Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45181
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอรัญญา ตุ้ยคำภีร์-
dc.contributor.advisorเรวดี วัฒฑกโกศล-
dc.contributor.authorผดารัช สีดา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา-
dc.date.accessioned2015-09-11T07:17:56Z-
dc.date.available2015-09-11T07:17:56Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45181-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555en_US
dc.description.abstractการวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาและตรวจสอบความตรงของโมเดลเชิงสาเหตุของความพึงพอใจในงาน โดยมีแหล่งทรัพยากรที่เอื้อต่องาน ข้อเรียกร้องในงานเป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรง และมีอิทธิพลทางอ้อมผ่านตัวแปรส่งผ่านความผูกใจมั่นในงานและความเหนื่อยหน่ายในงาน (2) ศึกษาและเปรียบเทียบขนาดอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมของปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในงาน กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานที่ปฏิบัติงานในบริษัทเอกชน รัฐวิสาหกิจและภาครัฐ ที่มีอายุงานในองค์การ/บริษัทไม่ต่ำกว่า 1 ปี ทั้งเพศชายและเพศหญิง จำนวน 601 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ (1) มาตรวัดแหล่งทรัพยากรที่เอื้อต่องาน (2) มาตรวัดข้อเรียกร้องในงาน (3) มาตรวัดความผูกใจมั่นในงาน (4) มาตรวัดความเหนื่อยหน่ายในงาน (5) มาตรวัดความพึงพอใจในงาน ผลการวิจัยพบว่า 1.โมเดลเชิงสาเหตุของอิทธิพลของแหล่งทรัพยากรที่เอื้อต่องาน ข้อเรียกร้องในงานที่มีต่อความพึงพอใจในงานของพนักงาน โดยมีความผูกใจมั่นในงานและความเหนื่อยหน่ายในงานเป็นตัวแปรส่งผ่านมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (χ2 =30.79, N = 601, p =.128, RMSEA=0.02, GFI= 0.99, AGFI=0.97) 2.แหล่งทรัพยากรที่เอื้อต่องานเป็นตัวแปรแฝงภายนอกที่มีอิทธิพลทางตรงและอิทธิพลทางอ้อมต่อความผูกใจมั่นในงานสูงสุด อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 3.ข้อเรียกร้องในงานที่เป็นอุปสรรคเป็นตัวแปรแฝงภายนอกที่มีอิทธิพลทางตรงสูงสุด ในขณะที่แหล่งทรัพยากรที่เอื้อต่องานมีอิทธิพลทางอ้อมต่อความเหนื่อยหน่ายในงานสูงสุดอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 4.ข้อเรียกร้องในงานที่เป็นอุปสรรคเป็นตัวแปรแฝงภายนอกที่มีอิทธิพลทางตรงสูงสุด ในขณะที่แหล่งทรัพยากรที่เอื้อต่องานมีอิทธิพลทางอ้อมต่อความพึงพอใจในงานสูงสุดอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 5.ความเหนื่อยหน่ายในงานเป็นตัวแปรแฝงภายในที่มีอิทธิพลทางตรงสูงสุด ในขณะที่ความผูกใจมั่นในงานมีอิทธิพลทางอ้อมสูงสุดต่อความพึงพอใจในงานอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01en_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this study were (1) to develop and to validate the causal model of the job resources and job demands on job satisfaction through the mediating roles of work engagement and job burnout and (2) to investigate and to compare effects size, both direct and indirect effects, of Job Satisfaction. Participants were 601 Thai employees in Bangkok metropolis. Instruments were Job Resources Scale, Job Demands Scale, Work Engagement Scale, Job Burnout Scale, and Job Satisfaction Scale. Findings are as follows. 1.The causal model of the job resources and job demands on job satisfaction through the mediating roles of work engagement and job burnout fits the empirical data (χ2 =30.79, N = 601, p =.128, RMSEA=0.02, GFI= 0.99, AGFI=0.97) 2.As exogeneous variable, direct effect and indirect effect of job resources to work engagement are significantly different from zero at alpha level .01. 3.As exogeneous variable, hindrance demands has the most direct effect while job resources has the most indirect effect to job burnout which are significantly different from zero at alpha level .01. 4.As exogeneous variable, hindrance demands has the most direct effect while job resources has the most indirect effect to job satisfaction which are significantly different from zero at alpha level .01. 5.As endogeneous variable, job burnout has the most direct effect while work engagement has the most indirect effect to job satisfaction which are significantly different from zero at alpha level .01.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1287-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการทำงาน -- แง่จิตวิทยาen_US
dc.subjectความพอใจในการทำงานen_US
dc.subjectความเหนื่อยหน่าย (จิตวิทยา)en_US
dc.subjectความผูกพันต่อองค์การen_US
dc.subjectWork -- Psychological aspectsen_US
dc.subjectJob satisfactionen_US
dc.subjectBurn out (Psychology)en_US
dc.subjectOrganizational commitmenten_US
dc.titleอิทธิพลของแหล่งทรัพยากรที่เอื้อต่องานและข้อเรียกร้องในงานต่อความพึงพอใจในงานของพนักงานโดยมีความผูกใจมั่นในงานและความเหนื่อยหน่ายในงานเป็นตัวแปรส่งผ่านen_US
dc.title.alternativeEffects of job resources and job demands on job satisfaction of employees : the mediating roles of work engagement and job burnouten_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisoratuicomepee@gmail.com-
dc.email.advisorRewadee.W@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2012.1287-
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Padarush_see.pdf3.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.