Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45542
Title: การจัดหาเส้นทางแบบมัลติแคสต์ของไอพีทีวีในโครงข่ายเอสดีเอ็น/โอเพนโฟลว์
Other Titles: IPTV MULTICAST ROUTING IN SDN/OPENFLOW
Authors: พรณิภา รัตนาวดี
Advisors: ชัยเชษฐ์ สายวิจิตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Chaiyachet.S@Chula.ac.th,Chaiyachet.S@Chula.ac.th
Subjects: การแพร่สัญญาณเฉพาะกลุ่ม (เครือข่ายคอมพิวเตอร์)
Multicasting (Computer networks)
Software-defined networking (Computer network technology)
OpenFlow (Computer network protocol)
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้ได้ศึกษาการคำนวณเส้นทางของโครงข่ายโอเพนโฟลว์โดยการใช้ตัวควบคุมพอกซ์ และมีการใช้ขั้นตอนวิธีต้นไม้แบบทอดข้ามที่มีอยู่ในตัวควบคุมในการคำนวณเส้นทาง เนื่องจากการคำนวณเส้นทางด้วยขั้นตอนวิธีต้นไม้แบบทอดข้ามนี้ไม่มีการพิจารณาน้ำหนักของเส้นเชื่อมระหว่างโอเพนวีสวิตช์ งานวิทยานิพนธ์นี้จึงนำเสนอการพัฒนาการคำนวณเส้นทางภายในตัวควบคุมพอกซ์ให้สามารถคำนวณน้ำหนักของเส้นเชื่อมระหว่างโอเพนวีสวิตช์โดยเสนอขั้นตอนวิธีไดร์คสตราและพริม เส้นทางที่ได้จากการคำนวณของตัวควบคุมพอกซ์จะถูกใช้เพื่อให้บริการไอพีทีวีแบบมัลติแคสต์ ในการทดลองได้ใช้โปรแกรมมินิเน็ทเพื่อเลียนแบบการทำงานภายในโครงข่ายโอเพนโฟลว์ โครงข่ายโอเพนโฟลว์ที่ใช้ในการทดลองประกอบด้วยตัวบริการไอพีทีวี ลูกข่ายไอพีทีวี โอเพนวีสวิตช์และตัวควบคุมพอกซ์ โดยวิทยานิพนธ์นี้มีการเปรียบเทียบเวลาที่ใช้ในการส่งแพ็กเกตยูดีพีจากตัวบริการไอพีทีวีไปยังลูกข่ายไอพีทีวีทั้งหมดและมีการทดสอบการสตรีมวีดีทัศน์จากตัวบริการไอพีทีวีไปยังลูกข่ายไอพีทีวีด้วย นอกจากนี้เพื่อให้เห็นผลกระทบของการใช้โครงข่ายโอเพนโฟลว์ในการให้บริการไอพีทีวี งานวิจัยนี้จึงมีการทดลองเวลาที่ตัวควบคุมพอกซ์ใช้ในการเรียนรู้การเชื่อมต่อระหว่างโอเพนวีสวิตช์รวมถึงเวลาที่ใช้ในการคำนวณเส้นทางของแต่ละขั้นตอนวิธี ซึ่งจากผลการทดลองสามารถสรุปได้ว่าการคำนวณเส้นทางด้วยขั้นตอนวิธีไดร์คสตรานั้นเหมาะสมกับการให้บริการไอพีทีวีแบบยูนิแคสต์และขั้นตอนวิธีต้นไม้แบบทอดข้ามและพริมเหมาะสมกับการให้บริการไอพีทีวีแบบมัลติแคสต์ โดยการทำงานของตัวควบคุมพอกซ์ไม่มีผลกระทบกับการให้บริการไอพีทีวีบนโครงข่ายโอเพนโฟลว์
Other Abstract: This thesis has studied the route calculation of OpenFlow network by using POX controller and spanning tree algorithm in POX controller has been used to calculate routes. Since this route calculation by using spanning tree algorithm did not consider edge weight between Open vSwitches. This thesis proposed the development of route calculation within POX controller that can calculate edge weight between Open vSwitches by implementing Dijkstra’s and Prim’s algorithms. The route calculation of POX controller has been used to IPTV multicast service. Emulated-OpenFlow network has been implemented by using Mininet emulator in order to deploy OpenFlow IPTV multicast service. The OpenFlow network is composed of IPTV services, IPTV clients, Open vSwitches and POX controller. This thesis compares the time of sending UDP packets from IPTV server to all IPTV clients and demonstrates video streaming from IPTV server to IPTV clients. In addition to consider the impact of OpenFlow network usability of IPTV service . This thesis demonstrates the time of POX controller uses to learn the connection between Open vSwitch including the time of POX controller uses to calculate route of three algorithms. The experiment results shown that the route calculation of Dijkstra’s algorithm is suitable for IPTV unicast service and Spanning tree’s as well as Prim’s algorithms are suitable for IPTV multicast service. The function of POX controller do not have impact for IPTV service on OpenFlow network.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมไฟฟ้า
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45542
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.977
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.977
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5570553021.pdf2.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.