Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45590
Title: ปัจจัยทำนายความสำเร็จของการหย่าเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยวิกฤต
Other Titles: PREDICTING FACTORS OF SUCCESSFUL WEANING FROM MECHANICAL VENTILATOR IN CRITICALLY ILL PATIENTS
Authors: ธรรมวิทย์ ราญรอน
Advisors: นรลักขณ์ เอื้อกิจ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Noraluk.U@Chula.ac.th,noralukuakit@yahoo.com
Subjects: เครื่องช่วยหายใจ
การดูแลขั้นวิกฤต
การหายใจไม่เพียงพอ
Respirators (Medical equipment)
Critical care medicine
Respiratory insufficiency
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยสหสัมพันธ์เชิงทำนาย เพื่อศึกษาอำนาจทำนายของปัจจัยทำนาย ได้แก่ ความวิตกกังวล การรับรู้ความเพียงพอการนอนหลับ การรับรู้สมรรถนะแห่งตน การรับรู้ความรุนแรงของการเจ็บป่วย การสนับสนุนทางสังคมและความรู้สึกไม่แน่นอนในการหย่าเครื่องช่วยหายใจกับความสำเร็จของการหย่าเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยวิกฤต กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยที่มีภาวะหายใจล้มเหลวต้องใส่ท่อช่วยหายใจและได้รับการหย่าเครื่องช่วยหายใจโดยวิธีทดสอบหายใจเองโดยใช้ท่อรูปตัวทีทั้งเพศและหญิง อายุ 18-59 ปี จำนวน 97 คน ในหอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์และโรงพยาบาลลำปาง โดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบบันทึกข้อมูลพื้นฐาน 2) แบบประเมินความสำเร็จในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ 3) แบบประเมินความรุนแรงของการเจ็บป่วย 4) แบบประเมินความวิตกกังวล 5) แบบประเมินการรับรู้ความเพียงพอการนอนหลับ 6) แบบประเมินการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ 7) แบบประเมินการรับรู้ความรุนแรงของการเจ็บป่วย 8) แบบประเมินการได้รับการสนับสนุนทางสังคมในผู้ป่วยวิกฤต 9) แบบประเมินความรู้สึกไม่แน่นอนในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ และ 10) แบบประเมินความพร้อมในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาของแบบประเมินที่ 1, 2, 4, 5, 6, 7, 8 และ 9 เท่ากับ .80 ถึง 1 ค่าความเที่ยงของประเมินที่ 4, 5, 6, 7, 8 และ 9 เท่ากับ .92 ถึง .98 วิเคราะห์ข้อมูลการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติคทวิ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ปัจจัยที่สามารถทำนายความสำเร็จในการหย่าเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยวิกฤตได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 มี 3 ปัจจัยคือ ความวิตกกังวล (odd ratio = 0.92, 95% CI 0.84 – 0.10) การรับรู้ความเพียงพอการนอนหลับ (odd ratio = 2.05, 95% CI 1.15 – 3.64) และการสนับสนุนทางสังคม (odd ratio = 1.26, 95% CI 1.02 – 1.56) ส่วนปัจจัยปัจจัยการรับรู้สมรรถนะแห่งตน การรับรู้ความรุนแรงของการเจ็บป่วยและความรู้สึกไม่แน่นอนในการหย่าเครื่องช่วยหายใจไม่สามารถทำนายได้ จากสมการถดถอยโลจิสติคทวิของความสำเร็จในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ พบว่าในผู้ป่วยที่หย่าเครื่องช่วยหายใจสำเร็จสามารถทำนายได้ถูกต้องร้อยละ 96.2 และผู้ป่วยที่หย่าเครื่องช่วยหายใจไม่สำเร็จสามารถทำนายได้ถูกต้องร้อยละ 82.4 โดยเฉลี่ยแล้วสามารถทำนายได้ถูกต้องร้อยละ 93.8
Other Abstract: The purpose of this research study aimed to examine whether anxiety, perceived sufficient of sleep, perceived self-efficacy, perceived severity of disease, social support, and uncertainty in weaning for patients with assisted ventilators could predict the success of weaning in critically ill patients with assisted ventilators. Ninety-seven in-patients with respiratory failure under invasive mechanical ventilators were on weaning with oxygen T-piece. Males and females aged between 18 and 59 years were recruited from a multistage random sampling in in-patient departments, Chiangrai Prachanukroh and Lampang Hospitals. Questionnaires were composed of 1) demographic information 2) the success of weaning record 3) the assessment of severity of illness 4) anxiety visual analog scale 5) perceived sufficient of sleep 6) perceived self-efficacy for weaning 7) perceived severity of disease 8) social support questionnaire 9) uncertainty in weaning for patients with assisted ventilators and 10) readiness for weaning the mechanical ventilators. The content validity index of questionnaires 1, 2, 4, 5, 6, 7, 8 and 9 were .80 to 1.0 and the reliabilities of questionnaires 4, 5, 6, 7, 8 and 9 were .92 to .98. Descriptive and binary logistic regression statistics were used to analyze data. The findings showed that three factors significantly predicted the success of weaning in critically ill patients with assisted ventilators were anxiety (odds ratio = 0.92, 95% CI 0.84 – 0.10), perceived sufficient of sleep (odds ratio = 2.05, 95% CI 1.15 – 3.64), and social support (odds ratio = 1.26, 95% CI 1.02 – 1.56, p< .05). However, perceived self-efficacy, perceived severity of disease, and uncertainty in weaning for critically ill patients with assisted ventilators did not predict the success of weaning. Binary logistic regression could predict 96.2% of the success of weaning in critically ill patients with assisted ventilators and 82.4% of the non-success of weaning in critically ill patients with assisted ventilators. By average, the regression could predict 93.8% of the correctness.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45590
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.990
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.990
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5577170636.pdf5.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.