Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4555
Title: ผลของธัยรอยด์ฮอร์โมนต่อการทำงานของไตที่ตอบสนองต่อสารนอร์อิพิเนฟรินในสุนัข
Other Titles: Effects of thyroid hormone on renal response to norepinephrine infusion in dogs
Authors: พนิดา ลัดดาอาชชวะ
Advisors: ชลลดา บูรณกาล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์
Advisor's Email: bchollad@pioneer.netserv.chula.ac.th
Subjects: ธัยรอยด์ฮอร์โมน
ไต
สุนัข
นอร์อิพิเนฟริน
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ทำการศึกษาในสุนัขเพศผู้ จำนวน 14 ตัว น้ำหนักระหว่าง 11-15 กิโลกรัม แบ่งสุนัขเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 7 ตัว คือ กลุ่มควบคุม (euthyroid) และกลุ่มทดลอง ซึ่งกินแอลธัยร็อกซิน 3 มก. ต่อตัว ต่อวัน เป็นเวลา 2 สัปดาห์ (hyperthyroid) ในวันที่ทำการทดลองสุนัขแต่ละตัวจะถูกวางยาสลบและได้รับสารนอร์อิพิเนฟริน (NE) ในขนาด 0.1, 0.2, 0.4, 0.8 และ 1 ไมโครกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อนาที ฉีดเข้าทางหลอดเลือดแดงที่ไตข้างซ้ายด้วยอัตรา 0.2 มิลลิลิตรต่อนาทีจนกว่าปัสสาวะจะหยุดไหล ทำการศึกษาการทำงานของไต ความดันเลือดและปริมาตรเม็ดเลือดแดงอัดแน่นในช่วงควบคุมและภายหลังจากการฉีดสาร NE เมื่อสิ้นสุดการทดลองสุนัขจะถูกฉีดยาให้เสียชีวิต นำไตออกมาวัดการทำงานของเอนไซม์ Na-K ATPase และการใช้ออกซิเจนที่ไต ผลการทดลองพบว่าสุนัขกลุ่ม hyperthyroid ค่าความดันเลือดแดงเฉลี่ย (MAP) มีแนวโน้มลดลง ในขณะที่อัตราการเต้นของหัวใจ (HR) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับสุนัขกลุ่ม euthyroid ในสุนัขกลุ่ม hyperthyroid พบว่าอัตราการไหลของปัสสาวะ (V) เพิ่มขึ้นเล็กน้อยสำหรับอัตราการกรอง (GFR), อัตราการไหลของพลาสมา (ERPF), อัตราการไหลของเลือดที่ผ่านเข้าไต (ERBF) และอัตราการขับทิ้งโพแทสเซียม (UkV) และคลอไรด์ (UClV) ลดลงเมื่อเทียบกับสุนัขกลุ่ม euthyroid อย่างไรก็ตามในสุนัขกลุ่ม hyperthyroid พบว่าลดลงของอัตราการขับทิ้งโซเดียม (UNaV) มากกว่าสุนัขกลุ่ม euthyroid อย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) เมื่อฉีดสาร NE พบว่ามีการเพิ่มขึ้นของ MAP ในขณะที่ HR, V, GFR, ERPF และ ERBF มีค่าลดลงจากช่วงควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) พบการลดลงของ UNaV, UKV และ UClV อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเช่นกัน (P<0.05) ในสุนัขทั้งสองกลุ่ม แต่สุนัขกลุ่ม hyperthyroid มีการลดลงของ GFR และ UNaV มากกว่าสุนัขกลุ่ม euthyroid อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) นอกจากนี้พบการเพิ่มขึ้นของสัดส่วนการขับทิ้งโซเดียม (FENa) และคลอไรด์ (FECl) ทางปัสสาวะในสุนัขกลุ่ม hyperthyroid มากกว่าสุนัขกลุ่ม euthyroid อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) การศึกษาความไวของสาร NE ที่ทำให้อัตราการกรองและอัตราการไหลของเลือดที่ผ่านเข้าไตลดลง 50% (ED50) พบว่า สุนัขกลุ่ม hyperthyroid มี ED50 น้อยกว่าแสดงว่าหลอดเลือดมีความไวมากกว่า จากการศึกษาการทำงานของเอนไซม์ Na-K ATPase และการใช้ออกซิเจนที่ไต พบการเพิ่มขึ้นของการทำงานของเอนไซม์ Na-K ATPase ที่ไตข้างที่ฉีด (ซ้าย) มากกว่าไตข้างที่ไม่ได้ฉีด (ขวา) ในสุนัขทั้งสองกลุ่ม อย่างไรก็ตาม การทำงานของเอนไซม์ Na-K ATPase ที่บริเวณ oiter medulla ข้างซ้ายในสุนัขกลุ่ม hyperthyroid มีค่ามากกว่าสุนัขกลุ่ม euthyroid อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ภายหลังจากการได้รับสาร NE 40 นาที พบว่า สุนัขกลุ่ม euthyroid มีการใช้ออกซิเจนที่ไตลดลงจากช่วงควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ในขณะที่ O [subscript 2] extraction ratio มีค่าเพิ่มขึ้นจากช่วงควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเช่นกัน (P<0.05) สำหรับสุนัขกลุ่ม hyperthyroid พบว่าการใช้ออกซิเจนที่ไตและค่า O [subscript 2] extraction ratio มีการเปลี่ยนแปลงมากกว่าสุนัขกลุ่ม euthyroid และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างสุนัขทั้งสองกลุ่มหลังจากฉีดสาร NE พบว่า สุนัขกลุ่ม hyperthyroid มีการใช้ออกซิเจนที่ไต และ O [subscript 2] extraction ratio มากกว่าสุนัขกลุ่ม euthyroid จากผลการทดลองทั้งหมดสรุปได้ว่า ธัยรอยด์ฮอร์โมนออกฤทธิ์ร่วมกับสาร NE จะเพิ่มการหดตัวของหลอดเลือดแดงที่ไตและกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ Na-K ATPase ร่วมกับการเพิ่มขึ้นของ O [subscript 2] extraction ratio ผลที่ได้คือ การขับทิ้งโซเดียมทางไตลดลงอย่างมาก อย่างไรก็ตามธัยรอยด์ฮอร์โมนมีผลน้อยต่อการเปลี่ยนแปลงการทำงานของไตโดยตรง ผลของธัยรอยด์ฮอร์โมนต่อระบบการไหลเวียนเลือดที่มีต่อการขับทิ้งโซเดียม การใช้ออกซิเจนและการทำงานของเอนไซม์ Na- K ATPase ยังไม่ทราบแน่ชัดและยังต้องมีการศึกษาต่อไป
Other Abstract: The study was carried out in fourteen male mongrel dogs weighing between 11-15 kg. The dogs were divided into 2 groups of seven dogs each, the control (euthyroid) and the experimental hyperthyroid groups (receiving L-thyroxine 3 mg/dog/day for 2 weeks). On the day of the experiment, the dog was anesthetized. Norepinephrine (NE) was infused into the left renal artery at the dose of 0.1, 0.2, 0.4, 0.8 and 1 mug/kg/minute until the urine flow stopped. Renal function, blood pressure and packed cell volume were measure and packed cell volume were measured before and after NE infusion. After renal function study, the dog was euthanized. Both kidneys were removed, Na-K ATPase enzyme activity, O2 uptake and O2 extraction ratio were determined. The results show that mean arterial blood pressure (MAP) had tended to decrease while the heart rate (HR) increase in the hyperthyroid compared to the euthyroid dogs. In hyperthyroid dogs, the urine flow rate (V) slightly increased while the glomerular filtration rate (GFR),the effective renal plasma flow (ERPF), the effective renal blood flow (ERBF) and the urinary excretion of K (UKV) and chloride (UClV) decreased. The urinary excretion of Na (UNaV) decreased significantly (P<0.05) in the hyperthyroid compared to the euthyroid dogs. During NE infusion, MAP increased while HR, V, GFR, ERPF and ERBF decreased significantly (P<0.05) compared to the pre-infusion period. The UNaV, UKV and UClV decreased significantly (P<0.05) in both groups. The GFR and the UNaV in the hyperthyroid dogs decreased more than those of the euthyroid dogs in response to NE infusion (P<0.05). The fractional excretion of both Na (FENa) and chloride (FECl) were also increased (P<0.05). The study of the effective dose of NE that decreased the GFR and the ERBF by 50% (ED50) showed that the ED50 in hyperthyroid dogs was less than that of the euthyroid dogs suggesting the higher sensitivity of the renal vasculature. The studies of renal Na-K ATPase activity and renal O2 uptake showed that the enzyme activitywas higher in the infused kidney (left) more than that of the non-infused kidney (right) in both groups. The activity at the outer medulla of the left kidney inthe hyperthyroid dogs was significantly higher than that of the euthyroids (P<0.05). After 40 minute NE infusion, the renal O2 uptake in euthyroid dogs decrease significantly (P<0.05) while the O2 extraction ratio increased (P<0.05). In the hyperthyroid dogs the changes were not pronounce. After NE infusion, the hyperthyroid dogs had more O2 uptake and O2 extraction ratio than those of the euthyroid dogs. From these results, it can be concluded that thyroid hormone acted synergistically with the NE to affect renal hemodynamic and stimulate the Na-K ATPase activity combined with increased O2 extraction ratio resulting in decreasing in the urinary sodium excretion. However, thyroid hormone slightly affected direct renal hemodynamic. Changes of the general circulation, which affected urinary sodium excretion, the O2 uptake and Na-K ATPase activity in hyperthyroidism, are not clear.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สรีรวิทยาการสัตว์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4555
ISBN: 9743336648
Type: Thesis
Appears in Collections:Vet - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
panida.pdf3.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.