Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45423
Title: | การปรับปรุงคุณภาพน้ำทิ้งจากอาคารโดยกำจัดสารอินทรีย์ละลายและฟอสฟอรัสด้วยการดูดซับโดยตัวกลางถ่านกัมมันต์เคลือบเหล็กออกไซด์ |
Other Titles: | IMPROVEMENT OF BUILDING EFFLUENT QUALITY BY ADSORPTION OF DISSOLVED ORGANIC CARBON AND PHOSPHORUS WITH IRON OXIDE COATED ACTIVATED CARBON |
Authors: | มาชัย ณัฐกุญชร |
Advisors: | ชวลิต รัตนธรรมสกุล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Chavalit.R@Chula.ac.th,dr_chawalit@yahoo.com |
Subjects: | ฟอสฟอรัส การดูดซับ น้ำ -- ปริมาณสารประกอบอินทรีย์ Phosphorus Adsorption Water -- Organic compound content |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการปรับปรุงคุณภาพน้ำทิ้งจากอาคารโดยการบำบัดค่าซีโอดีและฟอสฟอรัสในน้ำทิ้งที่ผ่านการบำบัดด้วยระบบบำบัดน้ำเสียสำหรับอาคาร โดยดำเนินการทดลองแบบแบ็ตช์สำหรับการหาค่าความสามารถดูดซับมากที่สุดของตัวกลางที่ใช้จากกราฟของไอโซเทอร์ม ตัวกลางที่พิจารณาเลือกใช้ในงานวิจัยนี้ได้แก่ ทรายเคลือบเหล็กออกไซด์ ถ่านกัมมันต์เคลือบเหล็กออกไซด์ และถ่านกัมมันต์ และการใช้คอลัมน์ตัวกลางเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการบำบัดฟอสฟอรัสและสารอินทรีย์ละลายในน้ำทิ้ง โดยศึกษาผลของเวลากักเก็บของระบบโดยการปรับค่าระยะเวลากักเก็บ ที่มีผลต่อประสิทธิภาพการกำจัดสารอินทรีย์หลงเหลือและฟอสฟอรัส จากผลการทดลองพบว่าถ่านกัมมันต์เคลือบเหล็กออกไซด์สามารถดูดซับฟอสฟอรัสได้ในปริมาณมากกว่าทรายเคลือบเหล็กออกไซด์ในการทดลองแบบแบ็ตช์ ส่วนเมื่อทำการทดลองแบบคอลัมน์จะพบว่าในปริมาตรเท่าๆกันถ่านกัมมันต์เคลือบเหล็กออกไซด์สามารถบำบัดฟอสฟอรัสได้นานกว่าทรายเคลือบเหล็กออกไซด์ สำหรับกลไกการบำบัดนั้นอาศัยกลไการดูดซับสารฟอสฟอรัสในน้ำเป็นปัจจัยหลัก สาเหตุที่ถ่านกัมมันต์เคลือบเหล็กออกไซด์สามารถกำจัดฟอสฟอรัสได้ดีกว่าทรายเคลือบเหล็กออกไซด์ที่ความเข้มข้นเดียวกันกันก็เป็นเพราะว่าถ่านกัมมันต์เคลือบเหล็กออกไซด์มีเหล็กออกไซด์เคลือบอยู่มากกว่าทรายเคลือบเหล็กออกไซด์ที่ปริมาตรเท่ากัน ทั้งนี้เหล็กออกไซด์ที่เคลือบบนถ่านกัมมันต์และทรายมีสมบัติในการดูดซับฟอสฟอรัสซึ่งเกิดโดยหมู่ไฮดรอกซิลที่เกาะตัวอยู่บนพื้นผิวเหล็กออกไซด์ตอนสัมผัสกับน้ำ แต่ปฏิกิริยาการดูดซับที่เกิดขึ้นจะทำให้หมู่ไฮดรอกซิลแตกตัวให้ H+ ออกมา ซึ่งส่งผลให้ค่า pH ของน้ำลดลงตราบเท่าที่ยังเกิดปฏิกิริยาดูดซับอยู่ |
Other Abstract: | This research aims to improve treated water quality for building effluent. The studies were performed in batch-scale and column test, using iron-oxide coated activated carbon, iron-oxide coated sand, and activated carbon for treatment of phosphorus and reduction of chemical oxygen demand from treated effluent from building wastewater treatment unit. Here, the column experiment is employed to investigate the effect of hydraulic retention time on phosphorus adsorption by the above adsorbent media. The result shows that iron-oxide coated activated carbon could adsorb phosphorus faster than that of iron-oxide coated sand in the batch experiment. For the column test, it was found that the service time of iron-oxide coated activated carbon was longer than that of iron-oxide coated sand. The main phosphorus removal phenomena is due to adsorption of phosphorus by hydrous oxide on the surface of adsorbents. Moreover, due to more iron oxide on surface of iron oxide coated activated carbon than that of iron oxide coated sand, higher phosphorus adsorption was achieved with iron oxide coated activated carbon. Hydroxyl group on the surface of iron oxide plays an important role for phosphorus adsorption , leading to yield proton or H+ to the treated effluent. This might cause pH decrease in the treated effluent. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45423 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.914 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2014.914 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5470333221.pdf | 5.06 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.