Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45371
Title: | AN EVALUATION OF ASEAN HARMONIZED COSMETIC REGULATORY SCHEME IMPLEMENTATION IN THAILAND |
Other Titles: | การประเมินการใช้ข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียนว่าด้วยการกำกับดูแลเครื่องสำอางในประเทศไทย |
Authors: | Neeranard Jinachai |
Advisors: | Puree Anantachoti |
Other author: | Chulalongkorn University. Faculty of Pharmaceutical Sciences |
Advisor's Email: | puree.a@chula.ac.th |
Subjects: | Cosmetics -- Law and legislation -- International unification Asean Free Trade Area Cosmetics -- Law and legislation -- Thailand เครื่องสำอาง -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- การทำให้เป็นเอกภาพ เขตการค้าเสรีอาเซียน เครื่องสำอาง -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย |
Issue Date: | 2014 |
Publisher: | Chulalongkorn University |
Abstract: | The ASEAN Harmonization was aimed to stabilize politics, and improve economic, social, and cultural aspects of the region. In the healthcare sector, cosmetics was the first to be harmonized and committed to implement the ASEAN Harmonized Cosmetics Regulatory Scheme (AHCRS) in January 2008, with full implementation expected in January 2011. This study was conducted to determine whether Thailand has complied with ASEAN Cosmetic Directive (ACD) in 2013 after 6 years of implementation, and to evaluate the competitiveness of Thai cosmetic industry after the ASEAN harmonization before entering the ASEAN Economic Community (AEC) in 2015. The Thai cosmetics Act B.E. 2535 and ACD were compared in 2008, and in 2013. Content analysis and in-depth interview were performed. The study revealed that Thailand has highly complied with ACD in all regulated areas; (i) definition and scope of cosmetics products (ii) ingredients’ listing (iii) labeling (iv) product claims and (v) good manufacturing practice. To officially implement ACD, the Thai regulator has to transpose the directive into local laws. During the legal process, one might notice discrepancy between these two laws. Although the country regulator intended to fully harmonize, some minor issues, such as the ingredients’ listing and labeling, cannot be implemented all at once. In summary, it can be concluded that the main objectives of AHCRS have been achieved. Harmonization in Thailand happened in an ASEAN way. The study was also conducted to evaluate the competitiveness of the Thai cosmetic industry. The import and export data from the International Trade Center (ITC) were gathered for the analysis. The Reveal Competitiveness Advantage (RCA) and Market Share (MS) of 6 leading countries in ASEAN; Singapore, Thailand, Indonesia, Malaysia, Philippines, and Vietnam were evaluated for 5 cosmetic categories of harmonized codes 3303-3307 in 7 years during 2007-2013. The study found that Thailand had absolute competitiveness in hair preparations (HS 3305) and oral care preparations (HS 3306) with reveal competitiveness more than 1 and market share more than 50% intra ASEAN market. However, Thailand had less competitiveness (RCA less than 1) in skin care and make up preparations (HS 3304) which is the biggest market, perfumes (HS 3303), and pre-, after shave, and deodorant preparations (HS 3307). The HS 3304 and HS 3305 were selected for in-depth study because of the huge contribution to the country’s cosmetic industry. The Diamond Model and SWOT analysis were applied used for the in-depth study. It was found that the key players for the cosmetic business of Thailand were multi-national companies. The key factors which mainly impacted the country competitiveness were conditions and government factors. The strengths are Thai cosmetic products were trusted by neighboring countries. Thailand has opportunities from herbal and natural sources of cosmetic ingredients and the well-known related and supporting business i.e. services and medical businesses. In order to maintain the absolute competitiveness of HS 3305 and to improve the competitiveness of HS 3304, the good coordination between government and industry should be considered. A huge effort and support from all relevant parties are required. |
Other Abstract: | การรวมตัวกันของประเทศอาเซียนมีเป้าประสงค์หลักร่วมกัน 3 ประการ คือ เพื่อเสถียรภาพทางการเมือง เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ และเพื่อพัฒนาสังคมและวัฒนธรรม เครื่องสำอางเป็นในกลุ่มผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพลำดับแรกที่ประกาศการใช้ข้อตกลงอาเซียนอย่างเต็มรูปแบบในปี ค.ศ. 2008 โดยให้ประเทศสมาชิกมีระยะเวลาปรับตัว 3 ปี การศึกษาครั้งนี้ได้เปรียบเทียบกฎระเบียบเครื่องสำอางในประเทศไทยกับบทบัญญัติเครื่องสำอางอาเซียน (ASEAN Cosmetic Directive) ในปี ค.ศ.2008 และ 2013 โดยใช้ข้อมูลจากการสืบค้นและการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการศึกษาพบว่าประเทศไทยมีกฎระเบียบที่สอดคล้องกับบทบัญญัติเครื่องสำอางอาเซียนเป็นส่วนใหญ่โดยไม่ต้องปรับกฎหมายของประเทศในทันทีในหัวข้อ (i) คำจำกัดความและขอบข่ายเครื่องสำอาง (ii) การแสดงสรรพคุณและการโฆษณา (iii) หลักเกณฑ์และมาตรฐานในการผลิตที่ดี มีบางรายการที่ประเทศไทยได้ปรับแก้กฎหมายเพื่อให้สอดคล้องกับอาเซียนได้แก่ในหัวข้อ (iv) รายการสารที่ใช้เป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอาง (v) ฉลากเครื่องสำอาง ทั้งนี้การนำบทบัญญัติเครื่องสำอางอาเซียนมาใช้ในประเทศไทยไม่สามารถคัดลอกมาได้ทั้งหมดในรูปแบบและเนื้อหา หากแต่มีความจำเป็นต้องปรับให้สอดคล้องกับกฎหมายหลักเดิมที่มีอยู่ คือพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2535 และบริบทของประเทศไทย โดยการพิจารณาจากคณะกรรมการเครื่องสำอางแห่งชาติทำให้เนื้อหา รูปแบบและเงื่อนไขเรื่องเวลาที่มีผลบังคับใช้แตกต่างออกไปโดยเฉพาะในเรื่องรายการสารและฉลากเครื่องสำอาง อย่างไรก็ตามถือได้ว่าประเทศไทยได้พยายามทำตามข้อตกลงของอาเซียนและเป็นไปตามรูปแบบการปฎิบัติทั่วไปของอาเซียน (ASEAN Way) การศึกษาครั้งนี้ยังได้ทำการประเมินศักยภาพการแข่งขันของไทยด้านเครื่องสำอางเทียบกับประเทศผู้นำด้านเศรษฐกิจในอาเซียนอื่นได้แก่ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลลิปปินส์ และเวียดนามโดยใช้ข้อมูลจาก International Trade Center (ITC) มาทำการประเมินโดยใช้ค่าความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ (Revealed Comparative Advantage (RCA)) และส่วนแบ่งตลาด (Market Share (MS)) ของเครื่องสำอางตามฮาโมไนซ์โคด 5 กลุ่ม (HS 3303-HS 3307) ในระยะเวลา 7 ปีตั้งแต่ ค.ศ. 2007 ถึง ค.ศ. 2013 ผลปรากฏว่าประเทศไทยมีศักยภาพการแข่งขันโดยสมบูรณ์ (RCA มากกว่า 1 และ มีส่วนแบ่งตลาดที่มากกว่าประเทศอื่น) ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม (HS 3305) และกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในช่องปาก (HS 3306) ในขณะเดียวกันประเทศไทยได้สูญเสียศักยภาพการแข่งขัน (RCA น้อยกว่า 1)ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ดูแลและตกแต่งผิว (HS 3304) กลุ่มน้ำหอม (HS 3303) และกลุ่มผลิตภัณฑ์โกนหนวดและระงับกลิ่นกาย (HS 3307) และได้คัดเลือก HS 3304 และ HS 3305 เพื่อศึกษาเชิงลึกถึงปัจจัยที่มีผลต่อศักยภาพการแข่งขันเนื่องจากเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีผลต่อภาพรวมทางเศรษฐกิจของประเทศด้านเครื่องสำอางโดยใช้โมเดลทางเศรษฐสาสตร์ Diamond Model และวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึกโดยวิธี SWOT analysis พบว่าปัจจัยหลักที่มีผลต่อการแข่งขันด้านเครื่องสำอางของประเทศ ได้แก่ ปัจจัยการผลิตและปัจจัยจากภาครัฐ และจุดแข็งของประเทศ คือเครื่องสำอางไทยเป็นที่ยอมรับของประเทศเพื่อนบ้าน โอกาสของประเทศไทยคือการที่เป็นแหล่งวัตถุดิบสมุนไพรและธรรมชาติที่สามารถนำมาใช้ในธุรกิจเครื่องสำอางได้ และมีธุรกิจที่เอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจด้านเครื่องสำอางอันเป็นที่รู้จักทั่วโลก ได้แก่ ธุรกิจด้านบริการ และด้านการแพทย์ ดังนั้นเพื่อที่จะรักษาศักยภาพการแข่งขันโดยสมบูรณ์ของ HS 3305 และพัฒนาศักยภาพการแข่งขันของ HS 3304 จึงต้องอาศัยความร่วมมืออย่างดีจากทั้งทางภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องเพื่อปรับนโยบายและกลยุทธ์ของประเทศให้เหมาะสมต่อไป |
Description: | Thesis (Ph.D.)--Chulalongkorn University, 2014 |
Degree Name: | Doctor of Philosophy |
Degree Level: | Doctoral Degree |
Degree Discipline: | Social and Administrative Pharmacy |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45371 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.137 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2014.137 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Pharm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5277105633.pdf | 4.13 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.