Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45298
Title: บริโภคนิยมและวิกฤตความเป็นชายในนวนิยายอเมริกันร่วมสมัย
Other Titles: Consumerism and the crisis of masculinity in contemporary American novels
Authors: ไทวิกา อิงสันเทียะ
Advisors: ทอแสง เชาว์ชุติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: Thosaeng.C@Chula.ac.th
Subjects: บริโภคนิสัยในวรรณกรรม
นวนิยายอเมริกัน
บุรุษ
บริโภคกรรม
Food habits in literature
American fiction
Men
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จะศึกษากระบวนการที่ระบบบริโภคนิยมก่อให้เกิดวิกฤตความเป็นชาย ด้วยการปรับเปลี่ยนและ/หรือทำลายแนวคิดเรื่องความเป็นชายแบบเดิม ไม่ว่าจะด้วยการปรับเปลี่ยนสถานะของผู้ชายที่เดิมเคยเป็นผู้ผลิตให้กลายเป็นเพียงผู้บริโภค หรือลดความสำคัญของเรือนร่างให้กลายเป็นเพียงวัตถุแห่งการจ้องมองซึ่งเป็นการลดทอนคุณค่าความเป็นมนุษย์ของผู้ชาย นอกจากนี้วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ยังจะศึกษาวิธีการที่ผู้ชายใช้ในการต่อรอง และ/หรือโต้กลับทางอำนาจเพื่อจัดการกับวิกฤตความเป็นชายของตน โดยวิเคราะห์นวนิยายอเมริกัน 3 เรื่องที่ใช้มหานครนิวยอร์กเป็นฉากหลัง ได้แก่ เดอะ เดวิลส์ แอดโวเคต (The Devil's Advocate, 1990) ของ แอนดรูว์ นีเดอร์แมน (Andrew Neiderman), อเมริกันไซโค (American Psycho, 1991) ของ เบร็ท อีสตัน เอลลิส (Bret Easton Ellis) และ ไฟท์คลับ (Fight Club, 1996) ของ ชัค พอลลานิค (Chuck Palahniuk) จากการศึกษาพบว่าสังคมปัจจุบันอยู่ภายใต้การขับเคลื่อนของระบบทุนนิยมและลัทธิบริโภคนิยมโดยเฉพาะบริบทของประเทศสหรัฐอเมริกาที่ระบบทุนนิยมได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบและธรรมชาติของงานที่แต่เดิมเป็นสิ่งที่ผู้ชายใช้ยึดโยงตนเองเพื่อสร้างอัตลักษณ์ความเป็นชาย ในขณะเดียวกันสื่อโฆษณาและการตลาดก็หันไปขับเน้นและกระตุ้นให้เกิดการบริโภค ผู้ชายจำนวนมากต้องยอมจำนนต่อระบบและหันมายึดโยงชีวิตของตนไว้กับการบริโภครวมถึงประกอบสร้างและยืนยันอัตลักษณ์ความเป็นชายจากสินค้าที่บริโภค นวนิยายทั้งสามแสดงให้เห็นผลกระทบของอุดมการณ์บริโภคนิยมดังกล่าวผ่านตัวละครเอกที่ประสบกับวิกฤตความเป็นชายเมื่อพวกเขารู้สึกไร้อำนาจ ไม่อาจควบคุมแม้กระทั่งความปรารถนาของตนเองซึ่งสภาพแวดล้อมเช่นนี้นำไปสู่ภาวะ “วิกฤตความเป็นชาย” แม้กระนั้นผู้ชายก็มีความพยายามที่จะต่อรอง/โต้กลับระบบทุนนิยม บริโภคนิยม และวิกฤตความเป็นชาย แต่การต่อรอง/โต้กลับดังกล่าวมิใช่ทำได้โดยง่าย ดังจะเห็นได้จากทางออกที่นวนิยายทั้ง 3 เรื่องเสนอซึ่งมีลักษณะร่วมบางประการ คือ จุดจบมักย้อนกลับสู่จุดเริ่มต้นเสมอ กล่าวคือ ตัวละครไม่สามารถหาทางออกหรือปฏิเสธอุดมการณ์ที่ไหนเวียนอยู่ในสังคมได้ พวกเขายังคงต้องเผชิญหน้ากับวิกฤตความเป็นชายภายใต้สังคมบริโภคนิยม นอกจากนี้รูปแบบการต่อสู้/ต่อรองของพวกเขาในแง่หนึ่งก็ไม่ต่างจากการผลิตซ้ำอุดมการณ์ของระบบทุนนิยม หรือลัทธิบริโภคนิยมที่สุดท้ายไม่ได้นำไปสู่ทางออกใดๆ
Other Abstract: This thesis is an attempt to analyze the crisis of masculinity that is caused by consumerism. By studying Andrew Neiderman’s The Devil's Advocate (1990), Chuck Palaniuk’s Fight Club (1996) and Bret Easton Ellis’s American Psycho (1991), the thesis argues that consumerism has changed the traditional concept of masculinity and reduced the male body to an object of sexual desire, a highly dehumanizing process. The thesis also examines the ways in which male characters attempt to deal with their crisis of masculinity both through negotiations and forceful defiance. The study shows that societies are presently driven by capitalism and consumerism especially in American culture where the form and the nature of the types of career that construct masculine identity have changed. At the same time, advertising campaigns and marketing stimulate men to consume more and more. Most men give in to the system and submit to product consumption as a way of reaffirming their masculine identity. The novels show the impact of the consumerist ideology through male protagonists who are powerless and unable to control their passion. These conditions all lead to “the crisis of masculinity.” However, men have attempted to negotiate with and react to the conditions of capitalism, consumerism and the crisis of masculinity even though it is not an easy task. As can be seen in all three novels, the male protagonists end up with the same solution which is to return to the starting point, that is they are unable to find a way out or to resist the dominant social ideologies. They have to unconditionally accept the crisis of masculinity and their attempt to negotiate with the crisis only loops back on itself and leads, in the end, to the reproduction of capitalist and consumerist ideologies.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วรรณคดีเปรียบเทียบ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45298
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Taiwika_en.pdf1.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.