Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45496
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชุมพร ปัจจุสานนท์th
dc.contributor.authorยวิษฐา จันทร์ทิพย์th
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์th
dc.date.accessioned2015-09-17T04:02:34Z
dc.date.available2015-09-17T04:02:34Z
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45496
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557th
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึง นิยามของรัฐที่เสียเปรียบทางภูมิศาสตร์ ตลอดจน สิทธิ วิธีใช้สิทธิ ข้อจำกัดสิทธิ และการระงับข้อพิพาทที่เกี่ยวกับรัฐที่เสียเปรียบทางภูมิศาสตร์ ในการเข้าร่วมแสวงประโยชน์จากทรัพยากรมีชีวิตในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของรัฐชายฝั่งที่อยู่ในอนุภูมิภาคหรือภูมิภาคเดียวกัน ตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 เมื่อพิจารณาถึงสารัตถะในบทบัญญัติที่เกี่ยวกับนิยามของรัฐที่เสียเปรียบทางภูมิศาสตร์แล้ว จะเห็นได้ว่า กฎหมายได้บัญญัติไว้อย่างกว้างขวาง เนื่องจาก ได้บัญญัติถึง “การพึ่งพาทางโภชนาการ” ของรัฐเอาไว้ และเป็นปัญหาอันนำมาซึ่งการพิจารณาศึกษาในครั้งนี้ ผลจากการศึกษาพบว่า ประเทศไทยไม่มีลักษณะเป็นรัฐที่เสียเปรียบทางภูมิศาสตร์ อย่างไรก็ดี ประเทศไทยในฐานะที่เป็นรัฐชายฝั่งที่กำลังพัฒนาที่อยู่ในอนุภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และภูมิภาคเอเชีย ซึ่งในอนุภูมิภาคและภูมิภาคดังกล่าวมีรัฐที่เสียเปรียบทางภูมิศาสตร์ที่กำลังพัฒนาตั้งอยู่ ประเทศไทยอาจจะไม่ยินยอมให้รัฐที่เสียเปรียบทางภูมิศาสตร์เช่นว่านั้นเข้าร่วมแสวงประโยชน์จากทรัพยากรมีชีวิตในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของประเทศไทยก็ได้ เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับสิทธิอธิปไตยในเรื่องการอนุรักษ์และการจัดการทรัพยากรมีชีวิตในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของประเทศไทย นอกจากนี้ ประเทศไทยอาจจะอ้างได้ว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยต้องพึ่งพาการแสวงประโยชน์จากทรัพยากรมีชีวิตในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของตนเป็นอย่างยิ่ง อันเป็นข้อยกเว้นการบังคับใช้บทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิของรัฐที่เสียเปรียบทางภูมิศาสตร์ ด้วยเหตุนี้ รัฐที่เสียเปรียบทางภูมิศาสตร์ที่กำลังพัฒนาที่อยู่ในอนุภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และภูมิภาคเอเชีย จึงไม่อาจจะเข้ามาแสวงประโยชน์จากทรัพยากรมีชีวิตในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของประเทศไทยได้en_US
dc.description.abstractalternativeThis thesis aims to study the definition of geographically disadvantaged States, along with the right, the use of right, the restriction of right and the settlement of disputes relating to geographically disadvantaged States regarding the participation in exploitation of the living resources of the exclusive economic zones of coastal States of the same subregion or region under United Nations Convention on the Law of the Sea 1982. Considering the provisions concerning geographically disadvantaged States, it can be seen that the definition of geographically disadvantaged States is broadly provided especially the use of the term ‘nutritional dependence’. This broad definition may lead to controversial issue in law enforcement and thus become core question of this study. The results of the study reveal that Thailand cannot be classified as the geographically disadvantaged State. However Thailand, as the developing coastal State in Southeast Asia subregion and the region of Asia, where many developing geographically disadvantaged States are located in, may disapprove the participation of those developing geographically disadvantaged States in exploitation of the living resources in Thailand’s exclusive economic zone because of its sovereign rights relating to conservation and management of the living resources of the area. Moreover, Thailand may claim that its economy is overwhelmingly dependent on the exploitation of the living resources of its exclusive economic zone and this reason is counted as restriction on the exercise of the right of geographically disadvantaged States. Therefore the developing geographically disadvantaged States in Southeast Asia subregion and the region of Asia are unauthorized to participate in exploitation of the living resources of the area.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.948-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectกฎหมายทะเล -- ไทยth
dc.subjectอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ.1982th
dc.subjectการบังคับใช้กฎหมาย -- ไทยth
dc.subjectLaw of the sea -- Thailanden_US
dc.subjectUnited Nations Convention on the Law of the Sea 1982en_US
dc.subjectLaw enforcement -- Thailanden_US
dc.titleสิทธิของรัฐที่เสียเปรียบทางภูมิศาสตร์ตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ.1982th
dc.title.alternativeRIGHT OF GEOGRAPHICALLY DISADVANTAGED STATES UNDER UNITED NATIONS CONVENTION ON THE LAW OF THE SEA 1982en_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth
dc.degree.levelปริญญาโทth
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์th
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยtht
dc.email.advisorChumphorn.P@Chula.ac.th,chumporn.p@chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.948-
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5486023434.pdf4.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.