Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4580
Title: พลาสมิดโพรไฟล์ของไรโซเบียมในถั่วเขียว Vigna radiata (L.) Wilczek จากพื้นที่โครงการสร้างป่าและป่าพันธุกรรมพืช จังหวัดนครราชสีมา
Other Titles: Plasmid profiles of Rhizobium sp. in mungbean Vigna radiata (L.) Wilczek at forest-reviving and plant germplasm forest project, Nakhonratchasima province
Authors: รัตนวดี หอมจันทร์
Advisors: วรวุฒิ จุฬาลักษณานุกูล
อรทิพา เศรษฐบุตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Warawut.C@Chula.ac.t
orntipa@hotmail.com
Subjects: ไรโซเบียม
ถั่วเขียว
พลาสมิด
พลาสมิด
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาประชากร Rhizobium sp. (cowpea) ในดินของพื้นที่โครงการสร้างป่าตามแนวพระราชดำริและป่าพันธุกรรมพืช จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งประกอบด้วยพื้นที่ป่าทุ่งหญ้าอำเภอครบุรี และพื้นที่ป่าเต็งรังผสมเบญจพรรณ (NT1R2) ตำบลหนองระเวียง ดำเนินการเก็บตัวอย่างดินทั้งสิ้น 4 ครั้ง ระหว่างเดือนมิถุนายน 2541 ถึงเดือนมีนาคม 2542 ผลการศึกษาพบว่าค่าเฉลี่ยประชากรไรโซเบียมในดินมีความแตกต่างกันทางสถิติ ในแต่ละพื้นที่ โดยค่าเฉลี่ยพบมากในสองแปลงที่มีการปลูกกล้าไม้ (GLDP และ GLP) การศึกษานี้ไม่พบความสัมพันธ์ของค่าเฉลี่ยประชากรไรโซเบียมกับคุณสมบัติทางกายภาพดินที่ศึกษา การจัดจำแนกความแตกต่าง และศึกษาความสัมพันธ์ของไรโซเบียมกลุ่มเจริญเร็ว 32 ไอโซเลท ที่แยกจากปมถั่วเขียว 2 สายพันธุ์ จากดินในพื้นที่ป่าทุ่งหญ้าที่มีการปลูกกล้าไม้ร่วมกับขุดคันดินกั้นน้ำ (GLDP) และพื้นที่ป่าเบญจพรรณ (NT1R2) โดยใช้คุณสมบัติการต้านสารปฏิชีวนะและพลาสมิดโพรไฟล์ของเชื้อสามารถจำแนกความต่างได้เป็น 11 และ 9 กลุ่มที่มีขนาดพลาสมิดอยู่ในช่วง 164-600 Mdal และเกือบร้อยละ 70 ของไอโซเลททั้งหมดมีกลุ่มของการจัดจำแนกที่เหมือนกันโดยพลาสมิดโพรไฟล์และคุณสมบัติการต้านสารปฏิชีวนะ แต่ไม่พบลักษณะเด่นของการจัดจำแนกตามแบบแผนพลาสมิดที่สัมพันธ์กับสายพันธุ์พืชและแหล่งที่มาของเชื้อสำหรับผลการจัดจำแนกตามคุณสมบัติทางจีโนไทป์ด้วยเทคนิค RAPD ร่วมกับ 5 ไพรเมอร์ ให้ผลผลิตดีเอ็นเอที่หลากหลายมีขนาดอยู่ในช่วง 0.29-3.0 กิโลเบส สามารถจำแนกประชากรไรโซเบียมออกเป็น 5 กลุ่ม โดยชนิดดินที่ต่างกันเป็นปัจจัยสำคัญทำให้เกิดความผันแปรทางพันธุกรรมได้มากกว่าสายพันธุ์พืช ซึ่งการจัดจำแนกด้วยเทคนิคพลาสมิดโพรไฟล์ พบว่ามีความสอดคล้องกับเทคนิค RAPD แต่ในบางกรณีให้ผลการจัดจำแนกในระดับที่สูงมากเกินไป ซึ่งเป็นข้อเสียของเทคนิคนี้หากนำมาใช้จัดจำแนกเพียงลำพังเทคนิคเดียว อย่างไรก็ตามพลาสมิดโพรไฟล์ร่วมกับเทคนิค RAPD นี้ นอกจากสามารถแยกความแตกต่างของเชื้อที่มีจีโนไทป์ใกล้ชิดกันมากออกจากกันได้แล้ว ยังแสดงให้เห็นถึงความหลากหลายที่เกิดภายในพลาสมิดโพรไฟล์กลุ่มเดียวกันอีกด้วย โดยข้อมูลจาก 2 เทคนิค นำมายืนยันความสัมพันธ์ได้ร่วมกับคุณสมบัติต้านสารปฏิชีวนะ แสดงให้เห็นรายละเอียดของความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการภายในประชากร และประสิทธิภาพการจัดจำแนกที่เพิ่มมากยิ่งขึ้น ผลการทดสอบประสิทธิภาพการตรึงไนโตรเจน พบว่าแอคทิวิตี้ของเอนไซม์ไนโตรจีเนสของเชื้อทั้ง 32 ไอโซเลท ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และพบว่าไอโซเลทส่วนใหญ่ให้น้ำหนักของต้นแห้งที่สัมพันธ์ กับค่า ARA (Acetylene Reduction Assay) และน้ำหนักปมแห้ง ลักษณะการเกิดปมที่พบ คือ เกิดปมการกระจายตามรากแก้ว ลักษณะที่ 2 และ 3 เกิดปมการกระจายตามรากแขนง และรากแขนงกับรากแก้ว
Other Abstract: Studies on cowpea Rhizobium population in soil of revived forests at the Royal suggestions and plant germplasm forest project in Nakhon Ratchasima province, that included grassland regrown forest at Kornburi district and, decidous mix with dipterocarp forest at Nongrawieng subdistrict were carried out. Soil sampling was conducted 4 times between June 1998 to Mar 1999. Results showing the averages of Rhizobium population were significantly different among all area. There are a lot of Rhizobium population in two grassland plots, which were grassland checkdam planting (GLDP) and grassland planting (GLP). No correlation were found between the mean of Rhizobium population and physical properties of soil. Antibiotic resistance and plasmid profiles were determined for 32 fast-growing Rhizobia isolates recovered from nodules of two varieties of Vigna radiata (L.) Wilczek grown on soil of grassland checkdam planting (GLPD) and decidous mix with dipterocarp forest (NT1R2). A total of 11 antibiotic profile groups and 9 plasmid profile groups were indentified, with a plasmid size in range 164-600 Mdal. Nearly 70% of all isolates were grouped similarly by the plasmid profiles and antibiotic profiles. No correlation were found between plasmid profiles and origin of them. Genotypic properties of all isolates were identified by RAPD analysis of 5 primers which provided the varies profile of RAPD in range 0.29-3.0 kilobase. A dendrogram based on similarity of RAPD profiles obtained by neighbour-joining method were divided into 5 clusters. The result indicated that the different of soil types were the principle factor causing genetic variation rather than variety of plant. It was found that results of RAPD correlated with plasmid profiles except in some case of plasmid profile showing high power of discrimination which was disadvantage of this technique, when used discrimination alone. However, RAPD analysis in combination with plasmid profiles was not only discriminate to enable grouping of closely related isolates but also provided more detailed picture of diversity within same plasmid groups. These techniques could be confirmed with antibiotic profiles, increased the details relationship and efficiency of isolate discrimination. Nitrogen fixation efficiency were tested on mungbean kampeangsan 2. It was found that enzyme nitrogenase activities from nodules as measured by acetylene of 32 isolates were not significantly different. Most isolates showed relationship between plant dry weight, ARA and nodule dry weight. The characteristics of nodulation were found, nodulation were scattered along tap roots. Second and third, nodulations were formed along lateral roots and tap roots include lateral roots, respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พันธุศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4580
ISBN: 9741313586
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Rattanavadee.pdf3.73 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.