Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45744
Title: ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับโรคผิวหนังอักเสบบริเวณมือของคนงานโรงงานเครื่องปั้นดินเผาและเซรามิกในจังหวัดราชบุรี
Other Titles: Prevalence and associated factors of hand dermatitis among pottery and ceramics workers in Ratchaburi province
Authors: วิภาสิริ สายพิรุณทอง
Advisors: พรชัย สิทธิศรัณย์กุล
ประณีต สัจจเจริญพงษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Pornchai.Si@Chula.ac.th
pranesaj@yahoo.com
Subjects: โรคผื่นสัมผัส -- ไทย -- ราชบุรี
ผิวหนัง -- การอักเสบ -- ไทย -- ราชบุรี
ผิวหนัง -- โรค -- ไทย -- ราชบุรี
โรคเกิดจากอาชีพ -- ไทย -- ราชบุรี
อุตสาหกรรมเครื่องเคลือบดินเผา -- ไทย -- ราชบุรี
Contact dermatitis -- Thailand -- Ratchaburi
Skin -- Inflammation -- Thailand -- Ratchaburi
Skin -- Diseases -- Thailand -- Ratchaburi
Occupational diseases -- Thailand -- Ratchaburi
Ceramic industries -- Thailand -- Ratchaburi
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับโรคผิวหนังอักเสบบริเวณมือของคนงานโรงงานเครื่องปั้นดินเผาและเซรามิกในจังหวัดราชบุรี วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ณ จุดใดจุดหนึ่ง กลุ่มตัวอย่างคือ คนงานโรงงานเครื่องปั้นดินเผาและเซรามิกในจังหวัดราชบุรีจำนวน 422 คน จากโรงงานเครื่องปั้นดินเผาและเซรามิกในจังหวัดราชบุรีจำนวน 20 โรงงาน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ตามแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยจากการทำงาน ปัจจัยจากการทำงานบ้านหรืองานอดิเรก และประวัติผิวหนังอักเสบบริเวณมือ ที่ดัดแปลงมาจาก Nordic occupational skin questionnaire จากนั้นตรวจร่างกายและถ่ายภาพผิวหนังบริเวณมือของคนงาน เก็บข้อมูลในเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน 2557 ได้แบบสอบถามที่สามารถนำมาวิเคราะห์ข้อมูลจำนวน 415 ชุด คิดเป็นอัตราการตอบกลับร้อยละ 83.0 ผลการศึกษา: ความชุกของโรคผิวหนังอักเสบบริเวณมือของคนงานโรงงานเครื่องปั้นดินเผาและเซรามิกในจังหวัดราชบุรี คือ ร้อยละ 48.7 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับโรคผิวหนังอักเสบบริเวณมือ ได้แก่ เพศชาย อายุที่มากขึ้น และประวัติผิวหนังอักเสบจากการแพ้โลหะ ส่วนปัจจัยจากการทำงาน ปัจจัยจากการทำงานบ้านหรืองานอดิเรก ไม่พบความสัมพันธ์กับโรคผิวหนังอักเสบบริเวณมือ สรุป: อุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผาและเซรามิกในจังหวัดราชบุรีพบความชุกของโรคผิวหนังอักเสบบริเวณมือค่อนข้างสูง ควรมีความร่วมมือระหว่างคนงาน ผู้ประกอบการ และบุคลากรด้านอาชีวอนามัย ในการจัดการทางด้านอาชีวอนามัยในสถานที่ทำงาน มีการให้ความรู้เรื่องโรคผิวหนังอักเสบบริเวณมือ การดูแลและทำความสะอาดผิวหนังบริเวณมือแก่คนงาน ได้แก่ การล้างมือเท่าที่จำเป็น การเลือกผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหนังบริเวณมือ และการใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหนังบริเวณมือ
Other Abstract: Objective: This study aimed to find out the prevalence and associated factors of hand dermatitis among pottery and ceramics workers in Ratchaburi province. Method: The study design was a cross-sectional descriptive study. Study subjects were four hundred and twenty two pottery and ceramics workers from 20 factories in Ratchaburi province. The subjects were interviewed with questionnaires about personal factors, occupational factors, domestic work or hobby factors and history of hand dermatitis. The questionnaires were modified from Nordic occupational skin questionnaire. They were then examined and photographed their hands. The data were collected during July through September 2014 with a response rate of 83%. Result: The prevalence of hand dermatitis among pottery and ceramics workers in Ratchaburi province was 48.7%. Statistically significant factors associated with hand dermatitis were male gender, advanced age, and history of metal allergy. But occupational factors, domestic work or hobby factors were not significantly associated with hand dermatitis. Conclusion: Hand dermatitis was prevalent among pottery and ceramics industry. Collaboration among workers, entrepreneurs and occupational health personnel is required for occupational health management in the workplace. Knowledge of hand dermatitis and skin care should be provided for the workers.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวิจัยและการจัดการด้านสุขภาพ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45744
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.571
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.571
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5674074630.pdf3.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.