Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45029
Title: แนวทางการปรับปรุงอาคารในการจัดสิ่งอำนวยความสะดวก สำหรับผู้พิการและผู้สูงอายุ กรณีศึกษาโรงแรมในเขตกรุงเทพฯ
Other Titles: Guidelines for hotel renovation to accommodate people with disabilities and senior citizens : a case study of hotels in Bangkok
Authors: วิไลพร ตรีพรชัยศักดิ์
Advisors: ปรีชญา สิทธิพันธุ์
ไตรรัตน์ จารุทัศน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: preechaya.s@chula.ac.th
Trirat.J@chula.ac.th
Subjects: โรงแรม -- การบูรณะและการสร้างใหม่
คนพิการ -- บริการที่ได้รับ
ผู้สูงอายุ -- บริการที่ได้รับ
Hotels -- Repair and reconstruction
People with disabilities -- Services for
Older people -- Services for
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ประเทศไทยเป็นหนึ่งในหลายประเทศที่ให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยว ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสร้างรายได้ให้กับประเทศในอันดับต้นๆโดยธุรกิจการท่องเที่ยวปัจจุบันมีแนวโน้มการเติบโตทางการตลาดทั้งนักท่องเที่ยวที่เป็นผู้พิการและผู้สูงอายุ มีจำนวนมากขึ้น ดังนั้นธุรกิจบริการที่พักประเภทโรงแรมจึงเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับการพัฒนาธุรกิจการท่องเที่ยวไปพร้อมๆกัน ซึ่งถือว่าแนวทางในการปรับปรุงโรงแรมที่ยังขาดการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกเป็นการจุดประกายให้ทุกๆโรงแรมมีการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพให้เป็นมาตรฐานระดับสากล การศึกษาวิจัยเน้นผลในเรื่องลักษณะทางด้านกายภาพโดยมีวัตถุประสงค์การศึกษา : ศึกษาหลักเกณฑ์มาตรฐาน กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการและผู้สูงอายุ เพื่อนำมากำหนดรายการในการสำรวจสภาพกายภาพ (Check List) อาคารประเภทโรงแรม และเพื่อศึกษาสภาพกายภาพ สภาพปัญหาในการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ รวมทั้งหาข้อเสนอแนะในการปรับปรุงสภาพกายภาพอาคารเดิม ความเป็นไปได้ในการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการและผู้สูงอายุ โดยการดำเนินการศึกษาแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ 1.ช่วงการสำรวจสภาพทางกายภาพ สภาพปัญหาในการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกฯ 2.ช่วงการสัมภาษณ์ผู้ใช้อาคาร เจ้าของอาคารหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับทางโรงแรม จากผลการศึกษาสภาพกายภาพ สภาพปัญหาในการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการและผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่มีการจัดไม่ตรงตามหลักเกณฑ์มาตรฐาน 13 ข้อที่กำหนดไว้ โดยโรงแรมระดับ 5 ดาวมีการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกครบแต่มีสิ่งอำนวยความสะดวกไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์มาตรฐาน ส่งผลทำให้ผู้ใช้งานทั้งผู้พิการ ผู้สูงอายุเกิดปัญหาและอุปสรรคในการใช้งานสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆภายในโรงแรม รองลงโรงแรมมาตรฐานระดับ 4 ดาว มีการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกเพียงบางส่วนของพื้นที่ในการใช้งานเท่านั้นโดยการเข้าใช้งานได้นั้นอาจจะต้องขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นหรือพนักงานบริการ และโรงแรมมาตรฐานระดับ 3 ดาว ยังขาดการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกในการใช้งาน ซึ่งจากการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสำรวจ การสัมภาษณ์สามารถสรุปผลการวิจัยเพื่อหาข้อเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงอาคารได้ดังนี้ 1.แนวทางการปรับปรุงอาคารประเภทโรงแรมควรคำนึงถึงลักษณะพฤติกรรมการใช้งาน การเข้าถึง ความสัมพันธ์ในการเชื่อมโยงของพื้นที่ใช้งานสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆภายในโรงแรมและความเป็นไปได้ในการปรับปรุงโรงแรมต้องคำนึงถึงปัจจัยด้านต่างๆเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย อาทิเช่น นโยบายของทางโรงแรมในการตระหนักเห็นถึงประโยชน์ในสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการและผู้สูงอายุ รวมถึงควรคำนึงถึงพื้นที่ในการปรับปรุงว่ามีรองรับเพียงพอหรือไม่ 2.แนวทางการปรับปรุงอาคารประเภทโรงแรมควรคำนึงถึงความเป็นไปได้โดยแบ่งออกได้ดังนี้ ลำดับ 1 การปรับปรุงตามความจำเป็นเพื่อให้สามารถเข้าถึงและใช้งานได้ (ข้อจำกัดทางด้านร่างกาย) ได้แก่ ที่จอดรถ ,ทางลาด ราวจับ,ทางเข้าอาคาร ทางเดินและทางเชื่อมระหว่างอาคาร,ห้องพัก,ห้องน้ำในห้องพัก ลำดับ 2 การปรับปรุงเพื่อความสะดวกต่อการใช้งานของพื้นที่ต่างๆมากยิ่งขึ้น ได้แก่ ประตู,พื้นที่ส่วนกลาง,ห้องน้ำส่วนกลาง ลำดับ 3 การปรับปรุงเพื่อส่งเสริมในการบริการทางโรงแรมให้ดีมากยิ่งขึ้น ได้แก่ ป้ายสัญลักษณ์ ,จุดบริการพิเศษ : เคาน์เตอร์ / โทรศัพท์/ เอทีเอ็ม / คอมพิวเตอร์ ลำดับ 4 การปรับปรุงตามข้อจำกัดในการใช้งานหรือข้อจำกัดทางโครงสร้างของอาคารทำให้สามารถปรับปรุงได้ยาก ได้แก่ พื้นผิวสัมผัส, ลิฟต์, บันได โดยแนวทางในการปรับปรุงการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการและผู้สูงอายุควรมีหน่วยงานต่างๆช่วยรณรงค์ ส่งเสริมกระตุ้นให้ทุกโรงแรมเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องส่งเสริมการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกอาคารสาธารณะประเภทโรงแรมให้เป็นรูปธรรมเพื่อพัฒนามาตรฐานการท่องเที่ยวให้เป็นสากล
Other Abstract: Thailand is a country with a massive focus on the tourism industry, and as such one of its main sources of revenue comes from tourism. At present, an area of the tourism industry that is showing massive growth potential is tourism that suits the needs of both people with disabilities as well as senior citizens. As a result, the hotel industry is currently focusing on ways to meet the needs of this particular segment of the market. As such, it is necessary to have guidelines for the renovation of hotel facilities to make Thai hotels meet international standards in this area. The study was aimed at 1) studying the current guidelines and ordinances related to providing facilities for people with disabilities and senior citizens in order to produce a checklist for hotel facilities that could be used to survey hotel buildings, 2) studying the current physical conditions of hotel facilities and areas for improvement, and 3) suggesting renovation guidelines for the possible improvement of existing physical building conditions. The study was conducted in two phases ; the first phase consisted of a survey of the current physical conditions of the hotel facilities and the problems with these facilities, while the second phase consisted of interviewing residents, hotel building owners and other concerned parties. The findings on the study of the physical condition and areas for improvement of the hotel facilities showed that most of the hotels analyzed did not meet the 13 - item checklist based on the standards and regulations mentioned. First, the 5-star hotels were equipped with full facilities, but the design of those facilities did not comply with the guidelines and regulations resulting in difficulties for both target markets. Second, the 4-star hotels were partially equipped with these facilities; therefore, people with disabilities and senior citizens still required additional help from hotel staff. Third, the 3-star hotels showed a lack of the necessary facilities. According to the data from the survey and the interviews, 2 main guidelines for possible building renovation can be summarized. 1) Hotel client behavior, hotel access, and the integration of functional areas should be taken into account. Other factors should also be considered, such as a) fitting hotel policy to recognize the benefits of meeting the needs of these two market segments, and b) the adequateness of the facilities. 2) Hotel renovation should be carried out in regards to the following factors, in order of importance: a) improving necessary facilities for more convenient access for the physically challenged such as parking, ramps, handrails, building entrances, corridors, walkways between buildings, rooms and bathrooms; b) improving other areas for better functional use such as doors, central areas, central and bathrooms, c) improving facilities related to hotel services such as signs, and special service areas including contact counters, phones, ATMs, and computers, d) renovating areas with renovation limitations/constraints such as building surfaces, lifts, and stairs. To conclude, all sectors of the hotel industry should work to promote the necessary guidelines for providing facilities to people with disabilities and senior citizens with the ultimate goal of all hotels improving their facilities to reach international standards.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45029
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1768
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.1768
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
wilaiporn_tr.pdf17.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.