Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45729
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพิสิฐ ตั้งกิจวานิชย์en_US
dc.contributor.advisorยง ภู่วรวรรณen_US
dc.contributor.authorปาริฉัตร ยิ้มน้อยen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-09-17T04:04:48Z-
dc.date.available2015-09-17T04:04:48Z-
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45729-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractปัจจุบันพบว่ามีประชากรทั่วโลกที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี แบบเรื้อรังประมาณ 400 ล้านคนซึ่งนำไปสู่การเกิดโรคตับแข็งและมะเร็งตับ ต่อมาพบว่าประชากรโลกมีแนวโน้มการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี ลดลงรวมทั้งประชากรไทย อันเนื่องมาจากในปีพ.ศ. 2535 กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดให้ทารกแรกเกิดทุกคนต้องได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี โดยบรรจุลงในการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคหรือ Expanded Program on Immunization (EPI) ของประเทศ ในปี พ.ศ. 2557 หลังจากประเทศไทยได้เริ่มโครงการ EPI มาแล้วเป็นเวลา 22 ปีจึงต้องการที่จะศึกษาถึงระบาดวิทยาระดับโมเลกุลของไวรัสตับอักเสบ บี ในประเทศไทย โดยทำการเก็บตัวอย่างซีรั่มจากประชากรชาวไทยอายุระหว่าง 6 เดือนถึง 60 ปี ที่มารับบริการจากโรงพยาบาลของรัฐจากตัวแทนทั้ง 4 ภาค เก็บตัวอย่างได้ทั้งหมด 5,964 ตัวอย่าง ทำการด้วยตรวจโดยวิธี Enzyme-linked immunosorbent assay (ELISA) พบตัวอย่างที่ให้ผลบวกต่อ HBsAg จำนวน 132 ตัวอย่างคิดเป็นร้อยละ 2.2 จากนั้นนำตรวจหา HBeAg พบตัวอย่างที่ให้ผลบวกต่อ HBeAg 19 ตัวอย่างคิดเป็นร้อยละ 14.4 และนำมาวิเคราะห์หาปริมาณไวรัสจากวิธี real-time polymerase chain reaction พบ 59 ตัวอย่างที่ตรวจพบปริมาณไวรัสและมีค่าเฉลี่ย 7.3±2.1 log copies/mL จากการตรวจสอบด้วยวิธี PCR พบตัวอย่างที่ให้บวกต่อวิธี PCR 119 ตัวอย่างคิดเป็นร้อยละ 83.8 โดยสามารถจำแนกเป็นสายพันธุ์ C 111 ตัวอย่างคิดเป็นร้อยละ 93.28 และสายพันธุ์ B 8 ตัวอย่างคิดเป็นร้อยละ 6.72 และพบsubtype adr 105 ตัวอย่างคิดเป็นร้อยละ 88.2 subtype adw 11 ตัวอย่างคิดเป็นร้อยละ 9.2 subtype ayr 3 ตัวอย่างคิดเป็นร้อยละ 2.5 จากการตรวจสอบการกลายพันธุ์ในส่วนของ “a” determinant พบทั้งหมด 9 ตัวอย่างคิดเป็นร้อยละ 7.56 และพบการกลายพันธุ์ที่ตำแหน่ง G145R จำนวน 2 ตัวอย่างคิดเป็นร้อยละ 1.7 โดยการกลายพันธุ์ดังกล่าวพบในผู้ที่มีอายุมากกว่า 22 ปีจึงอาจไม่ได้เป็นผลมาจากการได้รับวัคซีนแต่เป็นการกลายพันธุ์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ พบการกลายพันธุ์ในบริเวณยีน pre-S 23 ตัวอย่างคิดเป็นร้อยละ 19.3 พบการกลายพันธุ์ในบริเวณ BCP 31 ตัวอย่างคิดเป็นร้อยละ 26.1 และการกลายพันธุ์ในส่วนของยีน PC 17 ตัวอย่างคิดเป็นร้อยละ 14 ผลของการศึกษาในครั้งนี้อาจเป็นประโยชน์ในการพัฒนาแผนการให้วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบ บี ต่อไปen_US
dc.description.abstractalternativeMore than 400 million peoples worldwide are chronically infected by hepatitis B virus (HBV) that lead to cirrhosis and hepatocellular carcinoma (HCC). Since 1992, HBV vaccination has been integrated into the expanded program on immunization (EPI) in Thailand. In 2014, 5,964 sera samples studies molecular epidemiological from 4 provinces of Northern, Northeast, Middle and Southern part of Thailand. The 132 HBsAg-positive subjects (2.2%), HBeAg was detected in 19 serum samples (14.4%). The mean of HBV viral load was detected 7.3±2.1 log copies/mL by real-time polymerase chain reaction. One hundred and nineteen (83.8%) of the 132 HBsAg-positive subjects were positive for HBV-DNA in the sera, detected by PCR. HBV-DNA, were found only two major genotypes in the total 119 subjects of HBV-DNA positive; 111 (93.3%) subjects were determined as genotype C: in subgenotype C1, and another genotype was belonged to genotype B in subgenotype B2, 8 (6.7%) subjects. The distribution of the HBV antigenic determinant subtypes among the total 119 of HBV-DNA positive subjects were: 105 (88.2%) of adr, 11 (9.2%) of adw and 3 (2.5%) of ayr. The prevalence and variation of the ‘‘a’’ determinant mutations among the HBV-DNA positive subjects was found in 9 (7.6%) consist in 2 (1.7%) subjects had amino acid mutations at G145R . The pre-S mutations were detected in 23 (19.3%) and The basic core promoter (BCP)/precore (PC) region were found 31 (26.1%) and 17 (14.3%) of the total of HBV-DNA positive subjects. The results of this study may be useful to plan the HB immunization program.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1029-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectวัคซีนตับอักเสบบี
dc.subjectไวรัสตับอักเสบบี
dc.subjectการกลายพันธุ์
dc.subjectตับอักเสบบี -- ระบาดวิทยา -- ไทย
dc.subjectHepatitis B vaccine
dc.subjectHepatitis B virus
dc.subjectMutation (Biology)
dc.subjectHepatitis B -- Epidemiology -- Thailand
dc.titleการจำแนกสายพันธุ์และการกลายพันธุ์บริเวณยีนพรีเอส/เอส ของไวรัสตับอักเสบ บี จากการศึกษาทางระบาดวิทยาในประเทศไทย พ.ศ. 2557en_US
dc.title.alternativeDetermination of Genotypes and Mutations in pre-S/S gene of Hepatitis B Virus from an Epidemiological Study in Thailand, 2014en_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineชีวเคมีทางการแพทย์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorPisit.T@chula.ac.th,pisittkvn@yahoo.comen_US
dc.email.advisoryong.p@chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.1029-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5674046030.pdf5.72 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.