Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4582
Title: การเตรียมเยื่อแผ่นชนิดชอบน้ำจากน้ำยางธรรมชาติ
Other Titles: Preparation of hydrophilic membrane from natural rubber latex
Authors: ทรงศักดิ์ กล่ำคลัง
Advisors: ขันทอง สุนทราภา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: khantong@mail.sc.chula.ac.th
Subjects: เยื่อแผ่นเหลว
ยาง
โพลิเมอร์อะคริลาไมด์
ไคโตแซนพาทาเลท
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เพื่อปรับปรุงและควบคุมสมบัติความชอบน้ำของพอลิเมอร์ในน้ำยางธรรมชาติ วิทยานิพนธ์นี้จึงเสนอเทคนิคการผสมพอลิอะครีลาไมด์และอนุพันธ์ไคโตแซนฟาทาเลทซึ่งเป็นพอลิเมอร์ที่มีสมบัติชอบน้ำเข้ากับน้ำยางธรรมชาติเพื่อควบคุมสมบัติความชอบน้ำของน้ำยางธรรมชาติให้อยู่ในระดับที่ต้องการ โดยการผสมทางกล การสังเคราะห์โครงร่างแหพอลิเมอร์กึ่งอินเตอร์พินิเตรติงโดยน้ำยางเกิดโครงร่างตาข่าย การสังเคราะห์โครงร่างแหพอลิเมอร์กึ่งอินเตอร์พินิเตรติงโดยพอลิเมอร์รองเกิดโครงร่างตาข่ายและการสังเคราะห์โครงร่างแหพอลิเมอร์อินเตอร์พินิเตรติง ระหว่างน้ำยางธรรมชาติกับพอลิเมอร์ทั้งสอง โดยเฉพาะสำหรับการแยกสารผสมอะซีโอโทรบของน้ำ โดยวิทยานิพนธ์นี้เลือกใช้สารผสมอะซีโอโทรบของเอธานอลและน้ำ (เอธานอลร้อยละ 95 โดยปริมาตร) วิทยานิพนธ์นี้แปรผันสัดส่วนร้อยละของพอลิอะครีลาไมด์หรือไคโตแซนฟาทาเลทในเยื่อแผ่นเท่ากับ20, 40 และ 60 ส่วน แปรผันปริมาณสารเชื่อมโยงเอธิลีนไกลคอลไดเมธาครีเลตในร่างแหพอลิอะครีลาไมด์ร้อยละ 0, 1, 4 และ 7 โดยน้ำหนักหรือแปรผันเวลาของการแช่เยื่อแผ่นในสารละลายกรดซัลฟุริกในเมธานอลเป็น 0, 8, 16 และ 24 ชั่วโมง ในกรณีของเยื่องแผ่นน้ำยางธรรมชาติ-ไคโตแซนฟาทาเลท จากการทดสอบเยื่อแผ่นจากการผสมทางกล จากการสังเคราะห์โครงร่างแหพอลิเมอร์กึ่งอินเตอร์พินิเตรติงโดยน้ำยางเกิดโครงร่างตาข่าย จากการสังเคราะห์โครงร่างแหพอลิเมอร์กึ่งอินเตอร์พินิเตรติงโดยพอลิเมอร์รองเกิดโครงร่างตาข่ายและจากการสังเคราะห์ร่างแหพอลิเมอร์อินเตอร์พินิเตรติง พบว่า เยื่อแผ่นทนแรงดึงได้อยู่ในช่วง 4.2-26.4, 13.3-36, 4.6-42 และ 13.5-24.1 นิวตันต่อตารางมิลลิเมตร ตามลำดับสำหรับเยื่องแผ่นน้ำยางธรรมชาติ-พอลิอะครีลาไมด์และ 0.6-3.2, 0.8-4.3, 0.8-11.2 และ 0.3-7.9 นิวตันต่อตารางมิลลิเมตร ตามลำดับสำหรับเยื่อแผ่นน้ำยางธรรมชาติ-ไคโตแซนฟาลาเลท เยื่อแผ่นมีค่าการดูดซับรวม 0.038-0.016,0.027-0.042, 0.018-0.043 และ 0.021-0.035 กรัมต่อกรัมของเยื่อแผ่นแห้ง สำหรับเยื่อแผ่นน้ำยางธรรมชาติ-พอลิอะครีลาไมด์และเท่ากับ 0.058-0.080, 0.028-0.116, 0.030-0.071 และ 0.023-0.067 กรัมต่อกรัมของเยื่อแผ่นแห้ง สำหรับเยื่อแผ่นน้ำยางธรรมชาติ-ไคโตแซนฟาทาเลท ค่าการเลือกดูดซับน้ำเท่ากับ 73-926, 779-1348, 720-1808 และ 955-2481 สำหรับเยื่อแผ่นน้ำยางธรรมชาติ-พอลิอะครีลาไมด์และ 17-612, 89-639, 34-1532 และ 238-3044 สำหรับเยื่อแผ่นน้ำยางธรรมชาติ-ไคโตแซนฟาทาเลท เยื่อแผ่นแสดงแนวโน้มความชอบน้ำสูงขึ้นเมื่อปริมาณพอลิอะครีลาไมด์หรือไคโตแซนฟาทาเลทและความหนาแน่นของโครงร่างตาข่ายเพิ่มขึ้น วิทยานิพนธ์นี้สามารถเตรียมเยื่อแผ่นขึ้นเองจากวัตถุดิบภายในประเทศ และสามารถปรับปรุงสมบัติของเยื่อแผ่นให้ได้ตามที่ต้องการ โดยเยื่อแผ่นที่เหมาะสมจะนํ าไปใช้ในกระบวนการเพอร์แวปเพอเรชันเพื่อดึงนํ้ าออกจากสารละลายอะซีโอโทรบของเอธานอลให้ได้ความบริสุทธิ์มากกว่าร้อยละ 99.5 คือ เยื่อแผ่นที่เตรียมโดยเทคนิคการสังเคราะห์ร่างแหพอลิเมอร์อินเตอร์พิเตรติงจากนํ้ ายางพรีวัลคาไนซ์-พอลิอะครีลาไมด์ ที่อัตราส่วนนํ้ ายางพรีวัลคาไนซ์ต่อพอลิอะครีลาไมด์เท่ากับ 60 ต่อ 40 มีปริมาณเอธีลีนไกลคอลไดเมธาครีเลตร้อยละ 1 โดยนํ้ าหนักในร่างแหพอลิอะครีลาไมด์และนํ้ ายางพรีวัลคาไนซ์-ไคโตแซนฟาทาเลท ที่อัตราส่วนนํ้ ายางพรีวัลคาไนซ์ต่อไคโตแซนฟาทาเลทเท่ากับ 60 ต่อ 40 โดยใช้เวลาแช่เยื่อแผ่นในสารละลายกรดซัลฟุริกในเมธานอลเท่ากับ 16 ชั่วโมง
Other Abstract: To improve and control the hydrophilic property of natural rubber latex (NR) as base polymer within the desired range, blending techniques of polyacrylamide (PAM) or phthalated chitosan (PhChi) as secondary polymer into latex structure were studied. Mechanical blending (MB), semi-interpenetrating polymer networks (semi-IPNs) either to base polymer or secondary polymer and interpenetrating polymer networks (IPNs) were proposed especially for the application with aqueous azeotrope solution. Aqueous azeotrope solution of ethanol (95% by volume of ethanol) was used as model solution in this thesis. The PAM and PhChi content in membrane were varied as 20, 40 and 60%. Ethylene glycol dimethacrylate (EGDM) used as crosslinking agent for PAM were varied as 0, 1, 4 and 7%wt. Sulfuric in methanol solution was used as crosslinking agent for PhChi membrane and the crosslink density was varied by varying immersing time 0, 8, 16 and 24 hr. The tensile strength for MB, semi-IPN toward NR networks, semi-IPN toward secondary polymer networks and IPN membrane were 4.2-26.4, 13.3-36, 4.6-42 and 13.5-24.1 N/mm2 for NR-PAM membrane and 0.6-3.2, 0.8-4.3, 0.8-11.2 and 0.3-7.9 N/mm2, for NR-PhChi membrane, respectively. The total sorptions were 0.038-0.061, 0.027-0.042, 0.018-0.043 and 0.021-0.035 g/g of dried membrane for NR-PAM membrane and 0.058-0.080, 0.028-0.116, 0.030-0.071 and 0.023-0.067 g/g of dried membrane for NR-PhChi membrane, respectively. Water sorption selectivity were 73-926, 779-1348, 720-1808 and 955-2481 for NR-PAM membrane and 17-612, 89-639, 34-1532 and 238-3044 for NR-PhChi membrane, respectively. The membrane presented the increasing trend of hydrophilic properties according to the PAM or PhChi content in membrane and according to the crosslink density. The membrane with desired properties can be prepared with domestic material. The potential membrane utilized for pervaporation of aqueous azeotrope to ethanol solution to be more than 99.5 percent by volume purity was IPNs type from prevulcanized NR-PAM with 60/40 ratio and 1% EGDM content and prevulcanized NR-PhChi with 60/40 ratio and 16 hr crosslinking time.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคมีเทคนิค
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4582
ISBN: 9743466509
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Songsak.pdf2.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.