Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45364
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชนิตา รักษ์พลเมืองen_US
dc.contributor.advisorอมรวิชช์ นาครทรรพen_US
dc.contributor.authorวราภรณ์ นาคคงen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-09-17T04:01:10Z
dc.date.available2015-09-17T04:01:10Z
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45364
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ของเมืองแห่งการเรียนรู้ในต่างประเทศ 2) เพื่อวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการที่เกี่ยวข้องกับแหล่งเรียนรู้ตามยุทธศาสตร์ของกรุงเทพมหานคร และ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ตามยุทธศาสตร์ของกรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยใช้การวิจัยเอกสารเพื่อวิเคราะห์เมืองแห่งการเรียนรู้ 16 เมือง ในสหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย แคนาดา สาธารณรัฐฟินแลนด์ และสาธารณรัฐเกาหลี สำหรับข้อมูลในกรุงเทพมหานครใช้การวิจัยเชิงสำรวจโดยส่งแบบสอบถาม ได้ข้อมูลคืนจากผู้ให้บริการแหล่งเรียนรู้จำนวน 248 ชุด คิดเป็นร้อยละ 86.71 ส่วนผู้ใช้บริการแหล่งเรียนรู้ได้รับข้อมูลคืนจำนวน 709 ชุด คิดเป็นร้อยละ 78.77 นอกจากนี้ผู้วิจัยยังได้ทำการศึกษาภาคสนามในชุมชน 5 ประเภท คือ เคหะชุมชน ชุมชนหมู่บ้านจัดสรร ชุมชนชานเมือง ชุมชนเมือง และชุมชนแออัด โดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม ผู้วิจัยนำแนวทางการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ที่ยกร่างขึ้นจากข้อมูลข้างต้นไปสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อสรุปแนวทางการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ตามยุทธศาสตร์ของกรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยพบว่าเมืองในต่างประเทศที่ศึกษาได้กำหนดนโยบายเมืองแห่งการเรียนรู้โดยมีการพัฒนานวัตกรรมด้านยุทธศาสตร์ที่จะเอื้อให้บุคคลทุกคนได้เรียนรู้ทักษะและพัฒนาความสามารถได้ตลอดชีวิต และการจัดแหล่งเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพในชุมชนจึงมีความสำคัญที่จะช่วยให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว ปัจจัยสำคัญในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ได้แก่ความมุ่งมั่นในการดำเนินการ ความร่วมมือระหว่างภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน และชุมชน รวมทั้งการจัดสรรทรัพยากรที่จำเป็น เมืองแห่งการเรียนรู้ในต่างประเทศส่วนใหญ่มีการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานโดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้อย่างกว้างขวาง มีการจัดโครงการและกิจกรรมที่หลากหลายเพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการให้มารับบริการ และเน้นการทำงานแบบมีส่วนร่วมกับชุมชน ส่วนผลการสำรวจผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการแหล่งเรียนรู้ในกรุงเทพมหานคร และผลการศึกษาภาคสนาม พบว่ากรุงเทพมหานครและชุมชนมีการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ โครงการและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเมืองแห่งการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้ แต่น่าสังเกตว่าชุมชนยังไม่ค่อยมีความเข้าใจยุทธศาสตร์ของกรุงเทพมหานคร การดำเนินการมีปัญหาระดับมากในด้านเจ้าหน้าที่ สื่อวัสดุ อุปกรณ์ในการเรียนรู้ และโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ส่วนกิจกรรมที่จัดให้ก็ยังไม่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ตามยุทธศาสตร์ของกรุงเทพมหานครจึงจำเป็นต้องมีการทำให้ผู้เกี่ยวข้องรวมทั้งภาครัฐและชุมชนเกิดความเข้าใจเป้าหมายร่วมกันและมีเจตจำนงเข้ามามีส่วนร่วม นอกจากนี้กรุงเทพมหานครยังต้องมีการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานที่พอเพียง พัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้อง พัฒนานวัตกรรมในแหล่งเรียนรู้และกิจกรรมการเรียนรู้ที่จะทำให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ที่กำหนดไว้ และตรงตามความต้องการของชุมชนen_US
dc.description.abstractalternativeThis research aimed to (1) analyze guidelines for developing learning centers in the learning cities in foreign countries; (2) analyze the present state, problems, and needs relating to learning centers in Bangkok metropolis; and (3) propose guidelines for the development of learning centers in accordance with the strategy of Bangkok Metropolitan Administration (BMA). Document research was used to analyze 16 learning cities in the United Kingdom, Australia, Canada, Republic of Finland, and Republic of Korea. A survey research was administered in Bangkok metropolis, using questionnaires for providers and users of learning centers. Data was then collected from 248 providers (86.71%) and 709 users (78.77%). Field researches, by means of in-depth interview and focus group discussion, were also employed in 5 types of community; namely, community housing, housing project community, suburban community, urban community, and slum areas. Proposed guidelines for the development of learning centers in accordance with the strategy of BMA were examined by experts. It was found that communities in selected countries had announced policies which envisioned their cities to become learning cities and encouraged innovative strategies that allowed their citizens to learn new skills and competencies throughout life. Efficient administration of such centers were thus imperatives for achieving that goal. Important factors included strong political will and commitment; participation of all stakeholders either from government, private sector, or community; as well as utilization of necessary resources. It was also found that information technology (IT) was widely used in most of the learning cities. Variety of innovative projects and activities were carefully designed in order to attract different target groups. In addition, participation from community members was encouraged. Findings from survey research and field study showed that even though BMA had launched their policy and strategies relating to learning cities and learning centers, community members still did not quite have a clear understanding about them. Both providers and users of learning centers agreed that there were highly problematic issues and obstructions regarding personnel, learning media, and other infrastructure. Moreover, most of the provided activities were not relevant to the needs of community members. In order to develop learning centers, BMA should seek ways to build mutual understanding and strong commitment among government sector, community, and related stakeholders; provide sufficient investment for infrastructure; support personnel development; and facilitate innovations in learning centers and activities that would attract various target groups and relevant to the needs of the communities.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.885-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการพัฒนาเมือง -- ไทย -- กรุงเทพฯ
dc.subjectผังเมือง -- ไทย -- กรุงเทพฯ
dc.subjectพิพิธภัณฑ์ชุมชน -- ไทย -- กรุงเทพฯ
dc.subjectUrban development -- Thailand -- Bangkok
dc.subjectCity planning -- Thailand -- Bangkok
dc.subjectCommunity museums -- Thailand -- Bangkok
dc.titleแนวทางการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ตามยุทธศาสตร์ของกรุงเทพมหานครen_US
dc.title.alternativeGUIDELINES FOR THE DEVELOPMENT OF LEARNING CENTERS IN ACCORDANCE WITH BANGKOK METROPOLITAN ADMINISTRATION STRATEGYen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineพัฒนศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorchanita.r@chula.ac.then_US
dc.email.advisorAmornwich.N@Chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.885-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5184498227.pdf8.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.