Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45763
Title: | ภาวะซึมเศร้า และปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้อง ของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ สังกัดศูนย์บริการสาธารณสุข 48 นาควัชระอุทิศ |
Other Titles: | Depression and Associated Psychosocial Factors of Elderly at the Elderly Associate of Public Health Center 48 Nakwatchara-utid |
Authors: | นิรัชรา ศศิธร |
Advisors: | พีรพนธ์ ลือบุญธวัชชัย |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | Peeraphon.L@chula.ac.th |
Subjects: | ความซึมเศร้าในผู้สูงอายุ -- ไทย -- กรุงเทพฯ โรคซึมเศร้า -- ไทย -- กรุงเทพฯ ผู้สูงอายุ -- ไทย -- กรุงเทพฯ การมีส่วนร่วมทางสังคม -- ไทย -- กรุงเทพฯ โรคซึมเศร้า -- ปัจจัยเสี่ยง Depression in old age -- Thailand -- Bangkok Psychotic depression -- Thailand -- Bangkok Older people -- Thailand -- Bangkok Social participation -- Thailand -- Bangkok Psychotic depression -- Risk factors |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความชุกของภาวะซึมเศร้า และศึกษาปัจจัยทางจิตสังคม ได้แก่ เหตุการณ์ความเครียดในชีวิต การสนับสนุนทางสังคม และการมีส่วนร่วมในชุมชน ที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุสังกัดศูนย์บริการสาธารณสุข 48 นาควัชระอุทิศ วิธีการศึกษา ศึกษาในผู้สูงอายุ ที่เป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ สังกัดศูนย์บริการสาธารณสุข 48 นาควัชระอุทิศ เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร จำนวน 240 คน ตั้งแต่เดือนกันยายน 2557 ถึง มกราคม 2558 โดยให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถาม 5 ชุด ได้แก่ 1)แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2)แบบวัดความเศร้าในผู้สูงอายุของไทย 3)แบบสอบถามเหตุการณ์ความเครียดในชีวิตในช่วงหนึ่งปี 4)แบบประเมินการสนับสนุนทางสังคม และ 5)แบบสอบถามการมีส่วนร่วมในสังคมของผู้สูงอายุ นำเสนอความชุกของภาวะซึมเศร้าด้วยค่าความถี่และร้อยละ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆกับภาวะซึมเศร้า โดยใช้การทดสอบไคสแควร์ และวิเคราะห์ความถดถอยแบบลอจิสติกเพื่อหาปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้า ผลการศึกษา ผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ 240 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 72.1 มีอายุเฉลี่ย 67.8 ปี (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 6.5) พบความชุกของภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุ คิดเป็นร้อยละ 15.4 (37 คน) แบ่งเป็นภาวะซึมเศร้าเล็กน้อย ร้อยละ 11.7 (28 คน) ภาวะซึมเศร้าปานกลาง ร้อยละ 2.9 (7 คน) และภาวะซึมเศร้ารุนแรง ร้อยละ 0.8 (2 คน) โดยค่าคะแนนเฉลี่ยของภาวะซึมเศร้าและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานคือ 7.3 คะแนน (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 5.4) (คะแนนเต็ม 30 คะแนน) ส่วนใหญ่ประสบกับเหตุการณ์ความเครียดในชีวิตในช่วง 1 ปี ที่มีความรุนแรงอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 82.5) โดยด้านของเหตุการณ์ความเครียดที่พบมาก ได้แก่ ด้านสุขภาพ ครอบครัว และเศรษฐกิจ การสนับสนุนทางสังคม ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 72.9) และการมีส่วนร่วมในชุมชนส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 63.3) โดยปัจจัยส่วนบุคคลที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้า ได้แก่ สถานภาพโสด/หม้าย/หย่าร้าง/แยกกันอยู่ (p<0.05) การศึกษาต่ำกว่ามัธยมศึกษา ความไม่เพียงพอของรายได้ สิทธิการรักษาประเภทบัตรทองฯ และประวัติโรคทางจิตเวช (p<0.01) และปัจจัยทางจิตสังคมที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้า ได้แก่ เหตุการณ์ความเครียดในชีวิตระดับสูง การสนับสนุนทางสังคมระดับต่ำ และการมีส่วนร่วมในชุมชนระดับต่ำ (p<0.01) ปัจจัยที่ทำนายภาวะซึมเศร้า ได้แก่ สถานภาพโสด/หม้าย/หย่าร้าง/แยกกันอยู่ ประวัติโรคทางจิตเวช เหตุการณ์ความเครียดในชีวิตระดับสูง และการมีส่วนร่วมในชุมชนระดับต่ำ (p<0.01) สรุป ความชุกของภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ พบร้อยละ 15.4 ซึ่งปัจจัยทางจิตสังคมที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้า ได้แก่ ความรุนแรงของเหตุการณ์ความเครียดในชีวิตระดับสูง การสนับสนุนทางสังคมระดับต่ำ และการมีส่วนร่วมในชุมชนระดับต่ำ การสนับสนุนให้ผู้สูงอายุได้มีส่วนร่วมในชุมชน เช่น การเข้าร่วมชมรมผู้สูงอายุ น่าจะมีส่วนช่วยในการลดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุได้ |
Other Abstract: | Objective: To study the prevalence of depression and associated psychosocial factors (life stress event, social support, and community participation) of the elderly at the Elderly Associate of Public Health Center 48 Nakwatchara-utid. Method: Two hundred and forty elderly at the Elderly Associate of Public Health Center 48 Nakwatchara-utid were recruited into the study during September 2014 – January 2015. They completed five self-reported questionnaires: 1) Demographic data form, 2) Thai Geriatric Depression Scale – TGDS, 3) 1 – Year Life Stress Event Questionnaire, 4) Social Support Questionnaire, and 5) Community Participation of Elderly Questionnaire. The prevalence of depression was presented by proportion and percentage. The associated psychosocial factors were analyzed by chi-square test. Logistic regression was used to identify the predictors of depression of the elderly at the Elderly Associate of Public Health Center 48 Nakwatchara-utid. Results: In 240 elderly at the Elderly Associate of Public Health Center 48 Nakwatchara-utid, most of them were female (72.1%). The average age was 67.8 years (SD.= 6.5). The prevalence of depression of the elderly at the Elderly Associate of Public Health Center 48 Nakwatchara-utid was 15.4% (37 persons), 11.7% (28 persons) as mild depression, 2.9% (7 persons) as moderate depression, and 0.8% (2 persons) as severe depression. The mean TGDS score was 7.3 (SD. = 5.4) (total score = 30). About the life stress events, most of them had moderate severity of life stress events (82.5%). The most prevalent stress areas were health, family, and financial areas. Most of them had moderate level of social support (72.9%), and community participation (63.3%). The associated factors of elderly depression were being single/widowed/divorced/separated (p<0.05), lower than secondary school education, unaffordable economic status, governmental medical welfare, history of psychiatric disorders, severe life stress event, low level of social support, and low level of community participation (p<0.01). Logistic regression showed that the remaining predictors of depression were being single/widowed/divorced/separated, history of psychiatric disorders, severe life stress event, and low level of community participation (p<0.01). Conclusion: The prevalence of elderly depression at the Elderly Associate was 15.4%. The psychosocial factors of elderly depression were severe life stress event, low level of social support, and low level of community participation. Promoting the elderly to participate in community such as being member of the elderly associate should help to reduce the elderly depression. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สุขภาพจิต |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45763 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.587 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2014.587 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5674257130.pdf | 3.07 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.