Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45129
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุชาดา ชุติมาวรพันธ์-
dc.contributor.authorทิพย์วิมล จุลหาญกิจ-
dc.contributor.authorนฤมล สุขวจีคล่อง-
dc.contributor.authorนลินี งามโชคชัยเจริญ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์-
dc.date.accessioned2015-09-10T03:26:35Z-
dc.date.available2015-09-10T03:26:35Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.otherSepr 10/55 ค2.5-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45129-
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสูตรตารับครีมโคเอนไซม์คิวเทนนาส่งในรูปแบบไมโครสปอนจ์ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการปลดปล่อยสารโคเอนไซม์คิวเทนและช่วยเพิ่มความคงตัวต่อแสงและอุณหภูมิของ โคเอนไซม์คิวเทนที่สามารถเกิดการสลายตัวได้เมื่อได้รับความร้อนหรือแสง โดยในการวิจัยนี้เตรียม ไมโครสปอนจ์ด้วยวิธี Quasi-emulsion solvent diffusion ใช้เอทิลเซลลูโลส 10 เซนติพอยต์ เป็นพอลิเมอร์ จากการวิจัยได้ศึกษาปัจจัยของอัตราเร็วในการปั่นผสมที่อัตราเร็ว 1000, 1500 และ 2000 รอบต่อนาที และอัตราส่วนของโคเอนไซม์คิวเทนต่อเอทิลเซลลูโลส 1:1, 2:1 และ 3:1 ที่ส่งผลต่อคุณลักษณะของไมโครสปอนจ์ที่ได้ โดยผลผลิตไมโครสปอนจ์ที่เตรียมได้อยู่ในช่วงร้อยละ 80 – 85 โดยน้าหนัก เมื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพในการกักเก็บโดยการวัดการดูดกลืนแสงที่ 275 นาโนเมตรพบว่ามีค่าเฉลี่ยร้อยละโดยมวลเท่ากับ 70.36 ± 4.88 และพบว่าถ้าเพิ่มอัตราเร็วในการปั่นผสม และอัตราส่วนของโคเอนไซม์คิวเทนต่อเอทิลเซลลูโลส อนุภาคจะมีขนาดที่เล็กลง จากผลการทดลองทั้งหมดพบว่าขนาดอนุภาคที่ได้อยู่ในช่วงประมาณ 20-60 ไมครอนซึ่งอนุภาคไมโครสปอนจ์ที่มีขนาด 25-30 ไมครอนไม่ก่อให้เกิดความรู้สึกหยาบเมื่อทาบนผิว นอกจากนี้เมื่อวิเคราะห์การปลดปล่อยด้วยวิธีการวัดการดูดกลืนแสงที่ 275 นาโนเมตรพบว่าในตัวทาละลายที่เป็นโพรพิลีนไกลคอลไมโครสปอนจ์สามารถปลดปล่อยโคเอยไซม์คิวเทนออกมาได้ร้อยละมวลต่อปริมาตร 0.94 ± 0.12 ภายใน 24 ชั่วโมงเมื่อเปรียบเทียบกับผงโคเอนไซม์คิวเทนที่ละลายได้ร้อยละมวลต่อปริมาตร 0.74 ± 0.02 ภายใน 24 ชั่วโมง จะเห็นว่าการเตรียมสารโคเอนไซม์คิวเทนให้อยู่ในรูปไมโครสปอนจ์นั้นช่วยให้สารโคเอนไซม์คิวเทนมีการละลายและปลดปล่อยออกมาได้ดีขึ้น ในการวิจัยนี้ยังได้มีการคัดเลือกไมโครสปอนจ์ที่บรรจุโคเอนไซม์คิวเทนที่มีคุณสมบัติที่ดีคือไมโครสปอนจ์ที่มีขนาดอนุภาค 29.11 ± 0.55 ไมครอน มีร้อยละมวลต่อปริมาตรการปลดปล่อยเท่ากับ 1.20±0.03 มาเตรียมเป็นตารับครีมซึ่งครีมที่ได้มีลักษณะเนื้อละเอียด สีเหลืองส้ม ทาแล้วไม่รู้สึกหยาบเมื่อทาบนผิวen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectเอนไซม์en_US
dc.subjectยูบิควิโนนen_US
dc.subjectEnzymesen_US
dc.subjectUbiquinonesen_US
dc.titleการพัฒนาสูตรตำรับครีมโคเอนไซม์คิวเทนในรูปการนำส่งแบบไมโครสปอนจ์en_US
dc.title.alternativeDevelopment of coenzyme Q10 creams using microsponges delivery systemen_US
dc.typeSenior Projecten_US
Appears in Collections:Pharm - Senior projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
tipwimol_ju.pdf2.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.