Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45434
Title: การควบคุมย่านความยาวคลื่นและการลดทอนกำลังแสงในกระบวนการเขียนแบรกเกรตติงบนใยแก้วนำแสง
Other Titles: CONTROLS OF WAVELENGTH BANDWIDTH AND ATTENUATION IN WRITING PROCESS ON FIBER BRAGG GRATING
Authors: ธาศิรัตน์ ระวิวรรณ
Advisors: สมชาย พัวจินดาเนตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Somchai.Pua@Chula.ac.th,fiespj@eng.chula.ac.th
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษานี้มีจุดประสงค์เพื่อปรับปรุงความสามารถของกระบวนการสร้างแบรกเกรตติงบนเส้นใยแก้ว ดำเนินการโดย (1) วัดปริมาณก๊าซไฮโดรเจนในเส้นใยแก้วในรูปของค่าลดทอนของแสงที่ความยาวคลื่น 1240 nm เพื่อเทียบเคียงระยะเวลาจัดเก็บ(H2) (2) ศึกษาอิทธิพลของระยะเวลาที่ใช้ในการจัดเก็บเส้นใยแก้วในช่วง 10, 20 และ 30 วัน กำลังของแสงเลเซอร์(HV) ที่ 19, 20 และ 21 kV และจำนวนครั้งที่ยิงแสงเลเซอร์ต่อรอบการบำรุงรักษา(MN) ที่ 20 และ 40 ล้านครั้ง (3) ศึกษาผลกระทบของปัจจัยตอบสนอง ได้แก่ ค่าแบนด์วิดท์(BW), ค่าความยาวคลื่นกึ่งกลาง(CTW) และค่าลดทอนที่ความยาวคลื่น 1650 nm และ (4) เปรียบเทียบผลก่อนและหลังการศึกษา จากผลการศึกษาพบว่า (1) ค่าลดทอนเนื่องจากการสูญเสียก๊าซไฮโดรเจนในเส้นใยแก้ว (H2 loss: Y) มีแนวโน้มลดลงเมื่อจำนวนวันที่ใช้ในการจัดเก็บเส้นใยแก้ว(X) เพิ่มด้วยด้วยอัตรา 0.0365 dB/วัน ตามสมการ Y = -0.0365X + 5.7941 โดยมีค่า R2 = 87.56% (2) ระยะเวลาจัดเก็บเส้นใยแก้วมีผลต่อการสูญเสียก๊าซไฮโดรเจนและค่าลดทอน (3) กำลังแสงเลเซอร์มีผลต่อค่า BW และ CTW แต่ไม่ส่งผลต่อค่าลดทอน โดยที่ปัจจัย MN ไม่มีผลต่อค่า BW และค่าลดทอนที่ความยาวคลื่น 1650 nm แต่มีผลต่อค่า CTW (4) เงื่อนไขระยะเวลาในการจัดเก็บเส้นใยแก้วที่ 10 วัน, กำลังของแสงเลเซอร์ 19 kV และจำนวนครั้งที่ยิงแสงเลเซอร์หลังผ่านการบำรุงรักษาที่ 20 ล้านครั้ง ส่งผลทำให้โอกาสในการเกิดของเสียลดลงจากเดิม 21,500 ppm เหลือ 5,000 ppm คิดเป็น 76.7% และความสามารถของกระบวนการเพิ่มขึ้นจากเดิม 0.59 เป็น 1.14
Other Abstract: The purpose of this research was to improved process capability on writing process of Fiber Bragg Grating. The study was to (1) measure Hydrogen gas (H2) in fiber optics with the relation of attenuation at 1240 nm and storage period, (3) study the effect of storage period of fiber optics at 10, 20 and 30 days, power of laser at 19, 20 and 21 kV and laser pulses after machine maintenance at 20 and 40 million pulse, (3) study the response variable as Bandwidth (BW), Center wavelength (CTW) and attenuation at 1650 nm, and (4) compare before and after study results. The results of the study were found that (1) attenuation at 1240 nm (Y) trend to decreased with day of storage period (X) increased as the equation Y = -0.0365X + 5.7941 and R2 = 87.6%, (2) the storage period could affected on the H2 loss in fiber optics (3) the laser power was significant on the bandwidth(BW) and Center wavelength(CTW) but insignificant on the attenuation loss, the laser pulses could not affected on BW and attenuation loss but affected on CTW, (4) the storage of 10 days, laser power of 19 kV and laser pulses of 20 million pulse could reduce the defect per million opportunity(DPMO) before and after study from 21,500 ppm to 5,000 ppm or 76.7% decreased, but could increase the process capability(Cp) from 0.59 to 1.14
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45434
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5470948221.pdf3.91 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.