Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45759
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพีรพนธ์ ลือบุญธวัชชัยen_US
dc.contributor.authorรัชนู วรรณาen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-09-17T04:04:59Z-
dc.date.available2015-09-17T04:04:59Z-
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45759-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความชุกของการสูญเสียบุคคลสำคัญอันเป็นที่รัก อารมณ์เศร้าโศกที่ผิดปกติจากการสูญเสียและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์เศร้าโศกที่ผิดปกติจากการสูญเสียของผู้ป่วยนอกจิตเวชโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ วิธีการศึกษา ศึกษาในผู้ป่วยนอกแผนกจิตเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จำนวน 843 คน ตั้งแต่เดือน มิถุนายน-กันยายน 2557 โดยให้กลุ่มตัวอย่างทุกคน ตอบแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและคำถามคัดกรองประวัติการสูญเสียบุคคลสำคัญอันเป็นที่รักในช่วงชีวิตที่ผ่านมา หลังจากนั้น กลุ่มตัวอย่างที่มีการสูญเสียให้ทำแบบสอบถามต่อทั้งหมดอีก 4 ชุด ได้แก่ 1) แบบประเมินประสบการณ์การสูญเสีย 2) แบบประเมินอารมณ์เศร้าโศกที่ผิดปกติจากการสูญเสียฉบับภาษาไทย (Inventory of Complicated Grief - ICG) 3) แบบประเมินอาการซึมเศร้าฉบับภาษาไทย (Beck Depression Inventory-II - BDI-II) และ 4) แบบประเมินการสนับสนุนทางสังคม (Social Support Questionnaire) นำเสนอความชุกของการสูญเสียและอารมณ์เศร้าโศกที่ผิดปกติจาการสูญเสียด้วย ค่าความถี่และร้อยละ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆกับอารมณ์เศร้าโศกที่ผิดปกติจากการสูญเสีย โดยใช้การทดสอบไคสแควร์ และวิเคราะห์ความถดถอยแบบลอจิสติกเพื่อหาปัจจัยทำนายอารมณ์เศร้าโศกที่ผิดปกติจากการสูญเสีย ผลการศึกษา จากผู้ป่วยนอกจิตเวช จำนวน 843 คน พบผู้ที่มีประสบการณ์การสูญเสียทั้งสิ้น 535 ราย คิดเป็นร้อยละ 63.5 ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 63) มีอายุเฉลี่ย 42.57 ปี กว่าครึ่งเป็นโสด (ร้อยละ 51.6) เป็นผู้ป่วยด้วยโรคความผิดปกติทางอารมณ์ (mood disorders) คิดเป็นร้อยละ 33 พบความชุกของอารมณ์เศร้าโศกที่ผิดปกติจากการสูญเสียในผู้ป่วยนอกจิตเวชทั้งหมด ร้อยละ 16.6 และคิดเป็นร้อยละ 26.2 ในผู้ป่วยที่มีประสบการณ์การสูญเสีย เกี่ยวกับประสบการณ์การสูญเสีย ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่คือบิดามารดา (ร้อยละ 56.6) พบภาวะซึมเศร้าเล็กน้อย ร้อยละ 11.8 ซึมเศร้าปานกลาง ร้อยละ 15 และ ซึมเศร้ารุนแรง ร้อยละ 9.8 ส่วนใหญ่(ร้อยละ 69.7) ได้รับการสนับสนุนทางสังคมในระดับปานกลาง ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์เศร้าโศกที่ผิดปกติ ได้แก่ การเป็นเพศหญิง อายุน้อยกว่า 60 ปี ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรควิตกกังวล มีประวัตินอนโรงพยาบาลด้วยโรคทางจิตเวช มีบุคคลที่เสียชีวิตมากกว่า 1 คน ผู้ที่เสียชีวิตคือ บิดามารดา คู่ครองและบุตร การเสียชีวิตอย่างกะทันหัน ผูกพันกับผู้ที่เสียชีวิต การที่ต้องพึ่งพาผู้ที่เสียชีวิต การสูญเสียที่ไม่ทันคาดคิด ไม่มีญาติช่วยเหลือ มีภาวะซึมเศร้า และได้รับการสนับสนุนทางสังคมต่ำ (p<0.05) ปัจจัยที่ทำนายอารมณ์เศร้าโศกที่ผิดปกติ ได้แก่ การเป็นเพศหญิง มีบุคคลที่เสียชีวิตมากกว่า 1 คน ผู้ที่เสียชีวิตคือบิดามารดา คู่ครองหรือบุตร การเสียชีวิตอย่างกะทันหัน การที่ต้องพึ่งพาผู้ที่เสียชีวิต การสูญเสียที่ไม่ทันคาดคิด ไม่มีญาติช่วยเหลือ มีภาวะซึมเศร้า และได้รับการสนับสนุนทางสังคมต่ำ สรุป อารมณ์เศร้าโศกที่ผิดปกติจากการสูญเสียจะพบได้มากในผู้ป่วยนอกจิตเวช พบได้มากในการเสียชีวิตที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหันของบุคคลสำคัญอันเป็นที่รัก ในผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า และได้รับการสนับสนุนทางสังคมต่ำ ดังนั้นจึงควรให้ความสำคัญกับประสบการณ์การสูญเสีย รวมถึงอารมณ์เศร้าโศกที่ผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น เพื่อลดโรคทางจิตเวช โดยเฉพาะโรคซึมเศร้า ที่มีความเกี่ยวข้องกันen_US
dc.description.abstractalternativeObjectives: To study prevalence of significant loss, complicated grief and associated factors of complicated grief in psychiatric outpatients at King Chulalongkorn Memorial Hospital. Method: Eight hundred and forty – three patients were recruited from Psychiatric Outpatient Department, King Chulalongkorn Memorial Hospital during June - September 2014. All samples completed Demographic data form and Screening question about significant loss experience. Only the participants who had significant loss would complete further 4 questionnaires; 1) Loss Experience Questionnaires, 2) Thai version of Inventory of Complicated Grief (ICG), 3) Thai version of Beck Depression Inventory-II (BDI-II), and 4) Social Support Questionnaire. The prevalence of significant loss and complicated grief were presented by proportion and percentage. The associated factors were analyzed by chi-square test. Logistic regression was used to identify the predictors of complicated grief in psychiatric outpatients. Results: In 843 psychiatric outpatients reported significant loss 535 (63.5%). Most of them were female (63%) with the average age of 42.57 years. More than half (51.6%) were single. About one third was diagnosed with mood disorders (33%). The prevalence of complicated grief was 16.6% in psychiatric outpatients and 26.6% in the bereaved psychiatric outpatients. About the history of significant loss, most of the deceased person was parents (56.6%) and 11.8% of patients had mild depression, 15% had moderate depression and 9.8% had severe depression. Most of psychiatric outpatient (69.7%) had moderate level of social support. The associated factors of complicated grief were being female, age below 60 years, being diagnosed with anxiety, history of psychiatric hospitalization, loss of more than 1 person, sudden death, overdependence with the dead person, unexpected death, absence of relatives support, having depression, and low level of social support (p<0.05). Logistic regression showed that the remaining predictors of complicated grief were being female, loss of more than 1 person, loss of parents/spouse or child, sudden death, overdependence with the dead person, unexpected death, absence of relatives support, having depression, and low level of social support (p<0.05). Conclusion: Complicated grief was commonly found in psychiatric outpatients. Complicated grief is usually found in sudden death, having depression, and low level of social support. Therefore, significant loss and complicated grief should be focused to prevent psychiatric disorders, especially depression disorders.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.583-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectความทุกข์โศก
dc.subjectความสูญเสีย (จิตวิทยา)
dc.subjectความซึมเศร้า
dc.subjectผู้ป่วยจิตเวช -- ไทย -- กรุงเทพฯ
dc.subjectGrief
dc.subjectLoss (Psychology)
dc.subjectDepression
dc.subjectPsychotherapy patients -- Thailand -- Bangkok
dc.titleความชุกของอารมณ์เศร้าโศกที่ผิดปกติจากการสูญเสียและปัจจัยที่เกี่ยวข้องที่พบในผู้ป่วยนอกจิตเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์en_US
dc.title.alternativePREVALENCE OF COMPLICATED GRIEF AND ASSOCIATED FACTORS IN PSYCHIATRIC OUTPATIENTS AT KING CHULALONGKORN MEMORIAL HOSPITALen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineสุขภาพจิตen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorPeeraphon.L@Chula.ac.th,peeraphon_tu@yahoo.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.583-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5674110530.pdf3.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.