Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45603
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ชุติมา ประกาศวุฒิสาร | en_US |
dc.contributor.author | ธรรมธัช ศรีวันทนียกุล | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2015-09-17T04:03:33Z | |
dc.date.available | 2015-09-17T04:03:33Z | |
dc.date.issued | 2557 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45603 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลงานวรรณกรรมของสเตเฟนี เมเยอร์ (Stephenie Meyer) ชุด The Twilight Saga ซึ่งประกอบด้วยนวนิยายสี่เรื่องได้แก่ Twilight (2005) New moon (2006) Eclipse (2007) และ Breaking dawn (2008) โดยเป็นการวิเคราะห์ถึงการนำเสนอความกังวล ความฝัน ความปรารถนาของวัยรุ่นในสังคมอเมริกันร่วมสมัยและกลวิธีการประพันธ์ประเภท นวนิยายรักพาฝันแนวเหนือธรรมชาติ (paranormal romance) ในการนำเสนอประเด็นข้างต้นในนวนิยายชุดดังกล่าว ผลการศึกษาพบว่าในวรรณกรรมวัยรุ่นร่วมสมัยชุด The Twilight Saga ตัวละครผีดูดเลือดเป็นสัญลักษณ์สื่อถึงความกังวล ความฝัน ความปรารถนาของวัยรุ่นในสังคมอเมริกันร่วมสมัย โดยสื่อให้เห็นผ่านลักษณะ 3 ประการ คือ ประการแรกการนำเสนอภาพลักษณ์ผีดูดเลือดที่มีลักษณะใกล้ เคียงกับมนุษย์ ความแตกต่างระหว่างภาพลักษณ์ผีดูดเลือดแบบสัตว์ประหลาดกับลักษณะแบบมนุษย์ใน อุดมคติชี้ให้เห็นถึงการปรับเปลี่ยนตัวละครเพื่อให้ตอบสนองรับความฝัน ความปรารถนา และความวิตกกังวลของวัยรุ่นในประเด็นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ นอกจากนี้การนำผีดูดเลือดซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของกลุ่มคนที่มีวิถีชีวิตแตกต่าง มาปรับใช้ให้มีรูปลักษณ์แบบวัยรุ่นก็เป็นการชี้ถึงความกังวลของสังคมต่อ กลุ่มวัยรุ่น ประการที่สองความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทของตัวละครผีดูด เลือดกับแก่นเรื่องของนวนิยาย การปรับเปลี่ยนตัวละครผีดูดเลือดให้มีลักษณะแบบเทพเจ้ามีบทบาทในการสะท้อน ถึงความปรารถนาในการครอบครองความรักความสัมพันธ์ที่มั่นคงไม่สูญสลาย ในขณะเดียวกันคุณลักษณะดังกล่าวก็สะท้อนถึงความวิตกกังวลเกี่ยวกับตัวตนซึ่ง เป็นปัจจัยในการสร้างความสัมพันธ์ของตัวละครเอก ประการสุดท้ายการนำ เสนอความสัมพันธ์ของตัวละครผ่านรูปแบบการประพันธ์ประเภทนวนิยายรักพาฝันแนว เหนือธรรมชาติ รูปแบบวรรณกรรมช่วยชี้ให้เห็นถึงกฎเกณฑ์ที่กดทับความปรารถนา ความกังวล ความฝันของวัยรุ่น การเห็นถึงขอบเขตอันจำกัดของกฎช่วยนำไปสู่การนิยามความหมายของรักแท้ใน มุมมองใหม่ วรรณกรรมรูปแบบดังกล่าวนี้จึงทำหน้าที่เป็นพื้นที่พิเศษในการปลดปล่อยสิ่ง ที่ถูกกดทับในช่วงระยะเวลาหนึ่ง นอกจากนี้การปรากฏของผีดูดเลือดซึ่งไม่น่ามีอยู่จริงยังตอบรับกับการสร้าง ความหวังให้แก่วัยรุ่นผู้อ่านผ่านการเล่าเรื่องจากความฝันไปสู่โลกความเป็นจริง | en_US |
dc.description.abstractalternative | This research explores the literary work of Stephenie Meyer’s The Twilight Saga—a collection of four novels including Twilight (2005), New moon (2006), Eclipse (2007), and Breaking dawn (2008). It looks at how the issues of anxiety, dream and desire are represented and how paranormal romance as a genre is an effective tool for representing these issues. The study reveals that the vampire figure found in The Twilight Saga is used as a symbol of anxiety, dream and desire of contemporary American teenagers for three reasons. Firstly, the vampire character in The Twilight Saga is much more humanlike in appearance unlike the monstrous image of vampire in the past. The transformation of the vampire character into an ideal human figure reveals the author’s attempt to appropriate the vampire character to represent American youth’s desire and anxiety about romantic affairs. Furthermore, the vampire character as a metaphor of alienation also indicates social concerns about teenagers. Additionally, there is a link between the vampire character’s role and the theme of love and relationship in the novels. The perfect relationship with angel-like vampire illustrates both the character’s desire of unbreakable love and relationship, and her anxiety about identity and social acceptance. Finally, the representation of teenager characters’ relationship through paranormal romance genre reveals the repression of desire, anxiety and dream under the social laws. The apparent limit of laws leads the reader to re-define romantic love. This genre provides a fantastic space for temporary release of the repressed. Moreover, the existence of vampire characters inspires hope to teen readers through a narrative motif of “a dream come true”. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1000 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | เมเยอร์, สเตเฟนี -- การวิจารณ์และการตีความ | |
dc.subject | วรรณกรรมอเมริกัน -- ประวัติและวิจารณ์ | |
dc.subject | แวมไพร์ในวรรณคดี | |
dc.subject | แวมไพร์ | |
dc.subject | ฝันในวรรณกรรม | |
dc.subject | ความปรารถนาในวรรณกรรม | |
dc.subject | Stephenie Meyer -- Criticism and interpretation | |
dc.subject | American literature -- History and criticism | |
dc.subject | Vampires in literature | |
dc.subject | Vampires | |
dc.subject | Dreams in literature | |
dc.subject | Desire in literature | |
dc.title | จาก แรกรัตติกาล สู่ รุ่งอรุโณทัย: ความวิตกกังวล ความฝัน ความปรารถนาในวรรณกรรมวัยรุ่นแนวเรื่องเล่าผีดูดเลือดของสเตเฟนี เมเยอร์ | en_US |
dc.title.alternative | FROM TWILIGHT TO BREAKING DAWN: ANXIETY, DREAM, DESIRE IN STEPHENIE MEYER’S YOUNG ADULT VAMPIRE NARRATIVE | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | วรรณคดีเปรียบเทียบ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Chutima.Pr@Chula.ac.th,chutima67@hotmail.com | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2014.1000 | - |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5580138022.pdf | 2.12 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.