Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45381
Title: | การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและการคิดอย่างมีวิจารญาณเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการตัดสินใจทางจริยธรรมในวิชาชีพวารสารศาสตร์ |
Other Titles: | DEVELOPMENT OF A BLENDED INSTRUCTIONAL MODEL USING PROBLEM-BASED LEARNING APPROACH AND CRITICAL THINKING APPROACH TO ENHANCE ETHICAL DECISION-MAKING ABILITY IN JOURNALISTIC PROFESSION |
Authors: | วิเชษฐ์ แสงดวงดี |
Advisors: | อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง ธีรวดี ถังคบุตร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Onjaree.N@Chula.ac.th,nonjaree@chula.ac.th Theeravadee.T@Chula.ac.th |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานโดยการแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการตัดสินใจทางจริยธรรมในวิชาชีพวารสารศาสตร์ โดยใช้การวิจัยเพื่อพัฒนา แบ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิ 29 คนและการสนทนากลุ่มผู้เรียน และการวิจัยเชิงปริมาณได้แก่ การวิจัยกึ่งทดลองโดยใช้แบบแผนการวิจัยแบบกลุ่มเดียวมีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน โดยกลุ่มตัวอย่างสำหรับการทดลองได้แก่ นักศึกษาสาขาวารสารศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัย ราชภัฎนครปฐม จำนวน 41 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่สถิติพรรณนาและสถิติทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการตัดสินใจทางจริยธรรมในวิชาชีพวารสารศาสตร์ มี 4 องค์ประกอบสำคัญ ได้แก่ 1) การแนะนำรูปแบบการเรียนการสอน ได้แก่ ความเป็นมา หลักการ วัตถุประสงค์ และแนวคิดทฤษฎีที่เป็นพื้นฐาน 2) รายละเอียดของรูปแบบการสอน แบ่งเป็น 2.1 องค์ประกอบของรูปแบบการเรียนการสอน และ 2.2 ขั้นตอนของรูปแบบการเรียนการสอน 3) คำแนะนำการใช้รูปแบบการเรียนการสอน และ 4) ผลที่จะเกิดขึ้นจากการสอนตามรูปแบบการเรียนการสอน 2. นักศึกษาสาขาวารสารศาสตร์ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น มีคะแนนเฉลี่ยความรู้ เจตคติ และทักษะต่อกระบวนการตัดสินใจทางจริยธรรมในวิชาชีพ วารสารศาสตร์สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนการสอนอยู่ในระดับมาก |
Other Abstract: | The purpose of this study was to develop a blended instructional model using critical problem-based learning to enhance ethical decision-making ability in journalistic profession. The research and development was brought using mixed methodology comprising the qualitative methodology; in-depth interview technique with 29 experts and 10 students focus group technique, and quantitative methodology; quasi-experimental research with one group pretest-posttest designs. The samples participated in 8 weeks of the experiment, were 41 students majoring in journalism, the Faculty of Management Science, Nakhonpathom Rajabhat University. The data collected were analyzed by descriptive and paired-samples t-test. The research results found that the blended instructional model using critical problem-based learning to enhance ethical decision-making ability in journalistic profession have four components: 1) the introduction of the instructional model which consists of the background, the principles, the objectives, the approaches or theories, 2) the details of the instructional model including its’ components and processes, 3) the condition and 4) the effect of using the instructional model. After studying with the instructional model created, the journalism student’average post-test score on ethical decision-making ability consisting of knowledge, attitude and skill, were significantly higher than the average of pre-test score at the .05 statistical level. Moreover, they were pleased with the instructional model at a high level. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45381 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5284477127.pdf | 11.9 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.