Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45333
Title: Buddhadasa's poetry and the contemplation on emptiness
Other Titles: กวีนิพนธ์ของพุทธทาสภิกขุกับการพิจารณาความว่าง
Authors: Thanaphon Cheungsirakulvit
Advisors: Suchitra Chongstitvatana
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Arts
Advisor's Email: Suchitra.C@Chula.ac.th
Subjects: Emptiness (Philosophy)
พุทธทาสภิกขุ, 2449-2536
ความว่าง (ปรัชญา)
Issue Date: 2012
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: ‘Emptiness’ as a Buddhist term is derived from the teaching of the Buddha which appears in the Tipiṭaka. In Theravāda, the word ‘suññatā’ is used in the meaning of emptiness and is explained by the Buddhism concept of paṭiccasamuppāda. In Mahāyāna, the word ‘śūññatā’ is used in the meaning of emptiness and its meaning is extended, to the greatest extent, to cover the Bodhi – the enlightenment of the Buddha. Buddhadāsa proposed the concept of emptiness as something beyond the division of schools, that is, he explained that emptiness is the essence of the religion which appears in the teaching of the Buddha, or what he called Buddhayāna. Emptiness in Buddhadāsa’s teaching can be divided into four categories; the empty mind, the original condition of the mind, Nibbāna here and now for everyone, and the integration of empty mind with daily life. These four aspects of emptiness cover all areas of Buddhadāsa’s teaching, that is, everything that Buddhadāsa taught is all related or connected to the concept of emptiness. Emptiness is also the main focus in Buddhadāsa’s poetry. His poetry portrayed the concept of emptiness in various aspects, that is, the poetry defines emptiness as the dependent origination of things with no core to cling to. Everything exists under the law of cause and effect. In his poetry, Buddhadāsa suggests that the ultimate condition of emptiness is elaborated in 4 dimensions namely, the notion of empty mind, the original condition of the mind, and the path to attain such ultimate state –covering the concept of nibbāna here and now for everyone, and the integration of empty mind with daily life. Moreover, Buddhadāsa’s poetry also illustrates that the emptiness is the concept used to explain the tri-sikkha (threefold training) that is sīla, samādhi, and paññā – which are the foundation of attaining nibbāna. Reading of poetry can also be considered the path to nibbāna because the poetry itself is an upāya which teach dhamma in a deep and refined way. Artistic techniques used in Buddhadāsa’s poetry, such as, imagery, poetry with picture, provocation, metaphor, conversation technique, and parable; all contribute in creating ‘skillful means’ in which the reader can ‘contemplate’ until they finally attain ‘emptiness’ or nibbāna. Buddhadāsa’s poetry is, thus, a crucial object of contemplation on emptiness.
Other Abstract: “ความว่าง” ในฐานะคำศัพท์เฉพาะทางพุทธศาสนานั้นมีที่มาจากคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ปรากฏใช้อยู่ในพระไตรปิฏก ในทางเถรวาทใช้คำว่า “สุญญตา” แทนคำว่าความว่างและอธิบายความว่างด้วยหลักปฏิจจสมุปบาท ในทางมหายานใช้คำว่า “ศูนยตา” โดยขยายขอบเขตความหมายของคำว่าความว่างครอบคลุมทุกสิ่งรวมถึงการตรัสรู้หรือโพธิของพระพุทธเจ้าด้วย พุททาสภิกขุเสนอแนวคิดเรื่องความว่างในลักษณะเหนือการแบ่งนิกาย กล่าวคือ ท่านอธิบายว่าความว่างเป็นแก่นแท้ของศาสนา ปรากฏในศาสนาของพระพุทธเจ้าหรือ “พุทธยาน” ความว่างในทรรศนะของพุทธทาสภิกขุสามารถอธิบายได้ด้วยแนวคิด 4 ประการ คือ แนวคิดเรื่องจิตว่าง, แนวคิดเรื่องจิตเดิมแท้, แนวคิดเรื่องนิพพานที่นี่เดี๋ยวนี้สำหรับทุกคน, และแนวคิดเรื่องการปฏิบัติจิตว่างในชีวิตประจำวัน แนวคิดทั้ง 4 ประการนี้ครอบคลุมหลักคำสอนของท่านพุทธทาสในทุกมิติ กล่าวคือ ทุกสิ่งที่ท่านพุทธทาสภิกขุสอนล้วนเกี่ยวโยงกับแนวคิดเรื่องความว่างทั้งสิ้น กวีนิพนธ์ของท่านพุทธทาสภิกขุแสดงนัยสำคัญของแนวคิด “ความว่าง” ในหลายลักษณะ กล่าวคือ “ความว่าง” หมายถึงการดำรงอยู่ของสรรพสิ่งโดยปราศจากแก่นแท้ให้ยึดมั่น ทุกสิ่งดำรงอยู่ด้วยเหตุและปัจจัย ท่านพุทธทาสภิกขุใช้แนวคิด “ความว่าง” ในลักษณะเป็นอุดมคติสูงสุดของพุทธศาสนา กล่าวคือ อธิบายเรื่องจิตว่างและจิตเดิมแท้ และใช้อธิบายวิธีปฏิบัติเพื่อเข้าถึงอุดมคตินั้น นั่นคือ แนวคิดนิพพานที่นี่เดี๋ยวนี้สำหรับทุกคนและแนวคิดการปฏิบัติจิตว่างในชีวิตประจำวัน นอกจากนี้กวีนิพนธ์ของพุทธทาสภิกขุยังแสดง “ความว่าง” ในฐานะแนวคิดสำคัญที่ใช้อธิบายไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งเป็นพื้นฐานของการบรรลุนิพพาน การอ่านกวีนิพนธ์ยังใช้เป็นหลักปฏิบัติเพื่อการบรรลุนิพพานอีกด้วย ตัวกวีนิพนธ์เองก็เป็นอุบายสอนธรรมอย่างแยบยลและลึกซึ้ง องค์ประกอบทางวรรณศิลป์ที่ปรากฏใช้ในกวีนิพนธ์ของท่านพุทธทาสภิกขุ อาทิ การสร้างภาพพจน์ การใช้ภาพประกอบบทกวี การใช้คำถามเชิงวรรณศิลป์ การใช้อุปลักษณ์ การใช้ปุจฉา-วิสัชชนา การใช้คติ การใช้เรื่องราวสอนธรรม ล้วนสร้างเป็นการสร้างปริศนาธรรม เป็นเครื่องมือให้ผู้อ่านกวีนิพนธ์ได้ “เพ่ง” พิจารณาเพื่อเข้าถึง “ความว่าง” หรือ พระนิพพานในที่สุด
Description: Thesis (M.A.)--Chulalongkorn University, 2012
Degree Name: Master of Arts
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Thai Studies
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45333
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.242
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.242
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thanaphon_che.pdf2.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.