Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45630
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวีระพงษ์ บุญโญภาสen_US
dc.contributor.authorธาริดา เลี้ยงหทัยธรรมen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-09-17T04:03:47Z
dc.date.available2015-09-17T04:03:47Z
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45630
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractปัญหาการให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อประโยชน์ของนิติบุคคลเป็นปัญหาอาชญากรรมที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนมากและสร้างความเสียหายอย่างมหาศาล ประเทศต่าง ๆ จึงเริ่มตระหนักถึงผลร้ายของพฤติกรรมการให้สินบนในรูปแบบนี้ บางประเทศจึงตรากฎหมายขึ้นบังคับใช้ใหม่เพื่อควบคุมพฤติกรรมดังกล่าว ในขณะที่บางประเทศมีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายของตนให้มีความทันสมัยเพื่อให้สามารถจัดการกับพฤติกรรมดังกล่าวได้อย่างเหมาะสม อย่างไรก็ตาม กฎหมายของไทยที่มีอยู่ในปัจจุบันกลับไม่สามารถบังคับใช้เพื่อควบคุมการกระทำความผิดฐานให้สินบนในรูปแบบดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากความไม่เหมาะสมของกฎหมายที่นำมาบังคับใช้ ตลอดจนโทษทางอาญาที่ใช้บังคับแก่นิติบุคคล ส่งผลให้การให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐโดยนิติบุคคลจึงยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในสังคมไทย การศึกษาถึงการปรับปรุงกฎหมายเพื่อควบคุมปัญหาดังกล่าวข้างต้นจำเป็นต้องศึกษาแนวทางในการกำหนดบทบัญญัติของกฎหมายที่กำหนดความรับผิดของนิติบุคคลในความผิดฐานให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยการเปรียบเทียบและวิเคราะห์ความเหมาะสมของแนวทางในการกำหนดความรับผิดของนิติบุคคลในกรณีการให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีความเหมาะสมกับระบบกฎหมายของไทยจากอนุสัญญาระหว่างประเทศและกฎหมายต่างประเทศ อันได้แก่ ประเทศอังกฤษ ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศฝรั่งเศส อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ค.ศ.2003 และอนุสัญญาสหประชาชาติเพื่อต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติที่จัดตั้งขึ้นในลักษณะองค์กร ค.ศ.2000 จากผลการศึกษาพบว่าประเทศไทยควรตรากฎหมายเพื่อกำหนดความรับผิดของนิติบุคคลในกรณีการให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ รวมถึงกำหนดรายละเอียดของบทบัญญัติอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ประเทศไทยมีมาตรการทางกฎหมายที่มีความเหมาะสมต่อการใช้เป็นเครื่องมือในการป้องกันและควบคุมการกระทำความผิดฐานให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐที่กระทำโดยนิติบุคคล และเพื่อเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศไทยในจัดการกับปัญหาการทุจริตให้สินบนในประเทศด้วยen_US
dc.description.abstractalternativeBribery of government officials for the benefit of corporations is known as a crime which is occurred and created enormous damages. Many countries begin to realize the disastrous of this behavior. Some countries have enacted the law and enforcement to control such behavior. While some countries have amended their laws to modernize in order to deal with such behavior. However, the law of Thailand at present cannot be enforced to control the offense of bribery in this form efficiently because of the improper of the law as well as criminal penalties applicable to juristic person. For these reason, bribery to government officials by the entity still occurs continuously in Thailand. Studying to revise the law to control the problems mentioned above needs to study the determination of the law for criminal liability of legal person who found guilty of bribery to government officials by comparing and analyzing the appropriateness of the approach of criminal liability of legal entities in bribery to government officials that are appropriate to the legal system of Thailand from international conventions and international laws including the UK., USA., France, United Nations Convention against Corruption 2003 (UNCAC), and United Nations Convention Against Transnational Organized Crime 2000 (UNTOC) The study found that Thailand should enact legislation to limit the liability of juristic person in bribery to government officials including the details of other related provisions in order to using as a tool in the prevention and control of the offense of bribery of public officials committed by corporations in Thailand and to create a positive image of Thailand in dealing with the problem of bribery in country.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1018-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectสินบน -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย
dc.subjectความรับผิดทางอาญาของนิติบุคคล -- ไทย
dc.subjectBribery -- Law and legislation -- Thailand
dc.subjectCriminal liability of juristic persons -- Thailand
dc.titleความรับผิดทางอาญาของนิติบุคคล: ศึกษากรณีการกำหนดมาตรการป้องกันมิให้เจ้าหน้าที่ของนิติบุคคลให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐen_US
dc.title.alternativeCRIMINAL LIABILITY OF JURISTIC PERSON: CASE STUDY ON THE PREVENTIVE MECHANISM AGAINST BRIBERY OF GOVERNMENT OFFICIALS BY ITS EMPLOYEEen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorViraphong.B@chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.1018-
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5585987334.pdf2.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.