบางรายงาน พบว่ามีลิ้นหัวใจไมตรัลรั่วขึ้นใหม่ หรือรุนแรงมากขึ้นภายหลังปิดรูรั่วผนังกั้นหัวใจห้องบน โดยพบว่าในกลุ่มนี้ไมตรัลแอนนูลัสมีขนาดใหญ่กว่า การศึกษานี้ ต้องการเปรียบเทียบขนาดของไมตรัลแอนนูลัสในผู้ป่วยรูรั่วผนังกั้นหัวใจห้องบน กับกลุ่มที่ไม่มีความผิดปกติทางโครงสร้างของหัวใจ ว่ามีความแตกต่างตั้งแต่ก่อนทำการรักษาปิดรูรั่วอยู่แล้วหรือไม่ ซึ่งอาจเป็นคำอธิบายของปรากฎการณ์ดังกล่าวข้างต้น วิธีการศึกษา การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบ Aged-match analytic cross-sectional study ผู้ป่วยที่ยินยอมเข้าร่วมการรักษา แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้ป่วยโรครูรั่วผนังกั้นหัวใจห้องบน และกลุ่มควบคุม ซึ่งไม่มีความผิดปกติของโครงสร้างหัวใจ โดยคณะผู้วิจัยใช้ผู้ป่วยหลอดเลือดสมองอุดตัน ที่สงสัยว่ามีสาเหตุจากลิ่มเลือดจากห้องหัวใจ และมีข้อบ่งชี้ของการตรวจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจทางหลอดอาหารเป็นกลุ่มควบคุม ผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่ม ได้รับการตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจทางหลอดอาหารตามข้อบ่งชี้ และเก็บภาพลิ้นหัวใจไมตรัล 3 มิติ แบบ full volume one beat วัดขนาดไมตรัลแอนนูลัสโดยใช้โปรแกรมไมตรัลวาล์วควอนติฟิเคชั่น เวอร์ชั่น 7.0, ฟิลลิปอัลตราซาวด์, โบเทล, วอชิงตัน, ประเทศสหรัฐอเมริกา ผลการศึกษา ผู้เข้าร่วมการศึกษาทั้งหมด 24 ราย (กลุ่มละ 12 ราย) ผู้ป่วยในกลุ่มรูรั่วผนังกั้นหัวใจห้องบนส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (9 คน คิดเป็นร้อยละ 75.0) ต่างจากลุ่มควบคุมซึ่งส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (เป็นเพศหญิง 4 คน คิดเป็นร้อยละ 30.8; P = 0.041) ดัชนีไมตรัลแอนนูลัสในแนวหน้าหลัง (anteroposterior diameter index: AP diameter index) และในแนวข้าง (anterolateral- posteromedial diameter index: ALPM diameter index) ในกลุ่มผู้ป่วยรูรั่วผนังกั้นหัวใจห้องบน มากกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม (20.20 ± 2.22 และ18.26 ± 1.85 มิลลิเมตร/ เมตร2 ตามลำดับ ใน AP diameter index; P = 0.029, 23.39 ± 3.88 และ 20.56 ± 1.95 มิลลิเมตร/ เมตร2ตามลำดับ ใน ALPM diameter index; P = 0.034) ส่วนดัชนีความสูงไมตรัลแอนนูลัส และดัชนีพื้นที่ไมตรัลแอนนูลัสนั้น ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P = 0.235 สำหรับดัชนีความสูง และ P = 0.064 สำหรับดัชนีพื้นที่) สรุป ผู้ป่วยรูรั่วผนังกั้นหัวใจห้องบน มีค่าดัชนีไมตรัลแอนนูลัสในแนวหน้าหลัง และแนวข้าง มากกว่ากลุ่มควบคุมซึ่งไม่มีความผิดปกติทางโครงสร้างของหัวใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งข้อมูลนี้อาจมีประโยชน์ในการศึกษาต่อไปถึงคำอธิบายการเกิดลิ้นหัวใจไมตรัลรั่วขึ้นใหม่ หรือรุนแรงมากขึ้นภายหลังปิดรูรั่วผนังกั้นหัวใจห้องบนen_US
dc.description.abstractalternativeBackground : Atrial Septal Defect (ASD) is the congenital heart disease which commonly found together with mitral valve disease e.g. Mitral regurgitation. Many data show improvement of mitral regurgitation by ASD closure alone, although some reports show new onset or progressive mitral regurgitation after closure ASD and reported that mitral annulus is larger in this group. Objective of this study is to compare mitral annulus size in ASD patients and normal structural heart, that may be different and may be make a new knowledge to explain the influence factor of new onset or progressive mitral regurgitation after ASD closure. Method : An aged-match analytic cross-sectional study was conducted in ASD patients and ischemic stroke patients that suspected from cardiac emboli and indicated for transesophageal echocardiography. Patients in both groups were underwent routine transesophageal echocardiography due to each other indication and added acquire mitral valve in full volume, one beat - three dimension. Mitral annulus size and shape was measure using Mitral Valve Quantification program, version 7.0, Philips Ultrasound, Bothell, Washington, USA. Results : Total participated were 24 patients (12 in each group). Female was more in ASD group (9 patients, 75.0%) but lower in control group (4 patients, 30.8%; P = 0.041). Mitral annular anteroposterior (AP) and anterolateral-posteromedial (ALPM) diameter index were statistically significant more in ASD group compare with control groups (20.20 ± 2.22 vs. 18.26 ± 1.85 mm./ m2 respectively in AP diameter index; P = 0.029, 23.39 ± 3.88 vs. 20.56 ± 1.95 mm./ m2 respectively in ALPM diameter index; P = 0.034). Mitral annular height and area index were difference but not statistically significant (P= 0.235 for height index and P = 0.064 for area index). There were no significant different in mitral annulus parameters after classification by sex, both in ASD and control group. Conclusion : Mitral annular anteroposterior and anterolateral-posteromedial diameter index were significantly more in ASD patients compare with structurally normal heart. This results is the new knowledge and may be useful for further study to find out the explanation of new-onset or progressive mitral regurgitation after ASD closure.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1752-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectหัวใจ -- โรค -- การวินิจฉัยen_US
dc.subjectลิ้นหัวใจ -- โรค -- การวินิจฉัยen_US
dc.subjectคลื่นเสียงen_US
dc.subjectHeart -- Diseases -- Diagnosisen_US
dc.subjectHeart valves -- Diseases -- Diagnosisen_US
dc.subjectSound-wavesen_US
dc.titleไมตรัลแอนนูลัสในผู้ป่วยรูรั่วผนังกั้นหัวใจห้องบน เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่มีความผิดปกติทางโครงสร้างของหัวใจจากการตรวจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจทางหลอดอาหารสามมิติ โดยใช้โปรแกรมไมตรัลวาล์วควอนติฟิเคชั่นen_US
dc.title.alternativeMitral annulus in Atrial Septal Defect (ASD) patients compare with Normal Structural heart by 3-Dimensional Transesophageal Echocardiography (3D-TEE) using Mitral Valve Quantification (MVQ) programen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineอายุรศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorbsmonporn@gmail.com-
dc.email.advisorspuwanant@gmail.com-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2012.1752-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
thida_yi.pdf4.56 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.