Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45728
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorยง ภู่วรวรรณen_US
dc.contributor.advisorสัญชัย พยุงภรen_US
dc.contributor.authorประภาพร คุณทาen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-09-17T04:04:48Z
dc.date.available2015-09-17T04:04:48Z
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45728
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractเชื้อฮิวแมนไรโนไวรัสเป็นสาเหตุหลักของการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบนแบบไม่รุนแรง งานวิจัยนี้ได้ศึกษาความชุกและจำแนกสายพันธุ์เชิงชีวโมเลกุลของเชื้อฮิวแมนไรโนไวรัสในตัวอย่างอุจจาระของคนที่เป็นโรคลำไส้อักเสบเฉียบพลันและคนที่ไม่เป็นโรคลำไส้อักเสบเฉียบพลันในประเทศไทย โดยเก็บตัวอย่างอุจจาระจากคนที่เป็นโรคลำไส้อักเสบเฉียบพลันซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็ก จากจังหวัดกรุงเทพมหานครและจังหวัดขอนแก่น ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2553 ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2557 จำนวนทั้งสิ้น 1,294 ตัวอย่าง นอกจากนี้ยังได้เก็บตัวอย่างอุจจาระจากผู้ป่วยโรคมือเท้าปากหรือโรค herpangina จำนวนทั้งสิ้น 591 ตัวอย่าง โดยใช้ผู้ป่วยกลุ่มนี้เป็นกลุ่มควบคุม เนื่องจากผู้ป่วยกลุ่มนี้ไม่ได้เป็นโรคลำไส้อักเสบเฉียบพลัน การตรวจหาเชื้อฮิวแมนไรโนไวรัสใช้วิธี semi-nested PCR ในส่วนปลาย 5’UTR ถึงส่วนต้นของยีน VP2 การจำแนกสายพันธุ์ของเชื้อฮิวแมนไรโนไวรัสและการสร้าง phylogenetic tree ใช้ส่วนของยีน VP4 พบว่าในตัวอย่างอุจจาระของเด็กโรคลำไส้อักเสบเฉียบพลันให้ผลบวกต่อเชื้อฮิวแมนไรโนไวรัส 2.3% (30/1,294) โดยพบ HRV-A 47%, HRV-B 17% และ HRV-C 37% ในทางตรงกันข้ามพบว่า ตัวอย่างอุจจาระจากกลุ่มควบคุมให้ผลบวกต่อเชื้อฮิวแมนไรโนไวรัสเพียง 0.9% (5/591) โดยส่วนใหญ่เป็น HRV-C (60%) ในกลุ่มตัวอย่างจากโรคลำไส้อักเสบเฉียบพลันพบว่า เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปีมีอัตราการติดเชื้อฮิวแมนไรโนไวรัสมากที่สุด (87%) และพบการติดเชื้อฮิวแมนไรโนไวรัสในเพศชายมากกว่าเพศหญิงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) การติดเชื้อฮิวแมนไรโนไวรัสสามารถพบได้ตลอดทั้งปีโดยไม่มีฤดูกาลที่แน่นอน นอกจากนี้งานวิจัยนี้ยังพบว่ามีการเกิด recombination ภายใน 5’UTR ของจีโนมเชื้อฮิวแมนไรโนไวรัส ซึ่งเป็นกระบวนการที่สำคัญต่อวิวัฒนาการของเชื้อฮิวแมนไรโนไวรัสen_US
dc.description.abstractalternativeHuman rhinoviruses (HRV) are the most common causes of mild upper respiratory tract infection. This study investigated the prevalence and characterized HRV in stool samples from individuals with and without acute gastroenteritis in Thailand. 1,294 stool samples were collected mostly from children with acute gastroenteritis residing in Bangkok and Khon Kaen province between January 2010 and October 2014. In addition, 591 samples from hand-foot-mouth disease or herpangina patients who do not have gastroenteritis served as a control cohort. Samples were initially screened by semi-nested PCR for HRV 5'UTR through VP2 capsid region. HRV genotyping and phylogenetic tree construction were determined using the VP4/VP2 regions. Among children with acute gastroenteritis, HRV infection was found in 2.3% (30/1,294) of stool samples, which comprised 47% HRV-A, 17% HRV-B, and 37% HRV-C. In contrast, 0.9% (5/591) of the control group was HRV-positive in which HRV-C (60%) was the major species found. Among acute gastroenteritis samples, HRV was found mostly in samples from children ≤2 years of age (87%), and in more males than females (p<0.05). HRVs were detected throughout the year with no seasonal clustering. In addition, this study found recombination in 5’UTR which play a role in evolutionary genetic diversification of HRV.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1028-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectไรโนไวรัส
dc.subjectโรคปัจจุบัน
dc.subjectกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบในเด็ก -- ไทย
dc.subjectRhinoviruses
dc.subjectAcute diseases
dc.subjectGastroenteritis in children -- Thailand
dc.titleการศึกษาความชุกและจำแนกสายพันธุ์เชิงชีวโมเลกุลของเชื้อฮิวแมนไรโนไวรัสในอุจจาระผู้ป่วยเด็กไทยที่ป่วยด้วยโรคลำไส้อักเสบเฉียบพลันช่วงปี พ.ศ. 2553-2557en_US
dc.title.alternativePrevalence and molecular characterization of human rhinovirus in stool of Thai children with acute gastroenteritis during 2010-2014en_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineชีวเคมีทางการแพทย์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisoryong.p@chula.ac.then_US
dc.email.advisorSunchai.P@Chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.1028-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5674044830.pdf3.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.