Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45305
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | พงศ์ศักดิ์ ยุกตะนันทน์ | - |
dc.contributor.advisor | ดุจใจ ชัยวานิชศิริ | - |
dc.contributor.author | พนิดา ไชยมิ่ง | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2015-09-15T08:20:48Z | - |
dc.date.available | 2015-09-15T08:20:48Z | - |
dc.date.issued | 2554 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45305 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาไปข้างหน้าเชิงทดลองเปรียบเทียบแบบสุ่ม (a prospective randomized controlled trial) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการกระตุ้นไฟฟ้าประสาทกล้ามเนื้อเข้ากับโปรแกรมการออกกำลังกาย ต่อการเพิ่มความแข็งแรงและประสิทธิภาพในการทำงานของกล้ามเนื้อเหยียดข้อเข่า และประสิทธิภาพในการทำกิจวัตรประจำวัน และเปรียบเทียบผลดังกล่าวกับโปรแกรมออกกำลังกายเพียงอย่างเดียว หลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม 10 และ 16 สัปดาห์ ผู้เข้าร่วมวิจัยเป็นอาสาสมัครผู้ป่วยโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย ที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อม ซึ่งกำลังเข้ารับการรักษาโดยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม จำนวน 16 คน เพศชาย 2 คน เพศหญิง 14 คน โดยสุ่มเข้ากลุ่มที่ได้รับการกระตุ้นไฟฟ้าประสาทกล้ามเนื้อเสริมเข้ากับโปรแกรมการออกกำลังกาย หรือกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการออกกำลังกายเพียงอย่างเดียว โดยจะมีการวัดตัวแปรต่างๆ ได้แก่ ความแข็งของกล้ามเนื้อเหยียดข้อเข่า องศาการเคลื่อนไหวของข้อเข่า เวลาที่ใช้ในการลุกเดิน และความเร็วในการเดิน และประสิทธิภาพการใช้ชีวิตประจำวัน (WOMAC และ SF-36) จำนวน 4 ครั้ง คือ ก่อนผ่าตัด หลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม 4, 10 และ 16 สัปดาห์ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลสรุปได้ว่า หลังจากการผ่าตัด 4 สัปดาห์ ทั้งสองกลุ่มมีความแข็งแรงและประสิทธิภาพการทำงานของกล้ามเนื้อเหยียดข้อเข่า และประสิทธิภาพการใช้ชีวิตประจำวันลดลงเมื่อเทียบกับก่อนผ่าตัด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) หลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม 10 และ 16 สัปดาห์ ความแข็งแรงและประสิทธิภาพการทำงานของกล้ามเนื้อเหยียดข้อเข่าเพิ่มขึ้น และประสิทธิภาพการใช้ชีวิตประจำวันเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับหลังผ่าตัด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มพบว่า หลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม 10 และ 16 สัปดาห์ กลุ่มที่ได้รับการกระตุ้นไฟฟ้ามีความเร็วในการเดิน และองศาในการงอข้อเข่ามากกว่ากลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการออกกำลังกายเพียงอย่างเดียว แต่ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเหยียดข้อเข่าไม่มีความแตกต่างกันระหว่างสองกลุ่ม | en_US |
dc.description.abstractalternative | This research is a prospective randomized controlled trial. The objectives of this study were to determine and compare the effect of quadriceps exercise program with or without neuromuscular electrical stimulation (NMES) on quadriceps strength, quadriceps muscle function and functional outcome after total knee arthroplasty (TKA) at 10 and 16 weeks. Sixteen patients who had schedule for total knee arthroplasty due to knee osteoarthritis in King Chulalonghorn Memorial hospital were randomized to received either post-operative exercise program alone or post-operative exercise program with quadriceps neuromuscular electrical(NMES) after surgery. The outcome parameters included; quadriceps strength, knee range of motion, time up and go test, walking speed, modified WOMAC score and quality of life (SF-36). Outcomes were measured 4 times at; before surgery, 4 weeks after surgery, 10 weeks after surgery and 16 weeks after surgery. After surgery for 4 weeks, quadriceps strength, quadriceps function, WOMAC knee score and SF-36 score reduced significantly (p-value < 0.05). After surgery for 10 and 16 weeks, quadriceps strength, quadriceps function, WOMAC knee score and SF-36 score improved significantly (p-value < 0.05) in both groups. The NMES group had better walking speed and knee range of motion comparing with the exercise group. However, quadriceps muscle strength is not significant between group after surgery for 10 and 16 weeks. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.791 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ข้อเข่า -- ศัลยกรรม | en_US |
dc.subject | การเปลี่ยนข้อเข่า | en_US |
dc.subject | การรักษาด้วยไฟฟ้า | en_US |
dc.subject | การกระตุ้นด้วยไฟฟ้า | en_US |
dc.subject | โรคกล้ามเนื้อร่วมประสาท | en_US |
dc.subject | Knee -- Surgery | en_US |
dc.subject | Total knee replacement | en_US |
dc.subject | Electrotherapeutics | en_US |
dc.subject | Electric stimulation | en_US |
dc.subject | Neuromuscular diseases | en_US |
dc.title | ผลของการกระตุ้นไฟฟ้าประสาทกล้ามเนื้อ ต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเหยียดข้อเข่า และประสิทธิภาพในการทำงานของผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม | en_US |
dc.title.alternative | Effects of neuromuscular electrical stimulation combined with exercise program on quadriceps muscle strength and function outcome in post-total knee arthroplasty patients | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | เวชศาสตร์การกีฬา | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Pongsak.Y@Chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | Dootchai.C@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2011.791 | - |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Panida_ch.pdf | 1.48 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.