Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45102
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ศุภศิษฏ์ ทวีแจ่มทรัพย์ | - |
dc.contributor.author | ศรีสุดา สถิตวัฒนาพร | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2015-09-08T08:20:08Z | - |
dc.date.available | 2015-09-08T08:20:08Z | - |
dc.date.issued | 2555 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45102 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 | en_US |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาถึงการใช้สิทธิในการต่อรองกับรัฐของพนักงานราชการ ซึ่งมีฐานะเป็นลูกจ้างในหน่วยงานราชการ อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากบทบัญญัติมาตรา 64 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ซึ่งยังมีใช้บังคับในปัจจุบัน ที่ให้เสรีภาพในการรวมกลุ่มแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งเมื่อศึกษาถึงความสำคัญของการรวมกลุ่มแรงงานและการเจรจาต่อรองตามอนุสัญญาและข้อแนะขององค์การแรงงงานระหว่างประเทศ กฎหมายเกี่ยวกับแรงงานสัมพันธ์ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศแล้ว พบว่า การเจรจาต่อรองมีความสำคัญในการคุ้มครองและการพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานพนักงานราชการในฐานะแรงงานภาครัฐจึงควรมีสิทธิเสรีภาพในการเจรจาต่อรองด้วยแต่รูปแบบการต่อรองอาจมีลักษณะพิเศษภายใต้ข้อจำกัดตามรัฐธรรมนูญ ที่ต้องไม่กระทบต่อประสิทธิภาพในการบริหารราชการแผ่นดินและความต่อเนื่องในการจัดทำบริการสาธารณะอันเป็นพันธกิจหลักและเป็นหน้าที่ของฝ่ายปกครอง รวมทั้งข้อจำกัดอื่นๆ จากการเป็นลูกจ้างในส่วนราชการของพนักงานราชการ เช่น ระบบการบังคับบัญชาการตกอยู่ภายใต้ระบบสัญญาจ้าง ดังนี้แล้ว การที่พนักงานราชการตกอยู่ในฐานะลูกจ้าง ซึ่งไม่มีบทบัญญัติกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการรวมกลุ่มและการเจรจาต่อรอง ตลอดจนบทบาทและท่าทีของรัฐที่ไม่ให้ความสำคัญในการรวมกลุ่มของแรงงานภาครัฐหรือแม้กระทั่งทัศนคติของผู้ทำงานในระบบราชการที่ยังไม่เห็นความสำคัญของการรวมกลุ่มและการเจรจาต่อรอง ดังนั้น จึงมีข้อเสนอแนะให้การต่อรองของพนักงานราชการสามารถเจรจาต่อรองโดยใช้รูปแบบของคณะกรรมการเพื่อพิจารณาข้อเรียกร้อง ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท และวินิจฉัยชี้ขาด โดยอยู่ภายใต้กฎหมายเกี่ยวกับแรงงานของข้อราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐฉบับเดียวกันเพื่อความเป็นเอกภาพ และมีมาตรฐานไม่ต่ำกว่าการเจรจาต่อรองของภาคเอกชนและรัฐวิสาหกิจ สามารถยื่นเรื่องราวร้องทุกข์ในการทำงานให้หน่วยงานราชการพิจารณาได้เช่นเดียวกับข้าราชการ สำหรับการใช้มาตรการนัดหยุดงานนั้นสามารถกระทำได้แต่เฉพาะการนัดหยุดงานที่สหภาพแรงงานรับรองและต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ขั้นตอน วิธีการที่เหมาะสม เพื่อมิให้รูปแบบของการเจรจาต่อรองของพนักงานราชการมีผลกระทบต่อการบริการราชการแผ่นดินและความต่อเนื่องในการจัดทำบริการสาธารณะอันเป็นผลประโยชน์หลักของประเทศ | en_US |
dc.description.abstractalternative | This thesis aims to study the use of collective bargaining power of the government employees, as employees in the government sector, against the state, according to section 64 of the Constitution of the Kingdom of Thailand (2007), still enforced in the present, bestowing government authorities the liberty of assembly. After having studied the importance of the assembly of the labor forces and negotiation according to the convention, advice given by International Labor Organization and National and International Labor Relations Law, it is found that bargaining is important in protecting and improving the quality of life of the government employees as workforce, therefore the government sector should also have the right and the liberty of bargaining. Therefore, it is suggested that the government employees use a committee model in the negotiation to consider demands, mediate disputes and judge, under the same law regarding labor for both government officers and government authorities for the sake of unity. The negotiation also must not be of a lower standard than that of the private sector and the state enterprises. In addition, in the same way as the government officers, the government employees should file petitions concerning work to be judged by the government organizations. As for strikes, they should be undertaken only if approved by the Labor Union and based on appropriate principles, procedures and methods in order that government employees bargaining and negotiation model against the state does not affect the efficiency of public administration and the continuity of the provision of public services, which are the main interest of the public. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | การเจรจาต่อรองร่วม | en_US |
dc.subject | แรงงานสัมพันธ์ | en_US |
dc.subject | กฎหมายแรงงาน | en_US |
dc.subject | ไทย -- ข้าราชการและพนักงาน | en_US |
dc.subject | Collective bargaining | en_US |
dc.subject | Industrial relations | en_US |
dc.subject | Labor laws and legislation | en_US |
dc.subject | Thailand -- Officials and employees | en_US |
dc.title | รูปแบบการต่อรองของพนักงานราชการกับรัฐภายใต้ข้อจำกัดบางประการ | en_US |
dc.title.alternative | Model of collective bargaining power of government employees against the state, under some restrictions | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | นิติศาสตร์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Suphasit.T@Chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Srisuda_sa.pdf | 1.97 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.