Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45805
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศิริเดช สุชีวะen_US
dc.contributor.authorปรางทิพย์ นวลใหม่en_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-09-17T04:05:20Z-
dc.date.available2015-09-17T04:05:20Z-
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45805-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractงานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาแบบวัดการสนับสนุนทางวิชาการจากครอบครัวสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อตรวจสอบคุณภาพแบบวัดการสนับสนุนทางวิชาการจากครอบครัวสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 3) เพื่อวิเคราะห์ความสอดคล้องระหว่างการสนับสนุนทางวิชาการจากครอบครัวตามการรับรู้ของผู้ปกครองและนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ปกครองและนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ตัวอย่างจำนวน 728 คน จำแนกเป็นผู้ปกครองจำนวน 364 คนและนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 364 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย สถิติการทดสอบไค-สแควร์ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจด้วยโปรแกรม SPSS และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันด้วยโปรแกรม LISREL ผลการวิจัยสามารถสรุปได้ดังนี้ 1. แบบวัดการสนับสนุนทางวิชาการจากครอบครัวสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การแนะนำ ชื่นชมและจัดหาสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนให้แก่บุตร 2) การทำกิจกรรมส่งเสริมการเรียนร่วมกันระหว่างผู้ปกครองกับบุตรและการเป็นแบบอย่างที่ดีของผู้ปกครอง 3) การสร้างแรงจูงใจและสนับสนุนให้บุตรปฏิบัติกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ 4) การพูดคุยเรื่องการเรียนและให้กำลังใจบุตร 5) การติดตามความก้าวหน้าในการเรียนของบุตร 6) การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ที่บ้านและสนับสนุนให้บุตรศึกษาแหล่งการเรียนรู้นอกบ้าน 7) การเรียนพิเศษเพิ่มเติม และ 8) การสนับสนุนค่าใช้จ่าย อุปกรณ์การเรียนและเลือกสิ่งที่มีประโยชน์ต่อการเรียนของบุตร 2. ผลการตรวจสอบคุณภาพแบบวัดพบว่ามีความตรงตามเนื้อหา (ค่าดัชนี IOC ระหว่าง 0.67 ถึง 1.00) มีค่าความเที่ยงทั้งฉบับของชุดแบบวัดสำหรับนักเรียนและสำหรับผู้ปกครองอยู่ในระดับสูงมาก (α=0.931 และ α=0.911 ตามลำดับ) และมีความตรงเชิงโครงสร้าง (Chi-square=18.916, df =12, p=0.091, GFI = 0.994, AGFI = 0.981, RMSEA = 0.939) 3. ผลการวิเคราะห์ความสอดคล้องระหว่างการสนับสนุนทางวิชาการจากครอบครัวตามการรับรู้ของผู้ปกครองและนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในรายข้อคำถาม พบว่า ข้อคำถามส่วนใหญ่สอดคล้องกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05en_US
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this descriptive research were 1) to develop the academic family support scale for seventh grade students, 2) to investigate the quality of academic family support scale for seventh grade students, and 3) to analyze the matching between academic family support perceived by guardians and seventh grade students. Sample were 728 guardians and students, 364 guardians, and 364 seventh grade students. Research instrument used in this study was five level rating scale questionnaire. Descriptive statistics, Chi-square test, exploratory factor analysis by using SPSS, and confirmatory factor analysis were also used to analyze the test by using LISREL. The research findings could be summarized as follows: 1. The academic family support scale for seventh grade students consisted of 8 factors, i.e., 1) Guidance, admiration and learning service providing for children, 2) Learning activities are shared between the parents and the children. The guardian is good role model, 3) Motivating and learning activities supporting, 4) Learned school talking and encouragement, 5) Tracking learning progress of children, 6) Home learning activities providing and various learning resources studied supporting, 7) Extra tutorial class taking, and 8) Studied wherewithal supporting. 2. The quality of academic family support scale had content validity (IOC=0.67-1.00). The reliability value of family support scale for students and guardians was very high (α=0.931 and α=0.911), and had construct validity (Chi-square=18.916, df =12, p=0.091, GFI = 0.994, AGFI = 0.981, RMSEA = 0.939). 3. The examination of matching between academic family support perceived by guardians and seventh grade students was mostly matched with each other at the statistic significant level of .05.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleการพัฒนาแบบวัดการสนับสนุนทางวิชาการจากครอบครัวสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1en_US
dc.title.alternativeA DEVELOPMENT OF ACADEMIC FAMILY SUPPORT SCALE FOR SEVENTH GRADE STUDENTSen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการวัดและประเมินผลการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSiridej.S@Chula.ac.th,sujiva.siridej@gmail.com,Siridej.S@Chula.ac.then_US
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5683352527.pdf5.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.