Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45739
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ณัฐวุฒิ โตวนำชัย | en_US |
dc.contributor.advisor | ยิ่งยศ อวิหิงสานนท์ | en_US |
dc.contributor.author | วรรณรัตน์ พงศ์พิรุฬห์ | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2015-09-17T04:04:52Z | |
dc.date.available | 2015-09-17T04:04:52Z | |
dc.date.issued | 2557 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45739 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 | en_US |
dc.description.abstract | ความสัมพันธ์ระหว่างระดับโปรตีนบลิสในเลือดหลังปลูกถ่ายไตกับการปฏิเสธไต ความสำคัญและที่มา: การทำนายการเกิดการปฏิเสธไตชนิดแอนติบอดี (antibody-mediated rejection: ABMR) เป็นสาเหตุสำคัญ ที่ทำให้เกิดการสูญเสียอวัยวะที่ได้รับการปลูกถ่ายได้ ส่วนใหญ่จะอาศัยข้อมูลของดีเอสเอแอนติบอดี (donor specific antibodies: DSA) โดยทั่วไปผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายไตที่มีดีเอสเอแอนติบอดีเป็นบวก ร้อยละ 30-40 จะเกิดการปฏิเสธไตชนิดแอนติบอดี ดังนั้น จำเป็นจะต้องอาศัยเครื่องหมายชีวภาพ ที่มาช่วยในการทำนาย ที่ดีขึ้น ซึ่งกลไกที่สำคัญในการเกิดการปฏิเสธไตชนิดแอนติบอดีนั้นจะผ่านทางการทำงานของบีลิมโฟไซค์เซลล์ ซึ่งโปรตีนบลิส (B Lymphocyte Stimulator: BLyS) เป็นโปรตีนที่สำคัญที่จะทำให้บีเซลล์เกิดการ พัฒนา และทำให้เกิดการสร้างแอนติบอดีได้ แต่ข้อมูลของแบฟฟ์ในผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายไตยังมีจำกัด ดังนั้น ผู้วิจัยจึงต้องการศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างบลิสในช่วงหลังการผ่าตัดกับการทำนายการเกิด การปฏิเสธไตชนิดแอนติบอดี ระเบียบวิธีวิจัย: ผู้ป่วยที่ได้เข้ามาปลูกถ่ายไตในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ตั้งแต่ มิถุนายน พ.ศ.2556 - ธันวาคม พ.ศ.2557 รวม 76 คน มีการเจาะเลือดเพิ่อตรวจค่าบลิสหลังผ่าตัดปลูกถ่ายไต 7 วัน และติดตามผู้ป่วยที่ 180 วัน เพื่อทำ การเจาะชิ้นเนื้อไตสำหรับการวินิจฉัยการปฏิเสธไตชนิดแอนติบอดี การตรวจดีเอสเอแอนติบอดีก่อน การปลูกถ่ายตรวจด้วยเครื่องลูมิเน็กซ์ ระดับแบฟฟ์ในเลือดตรวจด้วยอีไลซ่า จะเเบ่งผู้ป่วยด้วยผลบวกและ ลบของแอนติบอดีดีเอสเอ และผลบลิสน้อยกว่า 500 พก/มล. จัดว่าเป็นระดับต่ำ และค่าบลิสที่มาก กว่าเท่ากับ 500 พก/มล จัดว่าเป็นระดับสูง และคำนวณความเสี่ยงการเกิดการปฏิเสธไตชนิดแอนติบอดีด้วย อัตราของค็อกซ์พร็อพพอชั่นนัลฮัดสาด ผลการศึกษา: ผู้ป่วยเข้าร่วมโครงการวิจัย 76 คน ทุกคนได้รับการติดตามครบตามระยะเวลา 180 วันทั้งหมด ร้อยละ 17.1 เกิดการปฏิเสธไตชนิดแอนติบอดีที่วินิจฉัยโดยพยาธิวิทยา โดยที่ผู้ป่วยยังไม่มีอาการหรืออาการแสดง ค่าเฉลี่ย ของบลิสหลังผ่าตัด 7 วันเท่ากับ 392.3 ± 318.8 พก/มล. มีผู้ป่วย 18 คน (ร้อยละ 44.2) มีค่าบลิสสูง เกิด การปฏิเสธไตชนิดแอนติบอดีมากกว่าคนที่มีค่าบลิสต่ำกว่า (ร้อยละ 8.62) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผู้ป่วยที่มีแอนติบอดีดีเอสเอเป็นบวกเกิดการปฏิเสธไตชนิดแอนติบอดี 39 คน เมื่อแบ่งผู้ป่วยตามระดับบลิส พบว่า ผู้ป่วยที่มีระดับบลิสต่ำร่วมกับค่าแอนติบอดีดีเอสเอเป็นลบ, ระดับบลิสสูงร่วมกับค่าแอนติบอดี ดีเอสเอเป็นลบ, ระดับบลิสต่ำร่วมกับค่าแอนติบอดีดีเอสเอเป็นบวก และระดับบลิสสูงร่วมกับ ค่าแอนติ บอดีดีเอสเอเป็นบวกมีอุบัติการณ์การปฏิเสธไตชนิดแอนติบอดีร้อยละ 0,17.9,16.7 และ 41.7 ตามลำดับ เมื่อคำนวณความเสี่ยงต่อการเกิดการปฏิเสธไตชนิดแอนติบอดีด้วยอกซ์พร็อพพอชั่นนัลฮัดสาด พบว่า กลุ่ม ผู้ป่วยที่มีค่าบลิสสูง มีความเสี่ยงต่อการเกิด 2.07 เท่า (1.35-3.20) เมื่อควบคุมด้วยค่าแอนติบอดีดีเอสเอ สรุป: ค่าบลิสในระยะหลังการผ่าตัดสามารถช่วยทำนายการเกิดการปฏิเสธไตชนิดแอนติบอดีได้ โดยระดับบลิส ที่สูง มีความสัมพันธ์พยาธิวิทยาที่เป็นการปฏิเสธไตชนิดแอนติบอดี แม้ว่าจะมีค่าแอนติบอดีดีเอสเอเป็นบวก หรือลบ ดังนั้นค่าบลิสสามารถใช้เป็นเครื่องหมายชีวภาพและใช้สำหรับการติดตาม ภาวะอิมมูนหลังการปลูกถ่ายไต | en_US |
dc.description.abstractalternative | Association between Post Transplant Serum BLyS and Kidney Allograft Rejection Background: The prediction of Antibody mediated rejection (ABMR), the major cause of allograft loss, has depended mainly on the Donor Specific Antibody (DSA). As only 30-40% of recipients with DSA developed ABMR, additional biomarkers are needed for better prediction. As a crucial factor for B-cell activation, differentiation, and antibody production, the B Lymphocte Stimulator (BLyS) is a potential candidate with limited evidence on its role in kidney transplantation (KT). Herein, we explored the association between perioperative BLyS level and ABMR. Method: This prospective cohort study was conducted in all new KT recipients at King Chulalongkorn Memorial Hospital during June 2013 and December 2014. BLyS was measured at the 7th and 180th day post-KT, using ELISA method. Pre-KT DSA was measured by solid phase Luminex® platform. The transplanted kidney biopsy was performed at 180th day for detection of ABMR. Recipients were stratified by pre-KT DSA (negative vs positive) and BLyS (low vs high, using 500 pg/mL cut point) into four groups. The risks of ABMR between high and low BLyS KT recipients were compared using Cox proportional hazard ratio (HR). Results: Seventy-six KT recipients were included with no loss to follow up. The 6-month incidence of ABMR by surveillance biopsy was 17.1%. Overall mean BLyS level at day 7 was 392.3 ± 318.8 pg/mL. Eighteen recipients with high BLyS level at 7th day have significantly higher incidence of ABMR than 58 recipients with low BLyS level (44.4% and 8.62%, respectively, p<0.05). Thirty-nine percent of recipients with positive DSA developed ABMR. The risk of ABMR was significant higher in high BLyS group (HR = 2.07 [1.35–3.20] with pre-KT DSA adjusted). The rates of ABMR among negative DSA / low BLyS , negative DSA / high BLyS , positive DSA / low BLyS , and positive DSA / high BLyS recipients were 0, 17.9, 16.7 and 41.7%, respectively (p<0.05). Conclusion: Post-KT ABMR can be predicted by perioperative BLyS level. The high BLyS level on day 7th post-KT was significantly correlated with pathological diagnosis of ABMR in both positive and negative pre-KT DSA status. BLyS can be used as a biomarker and a noninvasive immune monitoring for ABMR in KT. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.567 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ไต -- การปลูกถ่าย | |
dc.subject | การปฏิเสธอวัยวะ | |
dc.subject | ระบบภูมิคุ้มกัน | |
dc.subject | โรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง | |
dc.subject | บีเซลล์ | |
dc.subject | Kidneys -- Transplantation | |
dc.subject | Graft rejection | |
dc.subject | Immune system | |
dc.subject | Autoimmune diseases | |
dc.subject | B cells | |
dc.title | ความสัมพันธ์ระหว่างระดับโปรตีนบลิสในเลือดหลังปลูกถ่ายไตกับการปฏิเสธไต | en_US |
dc.title.alternative | Association between Post Transplant Serum BLyS and Kidney Allograft Rejection | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | อายุรศาสตร์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | ntownamchai@gmail.com,poopup@hotmail.com | en_US |
dc.email.advisor | Yingyos.A@Chula.ac.th,yingyos.a@gmail.com | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2014.567 | - |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5674068930.pdf | 3.53 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.